Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
13997916  

ตามใจไปค้นฝัน

วีซ่าภูฏาน
• การขอวีซ่านักท่องเที่ยวจะทำได้โดยการติดต่อผ่านทางบริษัทท่องเที่ยวเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวในภูฏาน นักท่องเที่ยวไม่สามารถขอวีซาและเดินทางไปตามลำพังได้ด้วยตนเอง ประเทศภูฏานไม่รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาตามลำพังคนเดียว (นอกจากเป็นแขกรับเชิญ) ซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องเดินทางเฉพาะกลุ่มเป็นหมู่คณะโดยผ่านบริษัทท่องเที่ยวในภูฏานเท่านั้น
• การขอวีซ่าภูฏาน
• สถานฑูตภูฏานทุกแห่งในทุกประเทศจะไม่ทำหน้าที่ใดๆ เกี่ยวกับการออกวีซ่าเข้าภูฏาน ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่พิจารณาการอนุมัติวีซ่าเข้าภูฏาน มีหน่วยงานเดียวคือ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งภูฏาน สังกัดกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม มีสำนักงานอยู่ที่เมืองทิมพู สามารถติดต่อได้ที่ : Departnebt of Tourism , P.O. Box.126, GPO Thimphu, Bhutan โทรศัพท์ (975-2) 323 251, 323 252 แฟกซ์ (975-2) 323-695 อีเมล์ dot@tourism.gov.bt เว็บไซต์ www.tourism.gov.bt
• เอกสารที่ใช้สำหรับขอวีซ่าเข้าประเทศภูฏาน
1.หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานอย่างน้อย 6 เดือนนับจากวันเดินทาง
2.รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว หน้าตรงรูปสีจำนวน 1 รูป
• การเข้าไปท่องเที่ยวในภูฏาน นักท่องเที่ยวต้องติดต่อกับบริษัททัวร์เพื่อให้ดำเนินการขอ Visa โดยค่าใช้จ่ายภูฏานกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องใช้จ่ายอย่างน้อย USD200 ต่อวัน ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมที่กำหนดโดยรัฐบาลภูฏาน ซึ่งจะรวมค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าไกด์ท้องถิ่น เอาไว้ด้วย ถ้าเดินทางจำนวนน้อยคน เช่น จะขอวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวนต่ำกว่า 3 คน ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกต่างหาก วีซ่านักเรียน นักศึกษา ได้ลดค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษ ไม่รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาตามลำพังเป็นการส่วนตัว นอกจากจะเป็นแขกของรัฐบาลภูฏานเท่านั้น
• เมื่อบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวดำเนินการขอวีซ่า จะต้องยื่นรายชื่อผู้ที่จะเดินทางเข้าภูฏานพร้อมกับเงินค่าใช้จ่ายทั้งหมดระหว่างที่อยู่ในภูฏาน ทาง DOT จะใช้เวลาพิจารณาการอนุมัติวีซ่าประมาณ 10-15 วัน ทำการ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว จะส่งรายชื่อผู้ได้รับวีซ่าเข้าภูฏานกลับคืนไปให้บริษัททัวร์ ในใบอนุญาตจะมีเลขรหัสสำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ภูฏานในเวลาที่เดินทางเข้าประเทส (ทางอากาศที่สนามบินปาโร ทางบกที่เมืองพูลโชลิง ด่านพรมแดนระหว่างอินเดียกับภูฏาน)
• นักท่องเที่ยวจะต้องได้รับการอนุมัติวีซ่าเข้าภูฏานก่อนการเดินทาง และเมื่อถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองด่านแรกของประเทศภูฏาน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารอนุมติวีซ่าที่ออกให้โดย DOT เมื่อเอกสารต่างๆ ถูกต้องแล้ว เจ้าหน้าที่จะประทับตราในหนังสือเดินทาง ซึ่งผู้เดินทางเข้าภูฏานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกคนละ 20 เหรียญสหรัฐฯ พร้อมกับรูปถ่าย 2 ใบ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองภูฏาน (เขียนชื่อกับเลขที่หนังสือเดินทางไว้ด้านหลังรูป)
• การขอขยายเวลาอยู่ต่อในประเทศภูฏานจะสามารถทำได้โดยยื่นคำร้องต่อวีซ่าที่เมืองทิมพู ต้องเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 510 นู อยู่ต่อได้นานถึง 6 เดือน

• สถานทูตภูฏานในประเทศไทย<BR>ที่อยู่ : 375/1 ซอยรัชดานิเวศน์ ประชาอุทิศ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม 10310 โทรศัพท์ : 02 - 274 4740 - 2 โทรสาร : 02- 274 4743 เวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ 09:00-17:00 น. http://www.bhutan.gov.bt<BR>• ศุลกากร ภูฏานมีกฎหมายห้ามไม่ให้นำวัตถุโบราณ เช่น ทังกา (ของเก่า) พระพุทธรูป หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืชและสัตว์ออกนอกภูฏาน ผู้เดินทางจะต้องสำแดงของใช้ส่วนตัวที่นำเข้าไปในภูฏาน เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวิดีโอ คอมพิวเตอร์ และ เครื่องไฟฟ้า เป็นลายลักษณ์อักษรต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรในวันที่เดินทางเข้า เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบจำนวนสิ่งของที่สำแดงไว้กับเจ้าหน้าที่ในเวลาที่เดินทางออกนอกประเทศภูฏาน นักท่องเที่ยวที่เดินทางออกจากภูฏานทางเครื่องบิน จะต้องเสียค่าภาษีสนามบิน คนละ 500 นู<BR>• ห้ามนำโบราณวัตถุ ชี (หินโมราฝังลายสีขาวถือเป็นอัญมณีล้ำค่าของภูฏาน) ไม้พุ่มไม้ดอกผีเสื้อ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ออกนอกประเทศภูฏาน รวมถึงศาสนวัตถุ ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ ทั้งพระพุทธรูป เทวรูป กระบอกมนต์ ผอบเก็บพระธาตุ ระฆังหรือวัชระ ฯลฯ ของที่ซื้อเข้าภูฏานจะต้องแจ้งให้มัคคุเทศก์ภูฏานทราบล่วงหน้า

• สาเหตุที่ภูฏานจำกัดนักท่องเที่ยว สืบเนื่องมาจากสาเหตุหลัก 3 ประการคือ
1. สาธารณูปโภคและสาธารรูปการของภูฏานไม่เอื้ออำนวยที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวคราวละจำนวนมากๆ ได้
2. รัฐบาลภูฏานต้องการให้ธรรมชาติในภูฏานคงไว้ได้นานแสนนานที่สุด
3. เป็นพระประสงค์ของกษัตริย์องค์ปัจจุบันของภูฏาน ที่จะรักษาจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียม ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไว้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องการแต่งกาย และสถาปัตยกรรมบ้านเรือนแบบภูฏาน

• การเดินทางไปภูฏาน<BR>• การเดินทางโดยเครื่องบิน<BR>• การเดินทางไปภูฏานมีสายการบินเดียวที่บินจากรุงเทพฯ ไปภูฏาน เป็นสายการบินแห่งชาติภูฏาน คือ สายการบิน ดรุกแอร์ มีเส้นทางบิน จากไทยไปภูฏาน 5 เที่ยว คือ อังคาร พุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ และ มีเที่ยวบินมาไทยสัปดาห์ละ 4 เที่ยว คือจันทร์ พฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ (สายการบินดรุกแอร์ เว็บไซต์ www. drukair.com.bt โทร. 02-535-1960<BR>• สายการบินดรุกแอร์ เริ่มดำเนินกิจการในปี ค.ศ. 1983 ด้วยเครื่องบิน 2 เครื่องยนต์ Dornier 288 ขนาด 17 ที่นั่งเพียงลำเดียว ครั้นมาถึงปี ค.ศ. 1997 มีทั้งหมด 3 ลำด ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ซื้อมาจากรัสเซีย อีก 2 ลำเป็น BAE 146 Four Engine Jets ขนาด 72 ที่นั่ง มี 10 ที่ในชั้นธุรกิจและ มี 62 ที่ในชั้นประหยัด สายการบินดรุกแอร์ บินระหว่างประเทศเพียง 5 ประเทศ คือ อินเดีย เนปาล บังคลาเทศ พม่า และ ไทย เท่านั้น ซึ่งพนักงานสายการบินดรุกแอร์ล้วนเป็นชาวภูฏานทั้งสิ้น โดยได้รับการฝึกอบรมจากการบินไทย<BR>• สนามบินภูฏานมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือสนามบินปาโร อยู่ห่างจากเมืองทิมพู 65 กิโลเมตร ในระหว่างฤดูมรสุม อากาศมักจะแปรปรวน สนามบินปาโรอยู่ท่ามกลางภูเขา การขึ้นลงของเครื่องบินนั้น นักบินจะต้องอาศัยทัศนวิสัยที่ปลอดโปร่ง (นักบินจะต้องมองเห็นลานบินก่อนจึงจะทำการบินขึ้นหรือบินลงได้) ดังนั้น กำหนดการบินของสายการบินดรุกแอร์ อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ นักท่องเที่ยวจึงควรเผื่อเวลาในการเดินทางอยู่ในภูฏาน และเวลาสำหรับการต่อเครื่องบินที่สนามบินอื่นในกรณีที่เครื่องบินอาจเสียเวลาไว้ด้วย<BR>• การเดินทางโดยรถยนต์<BR>• สามารถทำได้โดยเข้าทางด้านชายแดนติดประเทศอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่เมืองพุนโชลิง ซึ่งห่างจากเมืองทิมพูประมาณ 175 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางกว่า 7 ชั่วโมง<BR>• สำหรับจากเมืองพาโร เดินทางโดยรถยนต์ไปยังเมืองหลวงทิมพู ระยะทาง 55 กิโลเมตร ใช้เวลาชั่วโมงครึ่ง สำหรับเส้นทางท่องเที่ยวมีทางรถยนต์ไปทางตะวันออกสายเดียว คือ ทิมพู-วังดี-ปูนาคา และ วังดี-ตองสา-บุมธัง<BR>• ภูฏาน มีถนนลาดยางเส้นยาวเชื่อมเมืองสำคัญๆ ในเขตแคว้นต่างๆ จากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก และจากเหนือสู่ใต้ แต่ถนนในภูฏานจะค่อนข้างชันและมีโค้งมาก<BR>• การคมนาคมในภูฏาน<BR>• พาหนะที่ใช้เดินทางในภูฏาน ใช้รถยนต์ เท่านั้น ถนนสายหลักของภูฏานมีสายเดียวคือ ถนน National Highway ถนนกว้าง 3 เมตรครึ่ง ที่มีเส้นทางผ่านเมือง ผ่านป่าเขา ข้ามแม่น้ำหลายสายที่มีมากมายในภูฏาน การเดินทางท่องเที่ยวที่รักความสะดวกสบาย แต่สนุกและได้ประสบการณ์หลากหลายสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการท้าทาย สำหรับนักท่องเที่ยว บริษัททัวร์ในภูฏานจะเป็นผู้จัดการพาหนะในการเดินทางระหว่างอยู่ในภูฏานเท่านั้น ซึ่งรถยนต์ที่นิยมใช้คือรถมินิแวน รถจี๊ป และรถโฟร์วีล (ภูฏานไม่มีสนามบินภายในประเทศ ไม่มีทางรถไฟ ดังนั้น การคมนาคมที่ใช้กันอยู่เป็นประจำคือ ใช้รถยนต์และการเดินเท้า) มีบริษัททำธุรกิจให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากขี่มอร์เตอร์ไซค์ แต่ด้วยสภาพถนนและสภาพอากาศที่มักจะแปรปรวนและมีฝนตกบ่อยๆ ทำให้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะที่ค่อนข้างอันตราย ทั้งจากสภาพถนนที่เกือบทุกสายเป็นเหมือนทางเกวียน และอันตรายจากรถบรรทุก ที่ขับกันแบบไม่คำนึงถึงกฎจราจรใดๆ ทั้งสิ้น การขี่มอเตอร์ไซค์ในภูฏานจึงเปรียบเสมือนการเอาชีวิตไปเสี่ยงโดยใช่เหตุ<BR>• รถแท็กซี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเดินทางในภูฏาน ปกติแท็กซี่ในภูฏานจะติดมิเตอร์ทุกคัน ค่าโดยสารต่อเที่ยวอยู่ที่ระหว่าง 30-50 นู สำหรับเส้นทางภายในเมืองทิมพู ค่ารถแท็กซี่จากทิมพูไปที่ชายแดนเหมาจ่ายเที่ยวละประมาณ 800-1,000 นู



หน้าที่ :: 6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved