Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
13997105  

ศิลปวัฒนธรรมไทย

 




ฟ้อนสาวไหม เป็นฟ้อนที่ต่างจาก การฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ซึ่งฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เกิดจากราชสำนัก (คุ้มเจ้าดารารัศมี) แต่การฟ้อนสาวไหมเกิดจาก วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในการทอผ้าฝ้ายของชาวล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านศรีทรายมูล ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิด การฟ้อนสาวไหม ซึ่งบุคคลผู้ที่คิดค้นการฟ้อนนี้ คือ นายกุย สุภาวสิทธิ์ อดีตศิลปินช่างฟ้อน (ปัจจุบันได้ล่วงลับไปแล้ว) แห่งหมู่บ้านศรีทรายมูล หมู่ที่ ๑๑ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย แต่เดิมท่านเป็นชาวบ้านแม่คือ ตำบลแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน และเป็นครูช่างฟ้อนผู้หนึ่งที่ได้สอนศิลปะการฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อครูปวน คำมาแดง ซึ่งเป็นผู้ชำนาญทางด้านนี้จนได้รับสมญานามว่า “ปวนเจิง” (หมายถึง นายปวน ผู้เชี่ยวชาญในการฟ้อนเชิง) จากนั้นนายกุย สุภาวสิทธิ์ ได้ถ่ายทอดศิลปะการฟ้อนต่างๆ แก่หนุ่มสาวชาวบ้านศรีทรายมูล เมื่อท่านได้ถ่ายทอดศิลปะเหล่านี้แก่ชาวบ้านศรีทรายมูล เด็กหญิงบัวเรียวก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟ้อนสาวไหม นางบัวเรียว (สุภาวสิทธิ์) รัตนมณีภรณ์ ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านการฟ้อนมาจากบิดาตั้งแต่ อายุประมาณ ๗-๘ ขวบ

ด้วย นายกุย เป็นผู้มีความชำนาญและความสามารถทางศิลปะการฟ้อนของฝ่ายชาย อันได้แก่ฟ้อนดาบ และฟ้อนเชิง นอกจากการฟ้อนทั้ง ๒ อย่างจะเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาแล้วยังสามารถนำมาเป็นอาวุธที่ใช้ป้องกันตัวจากการถูกทำร้ายได้ด้วย ด้วยเหตุนี้นายกุยคิดว่าการที่จะถ่ายทอดการฟ้อนเชิง และฟ้อนดาบให้แก่บุตรสาวอย่างเดียวคงไม่พอ จึงได้ประดิษฐ์การฟ้อนที่นำเอากระบวนการทอผ้าฝ้ายของชาวล้านนา และการฟ้อนเชิงของผู้ชายมาประดิษฐ์ท่ารำเรียกว่า “ฟ้อนสาวไหม”

การที่เรียกชื่อว่าฟ้อนสาวไหมมีเหตุผล ๓ ประการ ดังนี้

๑ คนเมือง หรือคนภาคเหนือเรียกด้ายเย็บผ้าว่า “ไหมเย็บผ้า”

๒ คำว่าสาวไหม เป็นกระบวนท่าหนึ่งในการฟ้อนเชิง ของชาวล้านนา

๓ เพื่อสวยงามตามรูปภาษา นางบัวเรียวได้กล่าวว่า บิดาเลือกชื่อนี้เพราะคำว่าฟ้อนสาวไหมมีความสวยงามมากกว่าคำว่าฟ้อนสาวฝ้าย หรือฟ้อนปั่นฝ้าย

จากการได้รับการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว นางบัวเรียวจึงได้นำแสดงสู่สายตาประชาชนชาวจังหวัดเชียงราย และได้มีโอกาสนำไปเผยแพร่ยังจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการนำของคุณชาญ สิโรรส จากการเผยแพร่ดังกล่าวจึงได้รับทั้งคำชมและคำแนะนำในการฟ้อน ทำให้นางบัวเรียวได้ทำการปรับปรุงท่าฟ้อนสาวไหมมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้ากับสรีระการฟ้อนของผู้หญิงมากยิ่งขึ้น และเข้ากับโอกาสในการแสดงตามงานต่างๆ จนมีความงดงามตามแบบการฟ้อนพื้นบ้านล้านนาอย่างแท้จริง

ผู้แสดง ใช้ผู้หญิงแสดงจำนวนเท่าไรก็ได้ ปัจจุบันก็มีผู้ชายเข้ามาแสดงด้วยก็มี

การแต่งกาย แต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอกห่มสไบทับ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้

การแสดง เริ่มจากการแสดงท่าหักร้างถางพง เพาะปลูกฝ้ายและหม่อน ซึ่งเป็นการแสดงของช่างฟ้อนชาย เพิ่งเพิ่มเข้ามาภายหลัง ต่อจากนั้นก็เป็นท่วงท่าในการฟ้อนสาวไหมเริ่มจากท่าเลือกไหม ดึงไหมออกจากรัง ม้วนไหม สาวไหมออกจากตัว ไหล่ ศีรษะ เท้า ม้วนไหมใต้ศอก พุ่งกระสวย กรอไหม พาดไหม ป๊อกไหม จนกระทั่งชื่นชมกับผ้าที่ทอสำเร็จแล้ว

ดนตรี ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมมี จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลงปราสาทไหว ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมาครูนาฎศิลป์ได้เลือกสรรใช้เพลง "ซอปั่นฝ้าย" ซึ่งมีท่วงทำนองเป็นเพลงซอทำนองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน และมีลีลาที่สอดคล้องกับการฟ้อนสาวไหมอย่างงดงามยิ่ง

สถานที่แสดง ไม่จำกัดเวที

โอกาสที่แสดง แสดงได้ทุกโอกาส และในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ




หน้าที่ :: 1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved