Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14027376  

ทฤษฏีการเรียนรู้

แบบการคิด (Cognitive Style)

ความหมายของแบบการคิด

นักการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้ความหมายของแบบการคิดไว้ต่างๆ กัน ดังต่อไปนี้

โคเกน (Kogan, 1971) ได้นิยามความหมายของแบบการคิดว่าเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านการรับรู้ การจำ การคิด ความเข้าใจการแปลงข่าวสาร และการนำข่าวสารไปใช้ประโยชน์ เช่นเดียวกับ เมสสิก (Messick , 1976) ที่กล่าวไว้ว่าแบบการคิดเป็นรูปแบบที่ได้มาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ที่แต่ละคนมีแตกต่างกันไป และยังส่งผลต่อบุคลิกภาพ พฤติกรรม การรับรู้ การจำ การแก้ปัญหา ความสนใจ พฤติกรรมทางสังคมและการสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับตันเอง ส่วนออสเบิร์น และออสเบิร์น (Ausburn and Ausburn , 1978:337-354) กล่าวถึงแบบการคิดว่า เป็น “มิติทางจิตวิทยา” ซึ่งแสดงถึงการได้มาของข่าวสาร (Acquiring ) และกระบวนการสนเทศ (Processing Information) หรืออาจ กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล ในการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยการรับรู้ ความคิด ความจำ จินตภาพและการแก้ปัญหา ซึ่งระดับของกระบวนการเรียนรู้นี้มิใช่เป็นเพียงเรื่องของ ทักษะหรือความความสามารถเท่านั้น แต่เป็นความถนัดและยังเป้นความแตกต่างระหว่างบุคคลในการศึกษาข่าวสาร การเก็บข่าวสาร การจัดทำอันมีขั้นตอน ต่าง ๆ รวมถึงการนำข่าวสารไปใช้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะแสดงถึงความคิดทางสมองที่แตกต่างกัน

วิกิน (Witkin, 1977 : 1-64) กล่าวโดยสรุปว่าแบบการคิดเป็นลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล ที่แสดงให้เห็นถึงการรับรู้และกระบวนการคิดของแต่ละบุคคล ซึ่งค่อนข้างจะมีความคงเส้นคงวา โดยมีลักษณะ ดังนี้

1. แบบการคิดเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้มากกว่าขั้นตอนต่าง ๆ โดยมีลักษณะ ดังนี้

2. แบบการคิดมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของบุคคล และเป็นตัวชี้ลักษณะที่เด่นในตัวบุคคล ให้แสดงออกมา

3. แบบการคิดเป็นสิ่งที่ติดตัวบุคคลแต่ละคน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุแต่ไม่อาจ ทำให้รูปแบบการคิดของบุคคลนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปโดยสิ้นเชิง

จากนิยามทั้งหมดนี้ สามารถสรุปได้ว่า แบบการคิด หมายถึง ลักษณะการคิดของบุคคลที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพ พฤติกรรมและการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การแก้ปัญหา ทักษะความสามารถรวมทั้งด้านทัศนคติขอบแต่ละคน

ประเภทของแบบการคิด

แบบการคิด (Cognitive Style ) มีขอบเขตในการศึกษาได้หลายรูปแบบการคิดที่ได้รับการศึกษาและวิจัยมาเพื่อนำไปใช้ในวงการศึกษาและเป็นแบบที่น่าจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ จากเว็บ คือ แบบการคิดตามทฤษฎีของ วิทกิน และคณะ (Witkin et.al, 1977) ซึ่งได้แบ่งรูปแบบการคิด ของบุคคลโดยตัดสินจากความสามารถของบุคคลที่จะเอาชนะอิทธิพลจากการลวงให้ไขว้เขวของภาพ ขณะที่บุคคลกำลังพยายามจัดจำแนกสิ่งเร้า ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. ฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ (Field Independent) เป็นรูปแบบการคิดของบุคคลที่เป็นอิสระ จากการลวงของภาพที่เป็นพื้นได้มากสามารถวิเคราะห์ จำแนกสิ่งเร้าได้ดี

2. ฟิลด์ ดิเพนเดนท์ (Field Dependent) เป็นแบบการคิดของบุคคลที่มีลักษณะการคิดวกวน สับสนอันเนื่องมาจากอิทธิพลการลวงของภาพที่เป็นพื้น จนขาดการพินิจพิเคราะห์ในสาระที่ได้รับบุคคลแบบนี้จึงมองสิ่งต่าง ๆ ในภาพรวม

วิธีการจำแนกการคิดของบุคคล

ในอดีตการจำแนกแบบการคิดของบุคคลตามวิธีการของวิทกิน มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ วิธีแรกเป็น การทดสอบที่เรียกว่า ร็อดแอนเฟรมเทสท์ ( Rod-and-Frame Test : RFT) ผู้เข้ารับการทดสอบจะเข้าไป อยู่ในห้องปฏิบัติการที่มีกรอบสี่เหลี่ยมและเส้นเรืองแสง(Luminous Square Frame and Rod ) ซึ่งอยู่แนวเดียวกันทั้งกรอบและส้นเรืองแสงสามารถหมุนตามเข็มและทวนเข้มนาฬิกาได้อย่างเป็นอิสระต่อกัน เมื่อเริ่มการทดลองจะเห็นทั้งกรอบและเส้นเรืองวางอยู่ในลักษณะเอียง วิทกินจะแนกแบบการคิดโดยพิจารณาลักษณะการปรับเส้นเรืองแสงของผูเรับการทดสอบ วิทกินพบว่า บางคน ปรับเส้นโดยยึดกรอบเรืองแสงเป็นหลัก เช่น ถ้าวางกรอบ 30 องศา ผู้นั้นจะปรับเส้นเรืองแสงเอียง 30 องศาตามแนวกรอบ โดยที่เข้าใจว่าตนเองปรับเส้นเรืองแสงได้ตรงตั้งฉากกับแนวพื้นราบแล้ว กลุ่มนี้ จัดเป็นพวกที่ต้องพึ่งพิงสภาพแวดล้อม หรือผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์นั่นเอง แต่จะมีคนอีก กลุ่มหนึ่งที่สามารถปรับวัตถุได้ตรงโดยไม่ขึ้นกับความเอียงของกรอบเรืองแสง พวกนี้จัดเป็นกลุ่มฟิลลด์ อินดิเพนเดนท์ เพราะได้ต้องพึ่งพาสภาพแวดล้อม

การทดสอบวิธีที่สอง เรียกว่า เดอะ บอดี้ เอดจัสท์เมนท์ เทสท์ (The Body- Adjustment Test :BAT) เป็นการทดสอบการปรับตำแหน่งของตนเองโดยผู้เข้ารับการทดสอบจะนั่งอยู่บนเก้าอี้ที่สามารถ ปรับให้เอนไปมาได้ในลักาณตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาเก้าอี้ดังกล่าวจะตั้งอยู่ในห้องที่สามารถ ปรับระนาบการหมุนได้เช่นกัน เมื่อเริ่มการทดสอบเก้าอี้และห้องจะอยู่ในลักษณะเอียง ผู้เข้ารับการทดสอบซึ่งนั่งอยู่บนเก้าอี้จะต้องปรับเก้าอี้ที่ตนนั่งให้อยู่ในลักษณที่ตั้งฉากกับพื้นโลก จากการทดสอบ พบว่าบางคนสามารถปรับเก้าอี้ให้ตั้งฉากกับพื้นโลกได้ วิทกินเรียนกกลุ่มนี้ว่าเป็นบุคคลที่มีแบบการคิด แบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ ส่วนคนที่ปรับเก้าอี้โดยขึ้นอยู่กับความเอียงของพื้นห้องถือว่าเป็นกลุ่มที่มี แบบการคิดแบบฟิลด์ ดินเพนเดนท์

ต่อมาวิธีการทดสอบได้พัฒนาไปจากเดิม โดยเปลี่ยนจากการทดสอบในห้องทดลองมาเป็น การทดสอบที่เรียกว่า เดอะ เอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสท์ (The Embedded Figures Test : EFT) ของวิทกิน และคณะ (Witkin, et al , 1971) ซึ่งเป็นการทสอบรายบุคคลเกี่ยวกับการรับรู้สิ่งต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อม โดยแบบทดสอบที่ใช้ในการจำแนกแบบการคิดด้วยวธีนี้ในปัจจุบันได้พัฒนาออกมาอีก 2 แบบ คือ แบบทดสอบ เดอะ ชิลเดรน เอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสท์ (The Children Embedded Figures Test : CEFT) สำหรับใช้ทดสอบกับเด็กที่มีช่วงอายุ 5 – 10 ขวบ ซึ่งต้องใช้วัดเป็นรายบุคคล และแบบทดสอบ เดอะกรุป เอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสท์ (The Group Embedded Figures Test : GEFT) ซึ่งใช้สำหรับวัดบุคคลทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 10 ขวบ ขึ้นมา และสามารถวัดได้กับคนครั้งละมาก ๆ

ลักษณะของบุคคลที่มีแบบการคิดต่างกัน

แบบการคิดต่างกัน จะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. แบบการคิดมีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นๆ อีกหลายด้าน เช่น เรื่องของเพศ วัย ระดับสติปัญญา เป็นต้น ผลตากการศึกษาพบว่า เพศหญิงจะมีความเป็นฟิลด์ ดิเพนเดนท์ และฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ ในตัวบุคคลพบว่า ความเป็นฟิลด์ ดินดิเพนเดนท์ ในตัวคนเรา จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สัมพันธ์กับระดับอายุ ในช่วง 8 – 15 ปี ความเป็นฟิลด์ อินดิเพนเดนท์จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ อายุ 15-24 ผี ความเป็นฟิลด์ ดินดิเพนเดนท์ จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ อายุ 15 – 24 ปี ความเป็นฟลิด์ อินดิเพนเดนท์ จะแสดงออกอย่างชัดเจน และเมื่อคนมีอายุมากขึ้นและเข้าสู่วัยชรา ความเป็นฟิลด์ดิเพนเดนท์ จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น (Witlin , Goodenough and Krap : 1967 อ้างถึงใน Witlin , et al, 1971 : 5)

2. ผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ จะมีความเชื่อตามค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคม ใน ขณะที่ผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ จะยึดมั่นในความเชื่อของตนเองเป็นหลัก (Saracho and Spodek, 1981)

3. ผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์จะสนใจต่อบุคคลอื่นเป็นอย่างมากและสร้างความสนิทสนมต่อผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย ส่วนผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดินดิเพนเดนท์ จะชอบอยู่ตามลำพัง และไม่สนใจต่อบุคคลอื่น (Ssracho and Spodek, 1981)

4. บุคคลที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์จะสามารเรียนและจำได้ดีในการเรียนรู้ เกี่ยวกับการวิเคราะห์จำแนกแยกแยะในทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (Goodenough, 1976) และยังสนใจที่จะเรียนในเรื่องที่เป็นนามธรรมและทฤษฎีต่าง ๆ (Witkin, 1977) แต่สำหรับบุคคลที่มีแบบการคิด แบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ จะสามารถเรียนได้ดีในการเรียนเรื่องทั่ว ๆ ไปในด้านสังคมศาสตร์ (Goodenough , 1976)

5. ผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ จะสามรถเจาะเข้าถึงเนื้อหาส่วนย่อยที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อหาสาระส่วนรวม และเข้าใจด้วยว่าส่วนย่อยนั้นเป็นส่วนที่แยกต่างหาก ออกมาจากส่วนรวมทั้งหมดอย่างไรและเป็นผู้ที่สามารถนำระบบโครงสร้างของการแก้ปัญหาขอตนเองไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ในทางตรงข้ามบุคคลประเภทที่ฟิลด์ ดิเพนเดนท์ จะต้องอาศัยการทองเห็นเนื้อหาสาระที่เป็นส่วนรวมทั้งหมดก่อนเพื่อเป็นแนวทาง สำหรับทำความเข้าใจเนื้อหาส่วนย่อยซึ่งเป็นส่วนประกอบของส่วนรวมทั้งมหด และจะไม่สามารถ แยกแยะเนื้อหาสาระได้โดยไมมีบริบทหรือสภาพแวดล้องที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วย

6. ผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดินดิเพนเดนท์ จะทำงานโดยมุ่งที่ตัวงานและอาจไม่ต้องการกรอบหรือระบบโครงสร้างอะไรมาช่วยนำทางในการแก้ปัญหาเท่าไหร่นัก รวมทั้งสามารถแยกแยะ ปัญหาใหญ่ออกเป็นส่วนประกอบย่อยได้ดีกว่าผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ ซึ่งจะมีลักษณะตรงกันข้ามกล่าวคือ ทำงานที่มุ่งตัวบุคคลอื่น สนใจว่าคนอื่น ๆ จะพูดหรือทำอะไรมากกว่าอย่างอื่น ชอบอยู่กับคนอื่นและชอบทำงานเป็นกลุ่ม เมื่อเนื้อหาสาระที่จะต้องเรียนขาดโครงสร้างหรือกรอบนำทาง และผู้เรียนจะต้องสร้างขึ้นมาเองในการที่จะเข้าใจเนื้อหาสาระ บุคคลประเภทฟิลด์ ดิเพนเดนท์ มักจะประสบปัญหามากกว่าบุคคลประเภทฟิลด์ อินดิ เพนเดนท์ ผู้เรียนที่มีลักษณะแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ อาจจะต้องการความชัดเจนอย่างมากในเนื้อหาสาระที่จะต้องอ่านและในงานที่จะต้องทำ ตรงกันข้ามผู้เรียนแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ อาจจะพอใจทำงานที่มีการเสนอแนะอย่างหลวมๆ มีแนวทางปฏิบัติภายในกรอบกว้างๆ เพื่อที่จะได้ใช้ความคิดอย่างกว่างขวางอิสระ(สมพร จารุนัฎ, 2540)

7. ผู้ทีมีรูปแบบการคิดทั้งสองแบบนี้จะมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะคือ การใช้ตัวกลางในการเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์จากความเด่นชัดของตัวชี้แนะ กล่าวคือผู้ที่มีแบบการคิด แบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ จะมีความสามารถในการสรุปหลักการต่างๆ จากประสบการณ์ของตนได้ดีกว่าผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ เช่นในการเรียนเนื้อหาที่มีโครงสร้างคลุมเครือ ผู้เรียนต้องสรุปหลักการด้วยตนเอง ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์จะสามารถใช้ประโยชนจาก ตัวกลางในการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ และสรุปเป็นกลักการได้ดีกว่ากลุ่มที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดินเพนเดนท์ อีกลักษณะหนึ่งคือการใช้ประโยชน์จากความเด่นชัดของตัวชี้แนะ (Cue Salience) ตัวชี้แนะที่เด่นชัดมากจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าตัวชี้แนะที่เด่นชัดด้อย ตัวชี้แนะที่เด่นชัดจะส่งผลต่อผู้ที่มีความคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ มากกว่าผู้ที่มีแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์

นอกจากนี้ Ramirez และ Castaneda (1974) ยังได้สรุปคุณลักษณะของผู้เรียนโดยเปรียบเทียบระหว่างผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ และแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ ดังนี้

ลักษณะผู้เรียน (Student

Characteristics)

แบบการคิด (Cognitive Styles)

ฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ (FI)

ฟิลด์ ดิเพนเดนท์ (FD)

ลักษณะบุคลิกภาพโดยรวม (Overall characteristics)

มุ่งความสนใจเป็นส่วนๆ มากว่าสนใจในภาพรวมทั้งหมด

มุ่งความสนใจเป็นภาพรวม หรือองค์รวมมากกว่าแยกสนใจเป็นส่วน

เป็นคนที่ให้ความสนใจต่อสิ่งที่สนใจและวิเคราะห์ความแตกต่างได้เป็นอย่างดี

เป้นคนที่ให้ความสนใจกับความสัมพันธ์และลักษณะทางสังคม

อธิบายหรือแสดงให้เห็นสิ่งที่สนใจโดยมุ่งไปที่รูปแบบเรื่องราว

อธิบายหรือแสดงให้เห็นสิ่งที่สนในในลักษณะที่เชื่อมโยงกับรูปแบบเรื่องราว

ชอบที่จะทำงานคนเดียว เป็นอิสระ

ชอบที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อทำให้งานประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมาย

ความสัมพันธ์กับเพื่อน (Relationship to peers )

ชอบที่จะแข่งขันและได้รับความสนใจเป็นรายบุคคลเป็นพิเศษ

ชอบที่จะช่วยเหลือคนอื่น ๆ

เป็นบุคคลที่มุ่งสนใจในงานที่ทำเป็นหลักและไม่สนใจสภาพแวดล้อมในสังคมขณะที่ทำงานอยู่

เป็นบุคคลที่มีอารมณ์อ่อนไหวง่ายต่อการรับความรู้สึกและความคิดเห็นจากผู้อื่น

ไม่ค่อยมีความสนิทสนมกับผู้สอน

แสดงออกซึ่งความรู้สึกที่ดีต่อผู้สอน

ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้สอน(Personal relationship to teacher)

มีปฎิสัมพันธ์กับผู้สอนเฉพาะกับงานที่ได้รับมอบหมาย

ชอบถามคำถามเกี่ยวกับรสนิยมของผู้สอนและประสบการณ์ส่วนตัว และยังพบว่ามักจะมีพฤติกรรมที่แลียนแบบผู้สอน

Anthony Gregorc (1982) แห่งมหาวิทยาลัย Connecticut ได้พัฒนาทฤษฎีแบบการคิด (Theory of Thinking Styles) ที่ใช้หลักการ 2 ประการคือ

1. วิธีการที่เราแต่ละคนมองโลกรอบตัวแตกต่างกัน คือมองอย่างนามธรรม และรูปธรรม

2. วิธีการที่เราแต่ละคนจัดกระทำกับสิ่งต่างๆ คือ อย่างอิสระ และอย่างมีแบบแผน

จากหลักการทั้ง 2 ได้พัฒนาก่อให้เกิดแบบการคิด 4 แบบ ดังนี้

1. นักคิดเชิงรูปธรรมแบบอิสระ (Concrete Random Thinkers) หรือเรียกว่า มีแบบคิดอเนกนัย (Divergent) บุคคลแบบนี้ชอบการทดลอง มีความสามารถในการรับรู้ และสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้น จากสิ่งที่ตนเองประสบมา ทำงานได้ดีในสถานการณ์ที่ต้องการความคิดหลากหลาย หรือมีทางเลือกหลายทาง สำหรับนักเรียนแบบนี้ ครูต้องให้โอกาสได้เลือกสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียน และเลือกวิธีแสดงความรู้ความเข้าใจ นักเรียนแบบนี้ชอบใช้ความรู้ของตนสร้างสิ่งใหม่ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง

2. นักคิดเชิงรูปธรรมตามแบบแผน (Concrete Sequential Thinkers) บุคคลแบบนี้อยู่ในโลกโดยมีการใช้การรับรู้ของตนเป็นหลัก คิดลึกซึ้งในรายละเอียด ช่างสังเกตและจดจำเก่ง การทำงานทุกอย่างต้องมีแบบแผน กรอบอ้างอิง กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน และมีการจัดและรวบรวมอย่างเป็นระบบ นักเรียนที่มีแนวคิดแบบนี้ จะชอบฟังการบรรยายและกิจกรรมที่ครูเป็นศูนย์กลาง

3. นักคิดเชิงนามธรรมตามแบบแผน (Abstract Sequential Thinkers) บุคคลแบบนี้อยู่ในโลกของทฤษฎี และแนวคิดเชิงนามธรรม ทุกอย่างต้องมีเหตุมีผล เชื่อถือได้ และใช้ปัญญา พวกเขาจะมีความสุขถ้าได้ลงมือทำงานหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ครูต้องให้เวลากับนักเรียนแบบนี้ได้คิด ได้ศึกษา ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับแนวคิดหลักการและทฤษฎี พวกเขาชอบคิดวิเคราะห์และหาเหตุและผลที่แท้จริง

4. นักคิดเชิงนามธรรมแบบอิสระ (Abstract Random Thinkers) บุคคลแบบนี้รับรู้และเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารด้วยความเข้าใจของตนเอง ชอบทำงานร่วมกับผู้อื่นในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย พวกเขาอยู่ในโลกของความรู้สึก แลอารมณ์ เรียนรู้ได้ดีที่สุดจากบุคคลอื่น ชอบอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีปฏิสัมพันธ์กันผู้อื่น กิจกรรมที่เหมาะกับนักเรียนแบบนี้คือ การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ ศูนย์การเรียน และเรียนกับเพื่อน

เงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ (Event of Learning)

กาเย่ (1985) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้โดยเน้นเงื่อนไขที่จัดขึ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะเป็นเงื่อนภายในและเงื่อนไขภายนอกของผู้เรียนที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใด และยังเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในการเรียนรู้ (Event of learning) ด้วย

Verbal information

Intellectual skills

Motor skills

Attitudes

Cognitive strategies

The outcomes

of learning

The learner’s internal states and cognitive processes

Stimuli from the environment

Interactive with

The evens of instruction

External conditions of learning

Internal conditions of learning

Essential component of learning and instruction


ในด้านเงื่อนไขการเรียนรู้ของกาแย่และบริกส์นั้น แยกประเภทรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. เงื่อนไขภายใน(Internal Condition) เป็นเงื่อนไขภายในของผู้เรียน เช่น ความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งที่รู้มาก่อนที่จะเรียนรู้ใหม่

2. เงื่อนไขภายนอก (External Conditions )เช่น เทคนิคพิเศษในการสอนที่นำมาใช้

รูปแบบการสอนของกาแย่และบริกส์นี้ จะประยุกต์เอาเหตุการณ์ในการเรียนรู้ (Event of learning)

มาเกี่ยวข้อง รวมทั้งเงื่อนไขของการเรียนรู้ด้วย

หลักสำคัญในทฤษฎีการสอนของกาแย่และบริกส์มี 5 ประการ คือ

1. วางแผนการสอนเพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละบุคคล แม้ว่าการสอนผู้เรียนเป็นกลุ่มแต่การเรียนรู้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล

2. วางแผนการสอนในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีการวางแผนในบทเรียน ในแต่ละหน่วย และในการสอนแต่ละวัน

3. การวางแผนการสอนไม่ควรทำแบบตามบุญตามกรรม หรือเพียงสร้างสภาพแวดล้อมให้ดูดีเท่านั้น

4. การออกแบบการสอนควรใช้วิธีการนำเข้าสู่ระบบ (System Approach) โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ การพัฒนา ประเมิน การปรับปรุงอย่างมีขั้นตอน

5. การพัฒนาการสอนควรอยู่บนพื้นฐานความรู้ในเรื่องการเรียนรู้ของบุคคล

ดังกล่าวแล้วว่า ทฤษฎีการสอนทั้งหลายต้องประกอบด้วย วิธีการสอน เงื่อนไขการสอน และผลการผลิตการสอน ส่วนผลการผลิตการสอนนั้น ทฤษฎีการสอนของกาแย่และบริกส์ถือว่าเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องพิจารณาในการออกแบบเพื่อนำไปสู่ วิธีการสอนและเงื่อนไขการสอน



หน้าที่ :: 5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved