Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
13997262  

เตือนภัย

16 ตุลาคม 2012

ตะวัน มานะกุล

เหตุการณ์ตากใบ คือเหตุการณ์สำคัญที่ค้างคาในความทรงจำ และตอกย้ำสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ ที่ยังคงไร้ทางออกจวบจนปัจจุบัน

การทบทวนเหตุการณ์เพื่อถามหาความยุติธรรมให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง และไม่ปล่อยให้โศกนาฏกรรมดังกล่าวหายเงียบไปจากความทรงจำของสังคมไทย เช่นเดียวกับเหตุการณ์นองเลือดอื่นๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ เมื่ออีก 2 ปี จะครบรอบ 10 ปีเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้รอบล่าสุด ซึ่งพอคาดการณ์ได้ว่าอาจมีอะไรบางอย่างในทางที่ไม่ดีเกิดขึ้นตามประสาวันครบรอบ

วันนั้นที่ตากใบ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 กลุ่มผู้ชุมนุมที่มีทั้งชาย หญิง และเด็ก ได้เดินขบวนไปยังสถานีตำรวจภูธร อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน บ้านโคกกูเว หมู่ที่ 5 ตำบลพร่อน จำนวน 6 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวในคดีความไม่สงบในพื้นที่

ภายหลังกลุ่มผู้ชุมนุมเดินขบวนนับพันมาถึงจุดหมายในช่วงเช้า และดำเนินการชุมนุมประท้วงในช่วงบ่าย ฝ่ายรัฐได้ตัดสินใจว่าจะจับตัวแกนนำประมาณ 100 คน ที่เชื่อว่าเป็นผู้ปลุกระดมให้คนมารวมกลุ่มกันต่อต้านรัฐ อันเป็นส่วนหนึ่งของ ‘แผนการ 7 ขั้นตอน’ ต่อเนื่องจากเหตุการณ์ปล้นปืน เมื่อวันที่ 4 มกราฯ ปีเดียวกัน แต่เนื่องจากเห็นว่าแกนนำเหล่านี้ได้กระจายตัวกันอยู่ในหมู่ผู้ชุมนุมนับพัน ฝ่ายรัฐซึ่งได้ระดมกำลังทหารตำรวจมาจนพร้อม จึงตัดสินใจปิดล้อมและกวาดจับผู้ชุมนุมนับพัน เพื่อนำไปคัดแยกจับกุมแกนนำในภายหลัง

ภายหลังการปะทะสิ้นสุด มีผู้เสียชีวิตทันที 6 คน และเสียชีวิตระหว่างการลำเลียงตัวไปค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เพราะขาดอากาศหายใจ 78 ราย และอีก 1 รายไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหลังจากนั้น เนื่องจากถูกจับมัดมือไพล่หลัง นอนคว่ำเรียงซ้อนกัน 4-5 ชั้น บนรถบรรทุกเป็นเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง โดยสภาพร่างกายผู้ชุมนุมเหน็ดเหนื่อยจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังอ่อนเพลียเนื่องจากอยู่ในช่วงถือศีลอด

ความยุติธรรมที่ตากใบ

ภายหลังฝุ่นควันที่ตากใบ ฝั่งประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ต่างร้องหาความยุติธรรม โดยมีการฟ้องร้องต่อกันทั้งหมด 3 คดี

คดีแรก เจ้าหน้าที่รัฐส่งฟ้องผู้ชุมนุมที่รอดชีวิต 59 คน ต่อศาลจังหวัดนราธิวาส ในข้อหาร่วมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ซึ่งภายหลังได้มีการถอนฟ้อง และคดีที่สองได้แก่การที่ญาติผู้เสียหายฟ้องแพ่งต่อกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กองทัพบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งภายหลังได้มีการประนีประนอมยอมความ โดยกองทัพบกยอมรับผิดชอบสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย 42 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขให้ญาติผู้เสียหายถอนฟ้องต่อผู้มีอำนาจสั่งการทั้งหมด

เหตุการณ์ตากใบ ที่มาภาพ : http://thewe.cc/thewei/&/images3/thailand/mdf739239.jpe

เหตุการณ์ตากใบ ที่มาภาพ : http://thewe.cc/thewei/&/images3/thailand/mdf739239.jpe

และคดีสุดท้ายซึ่งเป็นที่โจษจัน คือการไต่สวนกรณีเสียชีวิตของผู้ชุมนุม จำนวน 78 คน ซึ่งศาลจังหวัดสงขลา พิพากษาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (5 ปีหลังจากนั้น) ว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการ ‘ตามความจำเป็นแห่งสภาพการณ์เท่าที่เอื้ออำนวย’ และผู้ตายทั้งหมด ตายเพราะขาดอากาศหายใจระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ นอกจากนี้ ในคำพิพากษามีการกำหนดให้เป็นที่สิ้นสุด ไม่สามารถทำการอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์จังหวัดสงขลาต่อได้

ทั้งที่มีการบันทึกภาพการใช้ความรุนแรงและอาวุธสงครามต่อผู้ชุมนุมมือเปล่า และแม้พบข้อเท็จจริงว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการแจ้งเตือนรถบรรทุกลำเลียงผู้ชุมนุม ในช่วงที่รถหัวขบวนมาถึงจุดนัดหมายและพบว่ามีผู้เสียชีวิต ทำให้ในรถท้ายขบวนบางคัน มีผู้เสียชีวิตถึง 23 คน

ล่าสุด ศาลอาญาปฏิเสธคำขอให้เพิกถอนผลคำตัดสินของศาลจังหวัดสงขลาของญาติผู้เสียชีวิต เนื่องจากเห็นว่าไม่อยู่ในเขตอำนาจ

โรคความชอบธรรมบกพร่อง

รัฐมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรม โดยมีอำนาจแห่งความรุนแรงเป็นเครื่องมือ แต่กรณีตากใบทำให้เห็นว่า รัฐไทยนั้นเข้าใจกลับกัน คือเห็นว่าความรุนแรงคือเป้าหมายในตัวเอง เพราะจะช่วยทำให้สังคมสงบราบคาบ ส่วนความยุติธรรมนั้นเป็นเพียงเครื่องมือเปิดทางล้างผิด

แน่นอนว่าเรื่องราวความตายของพี่น้องชาวมุสลิมที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอน ได้กลายเป็นเทพปกรณัมที่ปลุกเร้าจิตใจต่อสู้ไม่เพียงแต่ต่อชาวมุสลิมภายในประเทศเท่านั้น แต่ต่อชาวมุสลิมทั่วโลก เพื่อนผมคนหนึ่งเดินทางกลับจากเมกกะ เล่าให้ฟังว่า คำถามแรกที่ชาวมุสลิมต่างชาติถามเสมอเมื่อทราบว่าเขาเป็นคนไทย คือ ทำไมรัฐไทยจึงทำกับคนมุสลิมในเหตุการณ์ตากใบเช่นนี้

แต่ที่เลวร้ายซ้ำสอง คือ ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อการชุมนุมในครั้งนั้น ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ เพราะถือเป็นครั้งแรกนับแต่เหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อวันที่ 4 ม.ค. ที่ประชาชนในพื้นที่นำเสนอข้อเรียกร้องของเขาต่อรัฐโดยตรง โดยไม่เลือกที่จะลอบยิง วางระเบิด หรือใช้ความรุนแรงใดๆ เพื่อหวังข่มขู่ และถอนรากถอนโคนอำนาจรัฐในพื้นที่เช่นที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบบางกลุ่มดำเนินการมาแต่ต้น

ไม่มากก็น้อย ผู้ชุมนุมในขณะนั้นโกรธรัฐ แต่ถ้าไม่มีใจย่อมไม่มาหา ที่มาก็เพราะเห็นว่ายังคุยกันได้ ซึ่งท้ายที่สุด ต่อให้การพูดคุยจะกลายเป็นการทะเลาะด่าทอ ก็น่าจะดีกว่าการที่ต่างฝ่ายต่างเงียบ แล้วสนทนากันผ่านอาวุธ

ความรุนแรงที่ตากใบจึงเป็นการตัดความหวังที่จะพึ่งพารัฐของคนในพื้นที่ แล้วเปิดหน้าลงไปเป็นคู่ขัดแย้งอย่างเต็มตัว

มีผู้ให้ข้อสังเกตอย่างเฉียบคมว่า ถึงที่สุด ปัญหาแก่นกลางของปัญหาความไม่สงบในภาคใต้คือรัฐไทยกำลังเป็นโรค ได้แก่ ‘โรคความชอบธรรมบกพร่อง’ เพราะผู้คนจำนวนมากเสื่อมศรัทธา และไม่เห็นว่ารัฐจะสามารถอำนวยความยุติธรรมใดๆ ให้เขาอีกต่อไป และเมื่อไม่มีความชอบธรรมอีกต่อไป รัฐจึงขีดเส้นแปลกแยกตนเองออกจากสังคมโดยสิ้นเชิง

ที่สำคัญคือ คนเป็นโรคไปแตะใครเข้าคนนั้นก็ติดโรคไปด้วย กล่าวคือ ยิ่งรัฐพยายามใช้สถาบัน หน่วยงาน บุคลากรใด เข้าไปแก้ปัญหา อะไรต่างๆ เหล่านั้นก็จะติดโรคความชอบธรรมบกพร่องไป ทำให้ถูกกีดกัน หวาดระแวงไปโดยปริยาย

สถานการณ์ และ ทางออกก่อนครบ 10 ปี ตากใบ

รายงาน ‘ยุทธศาสตร์การจัดการความรุนแรง จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2554-2547’ ซึ่งจัดทำโดย โครงการยุทธศาสตร์สันติวิธีสำหรับสังคมไทยในศตวรรษที่ 20 สรุปสถานการณ์ความรุนแรงว่า จวบจนสิ้นปี 2554 เหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้เกิดขึ้นแล้วทั้งสิ้น 10,660 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 4,621 คน และ บาดเจ็บ 7,505 ราย โดยส่วนใหญ่ในจำนวนนี้เป็นประชาชน

เหตุกาณ์ตากใบ ที่มาภาพ : http://files.myopera.com/skunks/blog/takbai2.jpg

เหตุกาณ์ตากใบ ที่มาภาพ : http://files.myopera.com/skunks/blog/takbai2.jpg

ในแง่ความถี่และความเข้มข้นของความรุนแรง แม้จำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบลดลงกว่าร้อยละ 50 นับแต่ พ.ศ. 2550 เพราะมีการปูพรมปิดล้อม ตรวจค้น และจับกุมผู้ต้องสงสัย โดยเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตามความรุนแรงในภาพรวมกลับไม่ได้ลดลง เนื่องจากความเข้มข้นต่อครั้งกลับสูงขึ้น กล่าวคือ ในช่วงปี 2547 มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บเฉลี่ย 0.5 คนต่อหนึ่งเหตุการณ์ความไม่สงบ แต่ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 เฉลี่ยแล้วสูงขึ้นมากกว่าสองเท่า คือมีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 1.22 คนต่อหนึ่งเหตุการณ์ ที่น่าสนใจคือ ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นดังกล่าวสูงขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้มีแนวโน้มน่าเป็นห่วงยิ่ง

หากรัฐไทยเข้าใจว่าตนเองติดโรค ทางออกเบื้องต้นที่สุดจึงได้แก่การรักษาโรคตัวเองให้หาย ก่อนที่จะพยายามฟื้นฟูความยุติธรรมในภาพรวม โดยสงวนความรุนแรงไว้ใช้เท่าที่จำเป็น และใช้อย่างชอบธรรม

การคืนความยุติธรรมในกรณีเหตุการณ์ตากใบ คือหนึ่งในก้าวย่างสำคัญที่จะทำให้รัฐฟื้นฟูความยุติธรรม และความไว้เนื้อเชื่อใจกลับคืนมา แต่ดูเหมือนรัฐของเราได้เลือกที่จะปฏิเสธแนวทางดังกล่าว แล้วดำเนินการแพร่เชื้อโรคอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการก่อตั้งกองกำลังพลเรือนติดอาวุธ ได้แก่ ทหารพราน อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน รวมถึงกองกำลังที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นกองกำลังชาวพุทธ คือ ราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน (อรบ.) และ กองกำลังรวมไทย ซึ่งจวบจนปี 2551 มีจำนวนถึง 105,063 คน จากประชากรในพื้นที่สามจังหวัดที่มีรวมกัน 1,904,624 คน

การแพร่เชื้อโรคความชอบธรรมบกพร่องสู่ประชาชน ย่อมสร้างเส้นแบ่งทางสังคม ชาติพันธุ์ และศาสนา ต่อกันและกันระหว่างคนในพื้นที่

นอกจากนี้ รายงานเรื่อง ‘ยุทธศาสตร์การจัดการความรุนแรง จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2554-2547’ ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะดังกล่าว จะนำไปสู่ความล้มเหลวในการควบคุมความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำลายกระบวนการและบรรยากาศแห่งสันติภาพ รวมถึงในท้ายที่สุด การเรียกอาวุธคืนจะทำได้ยาก ซึ่งการไหลเวียนของอาวุธจะส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมความรุนแรงในพื้นที่ต่อไป

อีกสองปีจะครบรอบสิบปีเหตุการณ์ตากใบ รวมถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าอาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงตามประสาช่วงเวลาแห่งการครบรอบ ดังนั้นการหยุดแพร่เชื้อโรคความชอบธรรมบกพร่องของรัฐสู่สถาบัน หน่วยงาน รวมถึงประชาชน แล้วกลับไปรักษาตนเองผ่านการสถาปนาความยุติธรรมในเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน

เช่น การคืนความจริงและความยุติธรรม ในกรณีอาชญากรรมรัฐที่ตากใบ



หน้าที่ :: 1   2   3   4   5  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved