Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14026721  

พันธกิจขยายผล

WBT : Web-Based Training
เทคโนโลยีเพื่อการฝึกอบรมครูในอนาคต

ปรัชญนันท์ นิลสุข

 
 
 
สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูประจำการ การพัฒนาโดยการฝึกอบรมเท่าที่ดำเนินการอยู่โดยกรมเจ้าสังกัดมีอยู่น้อยมาก กิจกรรมการพัฒนาฝึกอบรมครูประจำการที่กรมเจ้าสังกัดหรือสถาบันอุดมศึกษาร่วมกับกรมเจ้าสังกัดดำเนินการอยู่คือ การให้ครูเข้ามาฝึกอบรมหรือร่วมสัมมนาประชุมปฏิบัติการ หลักสูตรตั้งแต่ 3-5 วัน ถึง 1 เดือน ครูประจำการก็ได้รับวิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษาได้พบเพื่อนครู และเปลี่ยนบรรยากาศจำเจจากงานประจำได้บ้าง แต่ปัญหาที่พบในการฝึกอบรมครูโดยให้ครูมาเข้าชั้นเรียนดังกล่าวคือ ครูจะต้องทิ้งการสอนในชั้นเรียนจากโรงเรียนมาเข้ารับการฝึกอบรม ให้นักเรียนไม่ได้รับการสอนจากครูเต็มตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหารูปแบบการพัฒนาครูประจำการที่สามารถพัฒนาครูไปพร้อม ๆ กับครูได้ปฏิบัติหน้าที่ครูคือการสอนนักเรียนของตนไปด้วย (พลสัณฑ์ โพธิ์ศรีทอง. 2541 : 11)

หน่วยงานราชการจำนวนมากจะกำหนดงบประมาณเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร โดยกำหนดไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานมีการพัฒนาบุคลากร มีการวางแผนกำหนดหัวข้อเรื่องในการฝึกอบรมเอาไว้พร้อม กำหนดงบประมาณในการดำเนินการเป็นไปในลักษณะของงบเหลือจ่าย ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นการกำหนดงบประมาณเอาไว้เพื่อเป็นงบประมาณสำหรับตัดทิ้ง เมื่อเวลามีนโยบายประหยัด เพราะไม่ส่งผลกระทบที่เป็นรูปธรรมต่อหน่วยงาน ปัญหาของการฝึกอบรมจึงมีตั้งแต่ยังไม่เริ่มการฝึกอบรม จนกระทั่งอบรมไปแล้วก็ไม่เกิดมรรคผลอันใดอันมีสาเหตุมาจาก

1. หน่วยงานเห็นความจำเป็นของการฝึกอบรมโดยให้ความสำคัญกับงบประมาณ เป็นอันดับ แรก ถ้าไม่มีงบประมาณก็ไม่ต้องอบรมบุคลากร
2. การฝึกอบรมผูกติดอยู่กับกระบวนการที่ต้องกระทำอย่างเป็นขั้นตอนเป็นระบบ กำหนด วัน เวลา สถานที่ วิทยากร หัวข้อเรื่อง ผู้เข้าอบรม จนดูเป็นงานประจำมากกว่างานพัฒนาที่ควรต้องกระทำตามปัญหาที่เกิดขึ้น
3. การฝึกอบรมกระทำได้ไม่ทั่วถึง การพัฒนาบุคลากรไม่ตรงเป้าหมาย ผลการอบรมเป็นไป ในแบบการอบรมเชิงสังสรรค์มากกว่าการอบรมเชิงสร้างสรรค์
4. การฝึกอบรมมักมีระยะสั้น ผู้เข้าอบรมเมื่อไม่เข้าใจก็ไม่สามารถทบทวนใหม่ หรือไม่มี โอกาสได้ฝึกอย่างเพียงพอในการฝึกอบรม
5. การฝึกอบรมขาดการติดตามผล เมื่ออบรมเสร็จสิ้นก็จบอยู่แค่วันที่ฝึกอบรม ไม่มีการติดตามว่าผู้เข้ารับการอบรม เข้าใจสิ่งที่อบรมไปหรือไม่ นำผลที่จากการอบรมไปใช้หรือไม่ และการ อบรมที่ผ่านไปนั้นเกิดประโยชน์อะไรกับเขา

การใช้เว็บเพื่อการฝึกอบรม

การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมจะเป็นเทคโนโลยีเพื่อการฝึกอบรมแห่งอนาคต เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อทันสมัยแบบเดิม ๆ อย่างเช่น วีดิโอเทป หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งมีสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาในระบบอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การฝึกอบรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะการศึกษาโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตก็จัดได้ว่าเป็นการศึกษาทางไกลแบบหนึ่ง คลาร์ค (Clark, 1996) ได้ให้คำจำกัดความของการใช้อินเทอร์เน็ตหรือเว็บฝึกอบรม (Web-Based Training : WBT) ว่า เป็นการสอนรายบุคคลที่ส่งข้อมูลเป็นสาธารณะหรือเป็นการส่วนตัวด้วยคอมพิวเตอร์ และแสดงผลโดยด้วยการแสดงด้วยหน้าจอของเว็บ โดยที่ไม่ได้ถ่ายทอดข้อมูลในแบบคอมพิวเตอร์ฝึกอบรม (CBT : Computer-Based Training) แต่เป็นไปตามความต้องการในการฝึกอบรม โดยการเก็บข้อมูลในแหล่งจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลได้โดยระบบเครือข่าย โดยที่เว็บฝึกอบรมสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ทันสมัย ได้รวดเร็ว และการเข้าถึงข้อมูลการฝึกอบรมควบคุมได้โดยผู้ออกแบบการฝึกอบรม

การใช้เว็บเพื่อการฝึกอบรมกับการฝึกอบรมการใช้เว็บ เป็นการให้ความหมายที่แตกต่างกันในขณะที่การเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในประเทศ ยังเป็นลักษณะของการฝึกอบรมการใช้อินเทอร์เน็ตในลักษณะหลักสูตรระยะสั้นหรือการจัดประชุมปฏิบัติการ (ถนอมพร ตันพิพัฒน์. 2539 : 9) จึงไม่ใช่การใช้เว็บเพื่อฝึกอบรมดังนั้นถ้าเราใช้เว็บฝึกอบรม (Web-Based Training : WBT) ก็หมายถึง การฝึกอบรมโดยการใช้เว็บเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย เสนอความคิดเห็น โดยใช้เครื่องมือผ่านเวิลด์ไวด์เว็บที่ได้รับการออกแบบและจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน มีกระบวนการเหมือนกับการฝึกอบรมโดยในห้องอบรม แต่เป็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้เข้าอบรมกับผู้จัดการอบรมโดยระบบอินเทอร์เน็ต

ในขณะที่ ไดรสคอลส์ (Driscoll, 1997) ได้ให้ความหมายของ อินเตอร์เพื่อการฝึกอบรม เอาไว้ว่า เป็นการใช้ทักษะหรือความรู้ต่าง ๆ ถ่ายโยงไปสู่ที่ใดที่หนึ่งโดยการใช้เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นช่องทางในการเผยแพร่สิ่งเหล่านั้น ซึ่งลักษณะของการฝึกอบรมโดยการใช้ระบบอินเทอร์เน็ต ถ้าแบ่งตามรูปแบบของเครื่องมือที่ใช้บนอินเทอร์เน็ตก็จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1. แบบที่เป็นข้อมูลอย่างเดียว (Text-Only) เป็นลักษณะของการฝึกอบรมโดยอาศัยอินเทอร์ เน็ต ซึ่งมีข้อจำกัดบางอย่างในการเข้าถึงข้อมูล โดยมีลักษณะที่เป็นข้อความอย่างเดียว เช่น

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electromic Mail : e-mail)
- กระดานข่าวสาร (Bulletin Board)
- ห้องสนทนา (Chat Room)
- โปรแกรมดาวน์โหลด (Software downloading)

ซึ่งเป็นเครื่องมือที่อยู่ภายในระบบอินเทอร์เน็ตที่สามารถนำมาใช้ในการฝึกอบรมได้ โดย ที่ไม่ต้องใช้ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์มากนัก

2. แบบที่เป็นมัลติมีเดีย (Multimedia) เป็นแบบที่สองของอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรม ที่มีโครงสร้างลักษณะเป็นกราฟิก การสืบค้นโดยใช้ภาพในรูปแบบของเว็บ ซึ่งทำให้มีชื่อเรียกหลายลักษณะ ได้แก่

- เว็บฝึกอบรม (Web-Based Training)
- เว็บช่วยสอน (Web-Based Instruction)
- เว็บเพื่อการศึกษา (Web-Based Edcuation)
- เว็บช่วยการเรียนรู้ (Web-Based Learning)
- อินเทอร์เน็ตฝึกอบรม (Internet-Based Training)
- อินเทอร์เน็ตช่วยสอน (Internet-Based Instruction)
- เวิลด์ไวด์เว็บฝึกอบรม (WWW-Based Training)
- เวิลด์ไวด์เว็บช่วยสอน (WWW-Based Instruction)

ซึ่งลักษณะของ WBT จะเป็นแบบที่นิยมในการใช้อธิบายคุณลักษณะของการใช้อินเทอร์ เน็ตเพื่อการฝึกอบรมมากที่สุด การฝึกอบรมหรือการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW : World Wild Web) ถือได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน (ไพรัช ธัชยพงษ์. 2540 : 28)

รูปแบบของเว็บเพื่อการฝึกอบรม

การใช้เว็บในการฝึกอบรมก็ต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเว็บเป็นสำคัญ เมื่อการอบรมนั้นไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอบรมในห้องฝึกอบรม แต่เป็นการฝึกอบรมโดยการสื่อสารทางไกล จะทำอย่างไรให้การฝึกอบรมโดยเว็บมีคุณภาพและประสิทธิภาพเท่าเทียม หรือดีกว่าการฝึกอบรมในห้องฝึกอบรมอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต ผู้เขียนจึงกำหนดกรอบคิดหลักของเว็บเพื่อการฝึกอบรม (WBT) จะต้องคำนึงถึงแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ

1. เว็บฝึกอบรมในด้านการให้การศึกษา นั่นคือ เว็บฝึกอบรมจะอยู่ในกรอบ 3 ประการคือ

1.1 เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wild Web : WWW) เว็บฝึกอบรมเป็นส่วนหนึ่งของระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องอยู่ในกรอบของเวิลด์ไวด์เว็บ
1.2 การศึกษาทางไกล (Distance Education) การฝึกอบรมบนเว็บเป็นการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการจัดการศึกษาทางไกล ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในกรอบของการศึกษาทางไกล
1.3 การพัฒนาระบบการสอน (Instructional System Development : ISD) การฝึกอบรมบนเว็บอยู่ในกรอบของ WWW เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทางไกล การฝึกอบรมก็ต้องมีการออกแบบและพัฒนาระบบเพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ จึงต้องอยู่ในกรอบของการพัฒนาระบบการสอน

2. เว็บฝึกอบรมในด้านการพัฒนาคน นั่นหมายความว่า เว็บการฝึกอบรมก็จะอยู่ในกรอบ 3 ประการเช่นกันคือ

2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคนโดยเว็บเป็นพัฒนาในยุคสังคมสารสนเทศ ซึ่งภายในเว็บซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นฐานข้อมูลใหญ่ที่สุดในโลก เว็บฝึกอบรมจึงเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมสารสนเทศ โดยมี WWW เป็นเครื่องมือจึงอยู่ในขอบเขตเดียวกัน
2.2 การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) เป็นการฝึกอบรมที่มุ่งให้ผู้อบรมได้เรียนรู้ตามความสนใจ ในสภาพของเครือข่ายการเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลา ซึ่งอยู่ใช้การศึกษาในแบบทางไกล จึงอยู่ในขอบเขตเดียวกัน
2.3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD) เนื่องจากการฝึกอบรมเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่เน้น 3 ด้านคือ การฝึกอบรม การศึกษาและการพัฒนา จึงจัดกรอบนี้ในกลุ่มเดียวกับการพัฒนาระบบการสอนซึ่งไม่อาจแยกจากกันได้


รูปที่ 1 แบบจำลองแนวคิดเว็บฝึกอบรม (Model of Web-Based Training) ของปรัชญนันท์ (2541)

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้แสดงให้เห็นว่าเป็นสื่อที่ทรงพลัง ที่จะเข้ามาพัฒนาใช้ในการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทำได้ทั้งภายในและภายนอกสถานที่ ทุกแห่งหนทุกสถานที่จะเป็นแหล่งที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมได้ เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้ในทุกที่ของหน่วยงานที่มีระบบนี้ติดตั้งอยู่ อินเทอร์เน็ตเป็นมิตรกับผู้ใช้ เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายตลอด 24 ชั่วโมง เรียนรู้ในเวลาใดก็ได้ มีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับราคา ไม่ต้องกล่าวถึงความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน สามารถอบรมได้ด้วยตนเองทั้งที่ทำงานและที่บ้าน เป็นมิติใหม่ของเครื่องมือและกระบวนการในการฝึกอบรม (Pollack and Masters, 1997) ซึ่งเราสามารถแสดงให้เห็นประโยชน์ของการใช้อินเทอร์เน็ตในการฝึกอบรมได้แก่

1. การฝึกอบรมเข้าถึงทุกหน่วยงานที่มีอินเทอร์เน็ตติดตั้งอยู่
2. การฝึกอบรมกระทำได้โดยผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องทิ้งงานประจำเพื่อมาอบรม
3. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ของว่าง ฯลฯ
4. การฝึกอบรมกระทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง
5. การจัดฝึกอบรมมีลักษณะที่ผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้เกิดขึ้นกับตัวผู้เข้าอบรมเองโดยตรง (Self-directed)
6. การเรียนรู้เป็นไปตามความก้าวหน้าของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเอง (Self-pacing)
7. สามารถทบทวนบทเรียนและเนื้อหาได้ตลอดเวลา
8. สามารถซักถามหรือเสนอแนะ หรือถามคำถามได้ ด้วยเครื่องมือบนเว็บ
9. สามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมได้โดยเครื่องมือสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ตทั้ง ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือห้องสนทนา (Chat Room) ฯลฯ
10. ไม่มีพิธีการ
 
แต่การฝึกอบรมโดยการใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งจัดเป็นการฝึกอบรมทางไกลโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายนับว่าเป็นสิ่งใหม่ ปัญหาที่มักพบในการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คือ ผู้เรียนและผู้สอนมีปัญหาในการใช้คอมพิวเตอร์ (ปัทมาพร เย็นบำรุง. 2541 : 70)ปัญหาความไม่รู้คอมพิวเตอร์ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ไม่รู้เท่านั้น แม้แต่ครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ตามโรงเรียนต่าง ๆเป็นจำนวนมาก บางคนยังไม่รู้ว่ายังมีโปรแกรมอีกมากมายและทันสมัยกว่าโปรแกรมที่ใช้สอนอยู่ ซึ่งโปรแกรมที่สอนอยู่ทั่วไปอย่างเวิล์ดโปรเซสเซอร์ มีความสามารถต่ำเกินไปในการรองรับงานปัจจุบัน นอกจากนี้ครูจำนวนมากยังรู้แต่วิธีใช้โปรแกรมการประมวลผลคำ แต่ไม่รู้วิธีการเขียนโปรแกรม บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีการเขียนโปรแกรมอยู่ในโลก (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2541 : 14) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่จะยังมีครูผู้สอนหรือนักฝึกอบรมจำนวนมากที่ยังไม่รู้จัก ไม่รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรม การที่เราจะพัฒนาครูเพื่อให้มีความรู้เพิ่มเติมขึ้นได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้ครูฝึกอบรมให้ห้องแต่ให้หันมาใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ทำได้ ครูสามารถปรึกษาหารือเกี่ยวกับประสบการณ์การสอนกับเพื่อนครูจากทั่วโลก และใช้ WWW ให้การหาข้อมูลต่าง ๆ ได้เข้ากลุ่มสนทนาเกี่ยวกับการศึกษาในอินเทอร์เน็ต กับกลุ่มที่มีความสนใจเช่นเดียวกัน (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 2539) แต่ปัญหาของความไม่แพร่หลายในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมก็คือคือ
1. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ค่าเช่า ค่าโทรศัพท์ทางไกล กรณีอยู่ต่างจังหวัดยังสูงมาก
2. การขาดนักออกแบบระบบการฝึกอบรมโดยใช้อินเทอร์เน็ต
3. ทัศนคติของผู้ใช้ยังเห็นว่าอินเทอร์เน็ตเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ใช้ค้นหาหรือติดต่อสื่อสารพูดคุยกันมากกว่า
4. อุปสรรคด้านภาษา เนื่องจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ
5. การติดตั้งอินเทอร์เน็ตยังมีปริมาณน้อย
6. ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และขาดความเข้าใจ
7. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนยังไม่เพียงพอ จึงไม่เห็นความจำเป็นในการต้องติดตั้งอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในการศึกษาทั่วไป
8. ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารซึ่งไม่เข้าใจเทคโนโลยี
 
ความแตกต่างระหว่างการฝึกอบรมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ฝึกอบรม ไม่ว่าจะในรูปของแผ่นดิสก์ หรือซีดีรอมเพื่อการฝึกอบรม จะยังเป็นสื่อสำหรับการฝึกอบรมต่อไป ตราบใดที่ระบบอินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย และยังขาดผู้รู้หรือเข้าใจในกระบวนการออกแบบระบบเพื่อการฝึกอบรม และไม่ใช่ว่าเว็บฝึกอบรมจะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าเสมอไป เพียงแต่เราจะต้องรู้ว่าในสภาพหรือสถานการณ์ใดเราควรจะใช้สื่อชนิดไหน ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องใช้เว็บเพื่อการฝึกอบรม ถ้าองค์กรหรือหน่วยงานยังไม่มีความพร้อมในด้านของระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมก็ยังคงใช้ได้ดีอยู่เช่นเดียวกัน

บทสรุป

การฝึกอบรมโดยใช้เว็บอบรมแม้จะไม่ใช่สิ่งใหม่ในต่างประเทศ แต่ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ยังมีให้เห็นน้อยในบ้านเมืองเราหรืออาจยังมาไม่ถึงหรืออาจไม่เกิดขึ้นในอนาคต ถ้าหน่วยงานหรือองค์กรไม่ได้ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตในหน่วยงาน หรือถึงแม้จะมีการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตในหน่วยงานแล้วก็ตามทีแต่ยังขาดนักการศึกษาหรือผู้บริหารขาดความเข้าใจ ไม่มีวิสัยทัศน์ในการมองการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา เว็บฝึกอบรมก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ คงไม่มีใครตำหนิถ้าไม่ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตในหน่วยงาน แต่มีการพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีการฝึกอบรมแบบอื่น ๆ แต่จะน่าเสียดายถ้าหน่วยงานใดติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต แต่ไม่มีเว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน เพราะนั่นคือการสูญเสียโอกาสในการเป็นผู้นำในยุคข้อมูลข่าวสารที่คุณภาพและประสิทธิภาพของคนคือหัวใจของหน่วยงาน

ปรัชญนันท์ นิลสุข
อาจารย์ 1 ระดับ 5 วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม
e-mail : mailto:prachyanun@thaimail.com
URL : http://www.geocities.com/collegepark/field/8210%20

บรรณานุกรม

ครรชิต มาลัยวงศ์. แนวทางไอทีไทย. สาร NECTEC ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ. 5(20), มกราคม-กุมภาพันธ์ 2541 : 11-17.

คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ, ศูนย์. ชวนกันไปโรงเรียนทางอินเทอร์เน็ต. ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 2539.

ถนอมพร ตันพิพัฒน์. อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์. 25(1), กรกฏาคม-กันยายน 2539 : 1-11.

ปัทมาพร เย็นบำรุง. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาทางไกล. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 11(2), พฤษภาคม-สิงหาคม 2541 : 65-73.

พลสัณฑ์ โพธิ์ศรีทอง. การพัฒนาครูประจำการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานและมุ่งผลให้เกิดต่อการเรียนรู้ ของผู้เรียนโดยตรง. วารสารข้าราชการครู. 18(5), มิถุนายน-กรกฏาคม 2541 : 11-14.

ไพรัช ธัชยพงษ์. อุดมศึกษาผ่านสื่อทางไกล : โอกาสทางการศึกษา คุณภาพ ความคุ้มทุน และความ เป็นไปได้. Information Research. 1(9), มกราคม-กุมภาพันธ์ 2540 : 1-50.

Chute, A.G., Sayers, P.K. and Gardner, R.P. Networked Learning Environment. In Teachning and Learning at a Distance : What It Takes to Effectively Design, Deliver, and Evaluate Programs. T.E. Cyrs (Ed). San Francisco : Jossey-Bass Publishers, 1997.

Clark, G. Glossary of CBT/WBT Terms, 1996. [on-line] Available: http://www.clark.net/pub/nractive/alts.html, page1 and 2

Driscoll, M. Defining Internet-Based and Web-Based Training. Performance Improvement. 36(4), April 1997 : 5-9.

Pollack, C. and Masters, R. Using Internet Technologies to Enhance Training. Performance Improvement. 36(2), February 1997 : 28-31.



หน้าที่ :: 59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved