Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
13997831  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

สันติชน

ตั้งกระทู้เมื่อ
05 พ.ย. 2556
  ภูผาเขยื้อนหลายเหลี่ยม

 



สันติชน

ตอบกระทู้เมื่อ
05 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 1

 



สันติชน

ตอบกระทู้เมื่อ
05 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 2
จุฬาลงกรณ์ จัดกิจกรรมแสดงพลังต้านนิรโทษ ที่ลานหน้าสนามหญ้าหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ 2 รัชกาล โดยมีทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน รวมถึงคณาจารย์ ร่วมหมื่นคน จากนั้นทุกคณะร่วมเดินขบวนไป หอศิลป์ กทม.เพื่อแสดงจุดยืนและอ่านแถลงการณ์ไม่รับร่าง พรบ.นิรโทษกรรม
สำหรับขบวนของจุฬาฯ จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ซึ่งเคลื่อนขบวนพร้อมกัน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มนิสิตปัจจุบันจะเดินออกจากมหาวิทยาลัยมุ่งไปทางสี่แยกปทุมวันแล้วเลี้ยวขวาเข้าสยามสแควร์ เพื่อแจกเอกสารแถลงการณ์รณรงค์ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มนิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าที่มีความรู้ภาษาอังกฤษจะเดินแจกเอกสารแถลงการณ์และประชาสัมพันธ์กิจกรรมเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่บริเวณห้างสรรพสินค้ามาบุญครองได้รับทราบ และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มนิสิตเก่าสูงวัยจะค่อยๆ เดินมุ่งตรงไปยังเวทีด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยทั้งหมดจะเริ่มเดินจากมหาวิทยาลัยผ่านบริเวณด้านหน้าประตูใหญ่ ฝั่งถนนพญาไท ไปจนถึงสี่แยกปทุมวัน และสิ้นสุดขบวนที่เวทีด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในเวลา 18.00 น.เพื่อร่วมร้องเพลงชาติไทยและเพลงมหาจุฬาลงกรณ์


สันติชน

ตอบกระทู้เมื่อ
05 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 3



บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
05 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 4

พิพากษากลุ่มตุลาการผู้รักแผ่นดิน ประกอบด้วย
      
       1. นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
       2. นายสมชาติ ธัญญาวินิชกุล ผู้พิพากษาศาลฎีกา
       3. นายพิชัย เพ็งผ่อง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
       4. นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิช ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ภาค 1
       5. นายมานิตย์ สุขอนันต์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 2
       6. นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
       7. นางวราภรณ์ สุระพัฒน์พิชัย ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
       8. นายอุเทน วิภาณุรัตน์ รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7
       9. นางอรพันท์ เพ็ญตระการ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
       10. นางสาวมาลี เตชะจันตะ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6
       11. นายสมนึก เมืองคำสกุล ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4
       12. นางสกุลรัตน์ อยู่เปนสุข ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6
       13. น.ส.สุณิสา สมประสงค์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
       14. นายเจริญวิทย์ เกื้อทิพย์ ผู้ช่วยพิพากษาศาลฎีกา
       15. นางอภิญญา จันทรเศรษฐ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6
       16. น.ส.ศิณีนาถ เกียรติกังวาฬไกล ผู้ช่วยพิพากษาศาลฎีกา
       17. นางสาวจรีรัตน์ โรจนาจิณ ผู้ช่วยพิพากษาศาลฎีกา
       18. นายเกียรติคุณ แม้นเลขา ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
       19. นางเศรณี ศิริมังคละ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2
       20. นายธนิต รัตนะผล ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
       21. นายภีม ธงสันติ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพระโขนง
       22. นางรัชดาพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
       23. นายวิรัตน์ เกษมทรัพย์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
       24. นายโกสินทร์ ฤทธิรงค์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
       25. นายชาติชาย เหลืองอ่อน ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
       26. น.ส.นิสากร บุญศิริ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
       27. นายสมพร ศรีกฤษณ์ ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี
       28. นายพรเทพ สุทิน ผู้พิพากษาศาลจังหวัดภูเก็ต
       29. นายสรพงค์ ไกรสุวรรณ์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดระยอง
       30. นายสมพร ฮี้เกษม ผู้พิพากษารองหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร
       31. นายวินัย ศักดาไกร ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชลบุรี
       32. นายบุญลอง นรจิตต์ ผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี
       33. นางจันทร์กระพ้อ ต่อสุวรรณ สินธวถาวร ผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี
       34. น.ส.รังสิมา ลัธธนันท์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดระยอง
       35. น.ส.ศรัญวรรณ โชตินิมิตรคุณ ผู้พิพากษาศาลอาญา
       36. นายสรวิทย์ จันทโสภณพร ผู้พิพากษาศาลแขวงสมุทรปราการ
       37. นางสาวนฤภร จันทรักษ์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดนนทบุรี
       38. นายรพี แพ่งสภา ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
       39. นายไพศาล ไพบูลย์วัฒนกิจ ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
       40. นายอวิรุทธ์ ชาญชัยกิตติกร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงสมุทรปราการ
       41. นายเสกสันติ์ เทพหนู ผู้พิพากษาศาลจังหวัดภูเก็ต
       42. นางพินสิริ นามสีฐาน. เพ็งงาน ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอุดรธานี.
       43. น.ส.อังคณา หรูวรนันท์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดนครสวรรค์
       44. นายชัยรัตน์ ชุมพล ผู้พิพากษารองหัวหน้าศาลจังหวัดระยอง
       45. นายเอนก ศรีมุกข์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดภูเก็ต
       46. นายคนองเดช สวัสดิ์วงศ์วิชา ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชัยนาท
       47. นางวราทิพย์ จตุวรพัฒน์ ผู้พิพากษาศาลศาลจังหวัดชัยนาท
       48. นางสุชาดา ยิ่งสกุล ผู้พิพากษาศาลแขวงธนบุรี
       49. นางปัทมาพร นาคเรืองศรี ผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี
       50. นางราณี เหล่าพัฒนา ผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี
       51. นางนันทวัน เจริญศักดิ์ เกษมสมพร ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชลบุรี
       52. นางชนัญชิตา ณ ระนอง ผู้พิพากษาศาลแขวงพระนครเหนือ
       53. นายดำรงค์ศักดิ์ ใจฐิติวิทย์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดนครสวรรค์
       54. นางจรัสวรรณ ใจฐิติวิทย์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดนครสวรรค์
       55. นายอายุกร บุญอากาศ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพัทยา
       56. นายเชิดพันธุ์ วิลาวรรณ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
       57. นางปิยนันท์ พันธ์ชนะวานิช ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
       58. นายพรศักดิ์ เชาวลิต ผู้พิพากษาศาลจังหวัดราชบุรี
       59. นางมะลิวรรณ วิภาดาพรพงษ์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุพรรณบุรี
       60. นายไกรพิชญ์ ปิยสิรานนท์ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยอง
       61. นายดุลประภัสสร์ มุลพรม ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบูรณ์
       62. นายรัฐพล โลนา ผู้พิพากษาศาลแพ่งธนบุรี
       63. นางสุวรรณา นาคะรัศมี ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ในนามกลุ่มตุลาการผู้รักแผ่นดิน ออกแถลงการณ์ คัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ชี้ปล่อยผีคดีทุจริตประพฤติมิชอบ ส่อเป็นบรรทัดฐานผิดของสังคมไทยในอนาคต จี้ผู้เกี่ยวข้องใช้ดุลพินิจทบทวน-ยับยั้งโดยเร็วที่สุด  การที่กลุ่มผู้พิพากษาฯออกมาแสดงความคิดเห็นข้างต้น ก็เพราะรู้สึกเป็นห่วงเป็นใยต่อสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนี้ โดยมิได้มีนัยทางการเมืองแต่ประการใด



ธงรบ

ตอบกระทู้เมื่อ
05 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 5
กลุ่มศิลปินเพื่อประชาธิปไตย ประกอบด้วย
      
       1.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ
       2.อาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ
       3.ประยอม ซองทอง ศิลปินแห่งชาติ
       4.กฤษณา อโศกสิน ศิลปินแห่งชาติ
       5.ประเทือง เอมเจริญ ศิลปินแห่งชาติ
       6.อัศศิริ ธรรมโชติ ศิลปินแห่งชาติ
       7.ประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติ
       8.สถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติ
       9.สุเทพ วงศ์กำแหง ศิลปินแห่งชาติ
       10.สุรชัย จันทิมาธร ศิลปินแห่งชาติ
       11.อ.ทวี รัชนีกร ศิลปินแห่งชาติ
       12.ทองแถม นาถจำนง นายกสมาคมนักกลอน
       13.ชมัยภร แสงกระจ่าง
       14.เจน สงสมพันธุ์
       15.ไพฑูรย์ ธัญญา (ซีไรต์)
       16.ศิลา โคมฉาย (ซีไรต์)
       17.ไพวรินทร์ ขาวงาม (ซีไรต์)
       18.ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ (ซีไรต์)
       19.วัชระ สัจจะสารสิน (ซีไรต์)
       20.มนตรี ศรียงค์ (ซีไรต์)
       21.อังคาร จันทราทิพย์ (ซีไรต์)
       22.เรวัตร พันธุ์พิพัฒน์ (ซีไรต์)
       23.นายจเด็จ กำจรเดช (ซีไรต์)
       24.วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย
       25.สังคม ทองมี
       26.สุนทรี เวชานนท์
       27.วสันต์ สิทธิเขต
       28.จุมพล อภิสุข
       29.พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
       30.มงคล อุทก
       31.คฑาวุธ ทองไทย (อ.ไข่ มาลีฮวนน่า)
       32.บิลลี่ โอแกน
       33.สินจัย เปล่งพาณิชย์
       34.ฉัตรชัย เปล่งพาณิชย์
       35.โกสินทร์ ขาวงาม
       36.จันทนา ฟองทะเล
       37.บัญชา อ่อนดี
       38.ไชยา วรรณศรี
       39.พินิจ นิลรัตน์
       40.ป่อง ต้นกล้า
       41.อ.สมภพ บุตราช
       42.อ.ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ
       43.เมืองไทย บุษมาโร
       44.ปริทรรศ หุตางกูล
       45.สุรพล ปัญญาวัชระ
       46.จุลจิต เสน่ห์งามเจริญ
       47.สมเกียรติ เรืองอุไร
       48.พิภพ พรแสงศิลป์
       49.ชูเกียรติ ฉาไธสง
       50.จามิกร แสงศิริ
       51.นิด กรรมาชน
       52.สุกัญญา มิเกล
       53.บุษกร พิชยาทิตย์
       54.แน่งน้อย ปัญจพรรค์
       55.นิรัติศรัย หล่ออรุโณทัย
       56.ตี๋-ชิงชัย
       57.บูรพา อารัมภีร
       58.ดร.ญาดา อารัมภีร
       59.นรีภพ สวัสดิรักษ์
       60.จรัญ หอมเทียนทอง
       61.ดร.พิเชฐ แสงทอง
       62.เสน่ห์ วงษ์กำแหง
       63.รัตนธาดา แก้วพรหม
       64.จตุพล บุญพรัด
       65.ขจรฤทธิ์ รักษา
       66.เรืองกิตติ์ รักกาญจันท์
       67.บัญชา คามิน
       68.สีเผือก คนด่านเกวียน
       69.ศิริวร แก้วกาญจน์
       70.พยัต ภูวิชัย
       71.เดช อัศดง
       72.ธนภูมิ การช่าง
       73.วงกากบาท
       74.จ๊อบ บรรจบ
       75.หล่อ ภูบรรทัด
       76.สัจจา ไพรีรัตน์
       77.หนึ่ง คนจร
       78.วงแฮมเมอร์
       79.วงฆารวาส
       80.ซอคำศรี
       81.กุลยา กาศสกุล
       82.ธนะชัย วังหนอง
       83.เจดา พลฤทธิ์
       84.ทิวา สิงหะ
       85.วิรัติ คงถาวร
       86.ทเวท ตาติยธรรม
       87.กิติพัฒน์ เอกอนันต์สิรี
       88.นิศานาถ แก้วรักษ์
       89.เกรียงศักดิ์ เกรียงวิรวงศ์
       90.ธีระพงษ์ พิทักษ์ศฤงคาร ,
       90.เมืองไทย พิทักษ์ศฤงคาร ,
       92.ธีร์ พิทักษ์ศฤงคาร
       93.จุไรรัตน์ กุลพาณิชย์ ,
       94.ปีกุน ปิ่นมนัส กุลพาณิชย์
       95.อำนาจ ทิพยจันทร์
       96.วันชัย สมพงพัด
       97.สุพจน์ อภัยสุวรรณ
       98.สมาน แสงทอน
       99.บุญเกษม โค้วศานติ
       100.อดุล จันตะนี
       101.ชูติภาพ ธนพรรณลภย์.
       102.อนันต์ ประภาโส
       103.พุฒิกร ยมกกุล
       104.สิริศักดิ์ อินทิราช
       105.สมิทธิ์ บัณฑิตย์
       106.ปฐมโชค อัตโถปกร
       107.พรรษา สุนาวี
       108.Eng-on Homsuwan
       109.Tippi Bhiraleus
       110.Kittipong Panmuang
       111.Nueng Sorradach
       112.Chanchai Chi
       113.Sriwan Jane
       114.ครุศักดิ์ สุขช่วย
       115.อภิชาติ จันทร์แดง
       116.จรรยา อำนาจพันธุ์พงศ์
       117.ถนอม ขุนเพ็ชร
       118.มานพ แก้วสนิท
       119.เพ็ญณภัท ธรรมโชติ
       120.ดร.มาโนช ดินลานสกุล (มาโนช นิสรา)
       121.ปรเมศวร์ กาแก้ว
       122.นิตยา พูนเพิ่ม
       123.อาหมัด หวังเหมรา
       124.สุเมธ สอดจิต
       125.มนตรี ชูชื่น
       126.มนตรา ชูชื่น
       127.แสง ธรรมดา
       128.วิรัตน์ พงศ์อักษร (หนุ่ย หยาดน้ำค้าง)
       129.ชยุติ ทองมี
       130.ทวนชัย พิริยะอุดมพร (ติ๊ก ไทลากูน)
       1314.ดุสิต ศิริรักษ์
       132.ประยูร วิเศษณ์ (ทันรบ บาโรย)
       133.จำรัส มังคะเล
       134.ต้น ใต้สวรรค์
       135.ธงศักดิ์ หงส์แพง
       136.วิเชษฐ์ จันทร์คงหอม
       137.สุบินทร์ เมืองจันทร์
       138.นิวรณ์ ชัยสวัสดิ์
       139.แวอารง แวโนะ
       140.ชาญณรงค์ เปียทนงค์
       141สมาน แจ๊ะแต (โนราสมาน สืบสานศิลป์)
       142ประเสริฐ รักษ์วง
      
 แถลงการณ์ ซัด รบ.ฉวยโอกาสรวบรัดนิรโทษมุ่งช่วยหัวโจกตนเอง จวกขยายเงื่อนเวลา เอื้อประโยชน์ส่วนตน ทับซ้อนผลประโยชน์ชาติ และกระบวนการคอร์รัปชั่น ลั่นค้านถึงที่สุด


kanokrat

ตอบกระทู้เมื่อ
05 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 6
 
ที่หน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี   กลุ่มเสรีชน และประชาชนกว่า 5,000 คนต่างเดินทางมาร่วมกันลงชื่อและร่วมใจกันคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับมหาโจรกันอย่างเนืองแน่น


na_na

ตอบกระทู้เมื่อ
05 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 7
 
นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช และอีกหลายสถาบันได้มารวมตัวกันหลายร้อยคน เพื่อคัดค้านการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พร้อมออกเดินรณรงค์ให้ชาวนครศรีธรรมราช ออกมาร่วมกันคัดค้าน พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ถึงที่สุด หลังจากที่มีการรวมกันได้มีการเริ่มปราศรัย และได้เคลื่อนขบวนไปตามถนนราชดำเนิน เพื่อรณรงค์ให้ชาวนครศรีธรรมราช ออกมาร่วมกันคัดค้าน พ.ร.บ.ฉบับนี้จากนั้นได้ไปรวมตัวกับภาคประชาชนที่แสดงออกถึงการคัดค้านอยู่ในสนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช


na_na

ตอบกระทู้เมื่อ
05 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 8
 
 
ประชาชนชาวชุมพรจากทั่วสารทิศกว่าร่วมชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม รวมทั้งเรียกร้องให้วุฒิสภายับยั้งร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวทันที พร้อมขีดเส้นตายหากรัฐบาลยังเดินหน้า จะเดินทางไปสมทบกับผู้ชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ ทันที

 



nanfahthai

ตอบกระทู้เมื่อ
05 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 9
อุดรธานี
 
กลุ่มพลังมวลชนในเขตเมืองอุดรธานี ทยอยเดินทางมารวมตัวกันที่สนามทุ่งศรีเมือง ทั้งด้านลานอเนกประสงค์ทิศตะวันตก ซึ่งเป็นหน้ากากขาวเดิม และลานหน้าศาลาพิธีทุ่งศรีเมือง เป็นกลุ่มข้าราชการ แพทย์ พยาบาล ทนายความ ครู พ่อค้าประชาชน นักเรียน นักศึกษา เพื่อต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ด้วยการนำธงชาติไทย และนกหวีดมาแจกจ่าย ถือป้ายเขียนแสดงจุดยืน ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ และโจมตีรัฐบาล พร้อมกับเป่านกหวีดตลอดเวลา โดยกลุ่มด้านศาลาพิธีทุ่งศรีเมือง เดินเท้ามารวมกันที่ลานอเนกประสงค์มากกว่า 2,000 คนโดยกลุ่มผู้มาแสดงพลังคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ประกาศจะออกมารวมตัวที่สนามทุ่งศรีเมือง ทุกวันตั้งแต่ 16.00 น. เป็นต้นไป
 
 


สันติชน

ตอบกระทู้เมื่อ
05 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 10
“จะต่อสู้จนชัยชนะเป็นของประชาชนโดยเด็ดขาด แกนนำทุกคนจะยืนหยัดต่อสู้กับประชาชนจนกว่าจะได้รับชัยชนะที่สมบูรณ์เด็ดขาด ขอให้ประชาชนสามัคคีและมารวมพลังกับเราเพื่อชัยชนะที่เด็ดขาดของประชาชน เราจะต่อสู้ด้วยชีวิตกับสิ่งที่เราได้ปฏิญาณไว้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย” นายสุเทพ ที่เวทีราชดำเนิน


Tanaew

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 11
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
แถลงการณ์ของคณาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตามที่สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2556 โดยมีสาระสำคัญ ให้นิรโทษกรรมแก่ การกระทำของบุคคล กลุ่มบุคคล คณะบุคคล องค์กร และประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง และความขัดแย้งทางการเมือง ที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2547 - 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 โดยครอบคลุมทั้งผู้กระทำการหลักในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ และครอบคลุมทั้งการกระทำในทางการเมือง และการกระทำความผิดในลักษณะการทุจริต คอรัปชั่นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย

คณาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความเห็นดังนี้

1. ด้วยเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้ง และอาจทำให้เกิดวิกฤติศรัทธาต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสถาบันนิติบัญญัติในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาของประเทศไทย เนื่องจากมีการกล่าวอ้างถึง ระบบเสียงข้างมากในกระบวนการนิติบัญญัติในสภาผู้แทนราษฎร โดยละเลยที่จะให้ความสำคัญกับ หลักนิติธรรม และเจตนารมณ์ของกฏหมายที่ต้องเป็นไปเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่สังคมอย่างแท้จริง โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

2. แม้ว่าเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะกล่าวถึงการนิรโทษกรรมแก่ประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง เพื่อพิทักษ์สิทธิมนุษยชน และสิทธิของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ที่ดี แต่ด้วยเนื้อหาที่ครอบคลุมไปถึงผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายที่อยู่ในข่ายของการเป็นผู้ที่ควรต้องรับผิดชอบในผลของการสั่งการหรือผลของการกระทำที่เกิดขึ้น จึงอาจเป็นบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องที่ถูกนำไปอ้างอิงเพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ต้องการทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองต่อไปในอนาคต เนื่องจากแม้เป็นผู้สั่งการ หรือกระทำการให้เกิดความรุนแรงทางการเมือง แต่ก็คาดการณ์ได้ว่าจะไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ ต่อการกระทำดังกล่าว โดยอ้างบรรทัดฐานจากกรณีกฏหมายนิรโทษกรรมฉบับนี้ การณ์ดังนี้จึงกระทบต่อหลักนิติธรรม และจริยธรรมในการออกกฏหมาย

3. ขอเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้โปรดทบทวนถึงความชอบด้วยเหตุผลและถูกต้องตามหลักนิติธรรมของการออกกฏหมายที่มีลักษณะละเอียดอ่อน ส่งผลกระทบต่อสังคมในระดับกว้างขวางเช่นนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลกระทบต่อบรรทัดฐานทางกฏหมายที่ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ความสงบเรียบร้อยของสังคม ไม่เลือกปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นการเฉพาะ แม้ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา จะให้อำนาจสถาบันรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการออกกฏหมายโดยใช้หลักเสียงข้างมากในรัฐสภา หากทว่า ระบอบประชาธิปไตยก็ต้องการให้เสียงข้างมากที่เป็นตัวแทนของประชาชนไม่ละเลยเสียงข้างน้อยที่มีเหตุผล และประการสำคัญที่สุดต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์และความต้องการของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเป็นสำคัญ

4. ในส่วนของอำนาจบริหาร คือรัฐบาล ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฏหมาย ควรที่จะทบทวนถึงความเหมาะสม ถูกต้อง ชอบธรรมของร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมดังกล่าวให้ถ่องแท้ และใช้บทบาทของอำนาจบริหารในการตรวจสอบและถ่วงดุลกับอำนาจนิติบัญญัติ ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อหยุดยั้งความขัดแย้ง และวิกฤติศรัทธาของสังคมอันจะเกิดจากการบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้ ซึ่งย่อมกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลด้วย

5. บทบาทของวุฒิสภา ซึ่งมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบ กลั่นกรองกฏหมายเพื่อความรอบคอบและให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติ ได้โปรดทบทวนถึงความถูกต้องตามหลักนิติธรรมของร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และใช้อำนาจที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การทบทวนแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง

6. ศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเพื่อใช้อำนาจในการตีความร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ว่าขัดแย้งกับการใช้อำนาจนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

7. การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างกว้างขวาง บนพื้นฐานของการแสดงเหตุผล และเป็นไปอย่างสันติวิธี เพื่อเรียกร้องให้สถาบันรัฐสภา ทบทวนตรวจสอบการใช้อำนาจในฐานะผู้แทนของประชาชน ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง

8. พระราชบัญญัติกฏหมายนิรโทษกรรมเป็นกฏหมายที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม และจะเป็นบรรทัดฐานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยต่อไป จึงควรเป็นกฏหมายที่ให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมีส่วนร่วม

ในกระบวนการนิติบัญญัติด้วยตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง ก่อนที่จะนำเข้าสู่กระบวนการทางรัฐสภา และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจสุดท้ายโดยการออกเสียงลงประชามติ

คณาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4 พฤศจิกายน 2556

 



k.Taew

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 12
กลุ่ม "นักศึกษา มช. คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" ค้านเหมาเข่ง เพราะผู้สั่งสลายชุมนุม-จนท.รัฐ-นักการเมืองคดีทุจริตได้ประโยชน์ และก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เรียกร้องวุฒิสภาใช้อำนาจยับยั้ง แนะให้ยึดฉบับวรชัย เหมะ และเสนอนิรโทษกรรมผู้ถูกฟ้อง ม.112 ด้วย
 
 
 


kobkaew

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 13

องค์กรพัฒนาเอกชน โดย กป.อพช.ส่งจดหมายถึงสมาชิกวุฒิสภาเรียกร้องให้ระงับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยระบุเหตุผลว่า

1. การนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ทำลายสิทธิในชีวิตและร่างกาย ซึ่งเป็นสิทธิสูงสุดของมนุษย์ที่มิอาจล่วงละเมิดได้นั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้

2. การนิรโทษกรรมให้กับบุคคลที่กระทำการทุจริตต่อชาติบ้านเมือง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ตลอดจนคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล เป็นการสร้างบรรทัดฐานว่า คนโกงไม่ต้องรับผิด ซึ่งจะเป็นการทำลายหลักศีลธรรมและจริยธรรมของสังคม ทั้งยังส่งผลให้การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงในทางปฏิบัติ

3. การพิจารณาผ่านร่างกฎหมายทำอย่างรวบรัด ไม่เคารพความเห็นที่แตกต่าง และเพิกเฉยต่อกระแสคัดค้านจากประชาชน


เจ_เจ

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 14
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหาแกนนำกลุ่ม 40 ส.ว.แถลงว่า ขณะนี้ได้รวบรวมรายชื่อวุฒิสภาได้ประมาณ 100 คนที่แสดงการความต้องการคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในวันที่ 11 พ.ย.นี้ ประกอบด้วย ส.ว.สรรหาจำนวน 67 คน จาก 73 คน โดยที่เหลือ 6 คน แบ่งเป็น 3 คนบอกคิดดูก่อน อีก 3 คนยังติดต่อไม่ได้ ขณะที่ ส.ว.เลือกตั้งแสดงความไม่เห็นด้วย 36 คนจากทั้งหมด 76 คน โดยจำนวน 36 คนที่ไม่เห็นด้วยนั้นไม่ได้เป็นเพราะตนไปขอร้องแต่เป็นเพราะทำตามมติของชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว
      
       “อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนร่วมกันติดตามการลงมติในวาระที่ 1 อีกครั้งในวันที่ 11 พ.ย.นี้ ว่าจะมีการคว่ำร่างกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ เนื่องจากทราบว่าขณะนี้มีการล็อบบี้จากซีกรัฐบาลให้รับร่างกฎหมายดังกล่าวไว้พิจารณาก่อน ดังนั้นประชาชนอย่าหยุดเคลื่อนไหว มารอดูกันว่าการล็อบบี้จากรัฐบาลหรือเสียงของประชาชน ใครจะชนะ“ แกนนำ 40 ส.ว.ระบุ


UK

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 15

“เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง ไม่ควรจะใช้เสียงข้างมากออกกฎหมายเพื่อทำหลายหลักการของนิติรัฐ ส่งเสริมให้มีการกระทำผิดซ้ำซาก ให้มีการโกงคอรัปชั่นมากขึ้น ไม่ควรออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้ บุคคลหนึ่ง บุคคลใด”

เครือข่ายแพทย์ ออกแถลงการณ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พร้อมล่ารายชื่อบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ทันตแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ รวม 2,580 คน โดยในแถลงการณ์ระบุข้อเรียกร้องให้มีการค้นหาความจริง ผู้ที่กระทำผิดควรยอมรับผิดแล้วผ่านกระบวนการนิรโทษกรรม โดยเรียกร้องให้รักษาระบบนิติรัฐ และไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีคอร์รัปชั่น และคดีอาญา

 



k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 16
วันนี้ไม่สำคัญอีกต่อไปว่าม็อบต้าน พ.ร.บ.นิรโทษจะจัดโดยใคร จะมีม็อบไหนบ้าง และใครจะมีจุดมุ่งหมายอย่างไรและพยายามจะผลักดันม็อบไปในทิศทางใด เพราะเมื่อมวลชนตื่นรู้และพร้อมจะต้านจนสุดซอยแล้ว ผู้จัดม็อบย่อมไม่เหลือทางเลือกใดนอกจากเดินตามหัวใจของประชาชน การเกิดขึ้นของม็อบอุรุพงษ์คือตัวอย่างแรกที่มวลชนเป็นคนนำม็อบหาใช่แกนนำเป็นผู้ตัดสินใจ
 - จิตตนาถ ลิ้มทองกุล
 


Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 17
ใช่แล้ว วันนี้เราได้เตรียมคำตอบไว้ล่วงหน้าแล้วหรือยังว่าจะเอายังไง
ถ้าเราเจอกับดักการยุบสภาหนีปัญหาของรัฐบาลที่หมดความชอบธรรม
คิด คิด คิด เราจะให้มีการยุบสภาหนี  ยอมให้มีการเลือกตั้ง
ยอมให้ปัญหาเดิมๆ มันกลับมาไม่จบสิ้นหรือ?  
ยอมให้มีการประท้วงกันใหม่อีกหรือ?  
ถอนวัชพืชต้องถอนรากถอนโคน
หรือจะปล่อยไว้ให้แตกหน่อเลี้ยงวัวควาย
แล้วก็ลุกลามปรามไม่ไหวแม้แต่วัวควายก็ยังเมิน
   
     


KTC

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 18
'ถ้ากฎหมายนิรโทษกรรมไม่ผ่านในชั้นวุฒิสภา แล้วพรรคประชาธิปัตย์ยังเดินหน้าชุมนุมต่อ ก็แสดงให้เห็นว่าเป้าหมายจริงๆ ไม่ใช่ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ แต่อยู่ที่การล้มรัฐบาล '
นายอุดมเดช รัตนเสถียร *ที่ปรึกษาวิปรัฐบาล


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 19
 
การลุกฮือขึ้นต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในเวลานี้เท่ากับเป็นการส่งสัญญากลายๆ ว่าประชาชนหมดความอดทนกับระบอบทักษิณและเป็นการส่งสารถึงครอบครัวตระกูลชินวัตรว่าพวกคุณไม่เป็นที่ต้อนรับในแวดวงสังคมอีกต่อไป ใช่หรือไม่?


KETH

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 20

นายกฯยิ่งลักษณ์ แถลงโดยถ่ายทอดสดผ่าน สทท.11 ว่า เจตนารมณ์ของรัฐบาลต้องการเห็นความปรองดอง ได้สร้างเวทีเพื่อการปฏิรูปจากทุกฝ่าย เพื่อเป็นกลไกในการสร้างความปรองดอง และเมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้ยื่นกฎหมาย รัฐบาลก็ไม่ได้ก้าวก่ายเลย จนโดนกล่าวหาว่าไม่ให้ความสำคัญต่อรัฐสภา ส่วนกรณีที่สภาฯ ผ่านร่างนิรโทษกรรม ในหลายๆ ประเทศก็มีการนิรโทษกรรม เป็นทางออกหนึ่งที่ต้องพิจารณา ถ้าให้อภัยกันความขัดแย้งจะลด การนิรโทษกรรม ไม่ได้หมายความว่าจะลืมบทเรียน แต่ต้องเรียนรู้และเข้าใจ ไม่ให้เกิดเหตุการณ์อีก และต้องเดินหน้าต่อได้ หากให้บ้านเมืองสงบการให้อภัยต้องปราศจากอคติ นายกฯยิ่งลักษณ์ กล่าวว่าเข้าใจว่าหลายๆ อย่างทำได้ยาก แต่ต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ร่างนิรโทษดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของ รธน. มีความเห็นขัดแย้งอย่างหนักของคนในชาติ แต่เมื่อ สภาฯ ผ่านแล้ว ก็พบว่ามีคนไทยที่ยังไม่พร้อมจะให้อภัย ทั้งจะมีท่าทีบ่อเกิดความขัดแย้ง นายกฯย้ำไม่อยากเห็น พ.ร.บ.นิรโทษ ถูกใช้เป็นการเมือง เพื่อล้มล้างรัฐบาล ถูกบิดเบือนว่าเป็นกฎหมายการเมือง ซึ่งถ้าเป็นร่างการเมือง นายกฯยิ่งลักษณ์ ต้องลงนาม และไม่ใช่กฎหมายล้างผิดคนทุจริต เพราะ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ยกโทษให้ผู้ได้รับผลพวงการรัฐประหาร และผู้ถูกกล่าวหากระทำต่อร่างกายและทรัพย์สิน รัฐจะไม่ใช้เสียงข้างมาก เป้าหมายคือปรองดอง ภายใต้ ปชต.ที่มีส่วนร่วม ด้วยเหตุผล ทั้งนี้ หวังทุกฝ่ายยุติความขัดแย้ง ร่าง กม.ยังอยู่ในขั้นตอนวุฒิสภา นายกฯยิ่งลักษณ์เสนอวุฒิสภาใช้ดุลยพินิจเต็มที่ โดยอาศัยมาตรฐานปรองดองแก่ผู้เดือดร้อนได้เสมอภาค ไม่ว่าจะตัดสินยังไงสภาฯ ก็จะยอมรับการตัดสินใจ เพื่อให้กระบวนการปรองดองต่อ

 



ครูทะเล

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 21
มันจบไปแล้ว บทตีหน้าเศร้าเล่าเรื่องเท็จน่ะ
 แถลงของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ นอกจากไม่มีอะไรใหม่แล้ว ยังไม่เป็นผลดีต่อสถานการณ์ เลย ถ้อยแถลงของนายกฯยืนยันว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นเครื่องมือสู่การปรองดอง ให้อภัยกัน ไม่ใช่การฟอกผิดคนโกงอย่างที่สังคมกำลังเข้าใจ ซึ่งกลายเป็นว่าคนที่ออกมาคัดค้านเป็นพวกที่ไม่รู้จักให้อภัยและไม่อยากปรองดอง วิธีคิดของนายกฯ และรัฐบาลยืนยันชัดเจนว่า ต้องการใช้อำนาจทุกทางฟอกผิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้ทางใดก็เอาทางหนึ่ง ก็ถามกันว่าเรายังจะไว้วางใจให้รัฐบาลถืออำนาจรัฐอยู่ต่อไปหรือไม่ ณ เวลานี้มีแต่พลังของภาคประชาชนเท่านั้นที่จะทำให้การปฏิรูปปรเะทศสำเร็จได้


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 22
ขวัญใจครูตะนอยมาแล้ว อาร์ตที่สุดเลย 
 
 
ที่มาข้อมูล: http://www.naewna.com/politic/76015
 
วันนี้ 6 พ.ย. 56 เมื่อเวลา 8.30 น. กลุ่มผู้บริหาร คณาจารย์ บุคคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้นัดรวมตัวกันที่หน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตท่าพระจันทร์ เพื่อแสดงพลังคัดค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย โดยกลุ่มนักศึกษาได้สร้างผลงานศิลปะแบบด้วยการใช้สีสเปรย์กระป๋อง พ่นรูปกราฟฟิตี้บนป้ายคัทเอาท์ แล้วนำมาตั้งข้างกำแพงรั้วมหาวิทยาลัย ระบุข้อความว่า "ศิลปากรคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" ต่อมาคณาจารย์และนักศึกษาได้อ่านคำแถลงการณ์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ และให้ร่วมลงชื่อเพื่อคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษฯ ในเวลาต่อมา
 


witjung

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 23
 
6 พ.ย.56 เมื่อเวลา 18.00 น.ที่ลานพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก โรงพยาบาลศิริราช คณะผู้บริหาร คณาจารย์ แพทย์ พยาบาล นักศึกษา และบุคลากร คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กว่า 2,000 คน ได้มารวมตัวกันเพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในความเห็นร่าง พ.ร.บ.นี้ มีเนื้อหาที่เป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ถูกต้องในสังคมไทย เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าการทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ใช่ความผิด และสามารถหลุดจากความผิดด้วยการนิรโทษกรรม ซึ่งขัดต่อหลักนิติรัฐ และหลักคุณธรรม จริยธรรมของประเทศ ชาวศิริราชซึ่งเป็นบุคลากรในสังกัด ม.มหิดล จึงขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว และขอเรียกร้องให้ ส.ว.ใช้ดุลยพินิจไม่รับร่าง พ.ร.บ.ตลอดจนขอเรียกร้องให้ ส.ส.ที่สนับสนุนร่างดังกล่าว ออกมาแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองที่ไม่เหมาะสม รศ.นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในวันนี้ เป็นการรวมตัวกันเองของบุคลากรภายในคณะแพทย์ศาสตร์ และคาดว่าจะมีบุคลากรจากคณะอื่นๆ ในวิทยาเขตเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นคณะเทคนิคการแพทย์ คณะกายภาพบำบัด และคณะพยาบาลศาสตร์ มาร่วมเคลื่อนไหวด้วย ทั้งนี้ ได้มีการตั้งโต๊ะให้ลงชื่อคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มาตั้งแต่เวลา 12.00 น.จนกระทั้งเวลา 18.00 น.มีผู้มาลงชื่อแล้วรวม 8,000 คน จากบุคลากรทั้งหมดของคณะแพทย์ศาสตร์ประมาณ 14,000 คน คาดว่าจะมีผู้มาร่วมลงชื่อถึงหมื่นคน จากนั้นทางคณะแพทย์ศาสตร์ จะนำรายชื่อดังกล่าวไปสมทบกับรายชื่อของ ม.มหิดล ต่อไป
 
ขอบคุณภาพและข้อมูล: http://www.naewna.com


Pimchanok

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 24
มหาวิทยาลัยรังสิตประกาศงดการเรียนการสอน เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนบนหลักการความถูกต้อง เป็นธรรม ยึดหลักฎหมายภายในนิติรัฐ มหาวิทยาลัยรังสิต ขอประกาศงดการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษาทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และเอก ในวันที่ 7 พ.ย. 56 เพื่อให้นักศึกษาเข้าร่วมชุมนุมแสดงพลังคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยได้โดยสมัครใจ


ธงรบ

ตอบกระทู้เมื่อ
06 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 25
 
แกนนำสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมแถลงข่าวคัดค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม


ลูกช้าง

ตอบกระทู้เมื่อ
08 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 26
"อยากให้บ้านเมืองสงบลงจากเก้าอี้นายกฯเถอะ?

คุณยิ่งลักษณ์เป็นคนรูปร่างสูงมาตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ มาถึงวันนี้ก็ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สูงส่ง คุณยิ่งลักษณ์คงประจักษ์กับตัวเองได้ดีที่สุดในยามนี้ว่า “ยิ่งสูงยิ่งหนาว”นั้นเป็นอย่างไร

ในวันนี้ที่ พรบ.นิรโทษกรรม ทำให้ทั่วทุกหย่อมหญ้าของประเทศไทยลุกเป็นไฟ ผู้คนออกมาต่อต้านเป็นจำนวนเรือนล้าน คุณยิ่งลักษณ์ในฐานะผู้นำประเทศคงลำบากใจไม่น้อย คงมีสักแว่บหนึ่งที่คุณคงนึกอยากกลับไปเป็นเด็กนักศึกษาที่ไม่ต้องมีภาระรับผิดชอบอะไร ในวันนั้นเราเพียงมุ่งหวังความสำเร็จและความสุขในชีวิตตามอัตภาพ มากกว่าที่จะต้องแบกภาระอันใหญ่หลวงของประเทศชาติ (หรือของพี่ชาย)ไว้บนบ่า

เสียงชื่นชมหรือสาปแช่ง ถ้าไม่หูหนวกตาบอด ก็ย่อมสดับตรับฟังได้ว่าเสียงนี้ดังขึ้นเรื่อยๆในหมู่ปัญญาชนไทยทั่วทุกสารทิศในเวลานี้ ในฐานะลูกช้าง มช.ด้วยกัน ขอส่งความปรารถนาดีต่อคุณยิ่งลักษณ์เป็นครั้งสุดท้ายว่า ถ้าคุณปรารถนาความสงบสุขในชีวิตเหมือนในอดีตเมื่อครั้งที่ยังศึกษาอยู่ในรั้วสีม่วงแห่งนี้และแม้แต่ก่อนจะก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรุณาปล่อยวางแล้วลงมาจากจุดที่ยืนอยู่เถิด คุณไม่ได้เกิดมาเพื่อยืนอยู่ตรงนี้

ถ้าคุณยิ่งลักษณ์ตัดสินใจถูกต้อง เราชาวลูกช้าง มช.ทั้งมวลจะยังเก็บความภาคภูมิใจไว้ว่าครั้งหนึ่งเราเคยมีศิษย์เก่าเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถ้าคุณตัดสินใจผิด ชื่อของคุณ ตระกูลของคุณจะเป็นความด่างพร้อยในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่จะจารึกไว้ให้รับรู้ไปจนชั่วลูกหลาน

ท้ายที่สุดนี้ คุณยิ่งลักษณ์ต้องเคยรู้มาบ้างว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันอันเป็นที่รักยิ่งของเรานั้นก่อตั้งขึ้นจากการเรียกร้องของคนเชียงใหม่ โดยเจตนารมณ์ของประชาชนที่เรียกร้องให้ตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น สั้น ง่าย แต่ทรงพลังว่า “เพื่อให้ลูกหลานของเราไม่กลายเป็นคนโง่”

ด้วยความหวังดีจากเพื่อนร่วมสถาบัน

ศิษย์เก่า มช.รหัส 34"

ขอบคุณ สำนักข่าวอิสรา



คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
13 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 27
ส่งต่อข้อความนายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊คเกี่ยวกับสถานการณ์การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน :
 
มีคนเขียนมาถึงผมเพื่อระบายความในใจของผู้ที่ต้องการใช้สิทธิชุมนุมประท้วงต่อไป
 
ผมขอเอามาแชร์ครับ
 
"ถ้าใครไม่รู้ว่า ประชาชนจะมาชุมนุมต่อ เพราะอะไร ขอสรุปให้ฟังเป็นข้อๆ นะคะ 1 รัฐบาล ไม่เคยขอโทษประชาชน ถ้าครั้งนี้เราเผลอ รัฐบาลก็จะพาประเทศไทย และคนไทย ไปติดอันดับโลก เรื่องการยกโทษให้คนทุจริต อันดับหนึ่งของโลก แทนอันดับ ส่งออกข้าว ที่ตกไปไม่เป็นท่า 2 สัตยาบรรณ ของพรรคร่วมรัฐบาล เกิดขึ้นที่ไหน ที่ทำการพรรคเพื่อไทย เป็นที่ทำการรัฐบาล ตั้งแต่เมื่อไหร่ ต้องตั้งโต๊ะกลางทำเนียบรัฐบาล เชิญทูตทุกประเทศ นักสิทธิมนุษยชน นักข่าวต่างประเทศ มีการถ่ายทอดสดทั่วประเทศ ลงสัตยาบรรณ ในหน้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ไม่ใช่ให้หนังสือพิมพ์ลงแบบขอไปที 3 ให้นายกรัฐมนตรี มาลงนามเอง ไม่ใช่หัวหน้าพรรคเพื่อไทย 4 ถ้าไม่เกี่ยวกับรัฐบาล ก็ให้ประธานรัฐสภา และ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ทั้งหมด มาลงสัตยาบรรณด้วย เพราะพวกมัน คือ พวกที่จะปลุกผี พ.ร.บ. ให้กลายเป็น พ.ร.ก. แล้วให้นายกฯ เซ็น 5 ต้องประกาศ แสดงความรับผิดชอบ รัฐบาลไม่เกี่ยวใช่ไหม ดี นายกฯ ไม่ต้องลาออก เพราะไม่เกี่ยวกับรัฐบาล แต่ต้องยุบสภา เพราะ พ.ร.บ. พิษ มาจากรัฐสภา 6 ถ้าจะล้มรัฐบาล มันผิดตรงไหน ชุมนุมเพื่อให้รัฐบาล ยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่ ยังอยู่ระบบประชาธิปไตย เหมือนเดิม มันไม่เห็นจะผิดตรงไหน ทำไม ต้องกลัว ที่จะพูดว่า จะกดดันรัฐบาลให้ยุบสภา เพื่อรับผิดชอบ เท่านี้ล่ะค่ะ ที่ต้องทำ มันน่าโมโห ที่ปล่อยให้ฝ่ายผิด พูดน้ำไหล ไฟดับ แทนที่จะปิดปาก มัน ด้วยความผิด ที่ค้ำคอ มันอยู่"
 
ผมขอเสริมว่า ส่วนตัวนั้นผมไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับทุกยุทธวิธีของแกนนำการชุมนุม ที่สำคัญคือผมมีความรู้สึกเช่นเดียวกันว่า ในกรณีนี้ควรมีผู้ต้องออกมารับผิดชอบต่อความผิด เรากำลังต่อสู้กับรัฐบาลและพรรคการเมืองที่ไม่เพียงหน้าด้าน แต่ยังพร้อมใช้กองกำลังที่เป็นพวกของตนออกมาข่มขู่ฝ่ายตรงข้ามและปกป้องพวกพ้องตนเอง โดยไม่สนใจความผิดความถูก จึงมีเหตุผลที่ต้องแสดงพลังของประชาชนให้อันธพาลเหล่านี้เห็นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการกล่าวหาว่าแกนนำจะยึดอำนาจโดยวิธีนอกระบบ คุณสุเทพก็พูดแล้วว่าจะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆอีก แกนนำก็ยืนยันว่าจะไม่ใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ ที่ผมเห็นชัดเจนก็คือ ๑๓ วันที่ผ่านมานี้ รัฐบาลฟังเราทุกคำ ในขณะที่ในสภาฯไม่แม้แต่เปิดโอกาสให้เราได้พูด และสาเหตุก็เพราะ ๑๓ วันที่ผ่านมานี้ ที่หนุนหลังเราอยู่ให้เขาเห็น คือพี่น้องประชาชน
 
เพราะอะไรประชาชนจึงต้องมาชุมนุมต่อ ?


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
15 พ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 28
 
 
อ่านแล้วเผยแพร่ต่อด้วยครับ



สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved