Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
13997473  

พันธกิจขยายผล

 
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Abraham Maslow
 
ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยวิทยา (Humanistic Theory) นวลละออ สุภาผล ( 2527 : 255-288 ) อธิบายว่า ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยวิทยา เป็นทฤษฎีจิตวิทยาร่วมสมัยในปัจจุบันมากที่สุด แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างมากในวงการจิตวิทยาเพราะได้เสนอภาพหรือความคิดเห็นในมนุษย์แตกต่างไปจากความคิดของ ทฤษฎีบุคลิกภาพที่ผ่านมาเช่นทฤษฎีจิตวิเคราะห์หรือทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นต้นผู้คิดทฤษฎีนี้ ได้แก่ Abraham Maslow เป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยามานุษยนิยม

ทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น A Humanistic Theory of Personality ( ทฤษฎีบุคลิกภาพมานุษยนิยม ) และ Self-Actualizationism Theory ( ทฤษฎีการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ) เป็นต้น ทฤษฎีมานุษยนิยมเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงบุคลิกภาพโดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์มีความดีและมีคุณค่าต่อการยอมรับมนุษย์มีความต้องการที่จะมุ่งไปสู่ความเข้าใจในศักยภาพของตนเอง ถ้าสภาพสิ่งแวดล้อมของเขาดีพอหรือเอื้ออำนวย ดังนั้นทฤษฎีจึงมีแนวคิดพื้นฐานในเรื่องการศึกษาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความบริบูรณ์ ความเจริญงอกงามและการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่ง Maslow กล่าวว่า "มนุษย์จะไม่เข้าใจตนเองจนกว่า จะเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะแสวงหาสิ่งต่อไปนี้คือความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ความบริบูรณ์งอกงาม เอกลักษณ์และความเป็นตัวของตัวเอง และสิ่งสำคัญที่ทฤษฎีของ Maslow เน้นคือ เอกลักษณ์ของบุคคล ความสำคัญและความหมายของคุณค่าต่างๆ (values) ศักยภาพสำหรับการชี้นำตนเอง และความต้องการเจริญเติบโตของบุคคล" ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอิทธิพลสำคัญของความคิดในปัจจุบันเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์


ประวัติผู้กำเนิดทฤษฎี

งานวิจัย เพื่อรับปริญญาเอกของเขาเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นั่นคือ การศึกษาเรื่องเพศและคุณลักษณะของลิง การศึกษาเรื่องนี้ทำให้ Maslow เกิดความสนใจในเรื่องเพศและความรักซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนความสนใจนี้มาสู่มนุษย์ Maslow ได้ทำวิจัยเรื่องเพศโดยเฉพาะการศึกษารักร่วมเพศ (homosexuality) ซึ่งมีสระสำคัญทำให้เข้าใจมนุษย์ลึกซึ้งมากขึ้น

ระหว่างปี ค.ศ. 1930–1934 Maslow เป็นผู้ช่วยหัวหัวหน้าภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Wisconsin ต่อมาได้ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัย Columbia เขาทำงานอยู่ที่นี่ ระหว่างปีค.ศ.1935–1937 ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Brooklyn จนถึงปีค.ศ. 1951 Maslow ก็ได้ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัย New York ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยที่สอนวิชาจิตวิทยา ณ ที่นี้เอง เขาได้พบกับนักจิตวิทยาชั้นนำหลายคนที่หลบหนีจาก Hitler ในสมัยนั้น ได้แก่ Erich From , Alfred Adler, Karen Horney, Ruth Benedick และ Max Wertheimer ซึ่งเป็นโอกาสดีที่เขาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับนักจิตวิทยาเหล่านั้นอย่างมากมาย และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ Maslow ได้ศึกษาถึงกฎพื้นฐานของความเป็นมนุษย์และในระหว่างนั้นทำให้เขากลายเป็นนักจิตวิเคราะห์ไปด้วย Maslow มีความปรารถนาอย่างมากที่จะศึกษาพฤติกรรมที่ครอบคลุมมนุษย์อย่างแท้จริง

Maslow มีลูกสาว 2 คน เมื่อมีลูกสาวคนแรกเขากล่าวว่า “ลูกคนแรกได้เปลี่ยนฉันให้มาเป็นนักจิตวิทยา และพบว่าจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้นั้นที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงดู ฉันกล่าวได้ว่าทุกๆ คนที่มีลูกจะไม่สามารถเป็นนักพฤติกรรมนิยมได้” Maslow ได้พบพฤติกรรมที่ซับซ้อนของมนุษย์ซึ่งแสดงออกโดยลูกๆ ของเขา เขากล่าว่า “จิตวิทยาพฤติกรรมนิยมมีความสัมพันธ์ที่จะเข้าใจหนู (rodents) มากกว่าจะเข้าใจมนุษย์”

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเป็นสาเหตุให้การทำงานของ Maslow เปลี่ยนแปลงไป ในความเห็นของเขาสงครามก่อให้เกิดอคติความเกลียดชังซึ่งเป็นความชั่วร้ายของมนุษย์ หลังจากที่ทหารยึด Pearl Harborได้นั้นมีผลต่องานของ Maslow มากดังที่เขาบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า“ข้าพเจ้ายืนมองการรบด้วยน้ำตานองหน้า ข้าพเจ้าไม่เข้าใจเลยว่าพวก Hitlerพวก Germanพวก Stalin หรือพวก Communist มีจุดมุ่งหมายอะไร ไม่มีใครที่จะเข้าใจการกระทำของเขาเหล่านั้น ข้าพเจ้าอยากจะเห็นโต๊ะสันติภาพ ซึ่งมีบุคคลนั่งอยู่รอบโต๊ะนั้นและพูดกันเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ไม่พูดถึงความเกลียดชังสงคราม พูดแต่เรื่องสันติภาพและความเป็นพี่เป็นน้องกัน” ในเวลาที่ข้าพเจ้าคิดเช่นนี้ทำให้ข้าพเจ้าตัดสินใจได้ว่าควรจะทำอะไรต่อไปนับตั้งแต่วินาทีนั้น

ในปีค.ศ. 1941 ข้าพเจ้าได้อุทิศตัวเองในการพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งทฤษฎีนี้ จะสามารถทดสอบได้จากการทดลองและการวิจัย

ปีค.ศ.1951Maslowได้รับแต่งตั้งเป็นประธานของคณะจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Brandeisและอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงปีค.ศ.1961 และหลังจากนั้นเขาก็ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา ในระหว่างนี้เขาเป็นบุคคลสำคัญในการเคลื่อนไหวในกลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยมในหมู่นักจิตวิทยาชาวอเมริกันถึงปี 1969 เขาได้ย้ายไปเป็นประธานมูลนิธิ W.P.Laughlin ใน Menlo Part ที่Californiaและที่นี้เอง เขาได้ศึกษาในเรื่องที่เขาสนใจคือปรัชญาทางการเมืองและจริยธรรม และแล้ววาระสุดท้ายของเขาก็มาถึง เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1970 เมื่ออายุเพียง 62 ปี เขาก็ถึงแก่กรรมด้วยอาการหัวใจวายหลังจากที่เขาป่วยเป็นโรคหัวใจเรื้อรังมาเป็นเวลานาน หนังสือที่ Maslow เขียนมีเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น Toward a Psychology of Being ,Religions, Values and Peak Experiences,The Psychology of Science : A Reconnaissance,


หน้าที่ :: 52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved