Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14349143  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

ครูพันธุ์แท้

ตั้งกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ก.ค.ศ.จ่อลงดาบขรก.ปฏิบัติงานไม่สมวิทยฐานะ

นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นระยะ ๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือ ความเชี่ยวชาญ ในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ตามมาตรา 55 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 หรือ การคงอยู่ในวิทยฐานะ เมื่อเร็ว ๆ นี้  ที่ประชุมได้พิจารณาร่างดังกล่าวตามที่ ก.ค.ศ.มอบหมาย แล้วเห็นว่าควรมีการประเมินการคงอยู่ในวิทยฐานะ ทุกๆ 3 ปี ซึ่งการประเมินจะต้องไม่เพิ่มภาระงาน และเป็นการประเมินในงานปกติ ทำตัวชี้วัดที่ชัดเจนสะท้อนถึงความรู้ความสามารถของวิทยฐานะนั้นๆ และเป็นการประเมินการปฏิบัติงานในอดีต 3 ปีที่ผ่านมา โดยกำหนดเกณฑ์การตัดสินว่า "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน" และแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ พอใช้ ดี ดีมาก และดีเด่น

เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินนั้น คณะกรรมการฯเห็นว่าผู้ที่จะต้องเข้ารับการประเมินมีหลายแสนคน ดังนั้นผู้ทำหน้าที่ประเมินควรเป็นผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในพื้นที่ของผู้รับการประเมิน และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษาต้องดูแลในส่วนนี้ด้วย

"ในกรณีไม่ผ่านมีลำดับตามกฎหมาย ว่า ถ้าไม่ผ่าน 1.ให้ไปพัฒนา ซึ่ง ก.ค.ศ. จะมีการสร้างหลักสูตรไว้ 2.ดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง หรือ งดจ่ายเงินวิทยฐานะ หรือเงินประจำตำแหน่ง และ 3. ถ้าพัฒนาแล้วไม่ผ่านอีกก็ต้องดำเนินการตามมาตรา 110 (6) คือการปฏิบัติราชการโดยไม่มีประสิทธิภาพให้ออกจากราชการ ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ.กำหนด ซึ่ง ก.ค.ศ.จะต้องไปกำหนดอีก 3 หลักเกณฑ์ ว่าจะพัฒนาอย่างไรมีเงื่อนไขอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นยาแรง"นางศิริพรกล่าวและว่า สำนักงาน ก.ค.ศ.จะเร่งปรับปรุงร่างดังกล่าวให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอ ก.ค.ศ.พิจารณา ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วน่าจะประกาศใช้ในปี 2558


KTC

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 1
มันน่าจะเป็นข่าวดี หลายคนคงดีใจ
มันก็เป็นเรื่องดีอ่ะนะการดำเนินงานทุกอย่างก็ต้องมีการประเมินผล
แต่ว่าแบบประเมินการปฏิบัติราชการโดยไม่มีประสิทธิภาพน่ะ ต้องลงอาคม
มีความเห็นว่าสมควรดำเนินการโดยด่วนก่อนที่ระบบจะเน่าจนควานไม่เจอเนื้อ
เห็นชอบว่าต้องเริ่มจากผู้บริหารไล่ลงมาตามลำดับ
ทำได้จริง งบประมาณแผ่นดินคงเหลือเฟือเลย


KETH

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 2
เห็นด้วยค่ะ แม้ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่และอาจละลายงบประมาณโดยใช่เหตุ
ถ้าคิดว่าเพื่อกระจายอำนาจลงสู่พื้นที่แต่สงสัยกระจายรายได้มากกว่า
ตราบใดระบบอุปถัมภ์ยังอยู่ในสังคมไทย คนมีพวกพ้องจะเจริญดี
คนไม่มีเพื่อนก็เหมือนนกไร้ปีก เผลอๆล้ำแบ็คก็กลบเลยไม่ต้องเผาอีก
สังคมไทยจงเจริญ(ทรีไทม์)


nanfahthai

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 3
ดีค่ะดี เห็นด้วยที่สุดเลย ไหนๆก็ไหนๆ สมศ.ประเมินทุก 5 ปี กรรมการโครงการต่างๆ มีทุกปี ปีละหลายคณะ สพท.ก็ประเมินทุกปี ผู้บริหารประเมินทุกครึ่งปี
ให้มาประเมินพร้อมกันทีเดียวเลยจะได้ไม่เสียเวลาเตรียมเอกสารกันหลายครั้ง


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 4

                       
                                           

ประเมิน เมิน เมิน เมิน เมิน.......



K.Chang

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 5

ผมเห็นด้วยนะการประเมินการปฏิบัติงาน ทุก 3 ปีที่ผ่านมา เอกชนยังเคี่ยวเข้มผลงานของเขาจึงออกมาดี เพราะถ้าคุณไม่ดีจริงก็เตรียมหางานใหม่ การประเมินจะไม่เพิ่มภาระงานหากเป็นงานที่ปฏิบัติอยู่สม่ำเสมอ และการประเมินในงานปกตินั่นแหล่ะคือตัวชี้วัดที่ชัดเจนสะท้อนถึงความรู้ความสามารถของวิทยฐานะ การตัดสินว่า "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน" ที่แบ่งเป็น 4 ระดับ ถ้าเป็นอิงเกณฑ์ก็ผ่านหมดตามสไตล์สังคมอุปถัมภ์ ถ้าอิงกลุ่มอย่างน้อยทำให้ทุกคนต้องแข่งกับตัวเองเพื่อไม่อยู่แถวหลัง มันดีจริงๆนะ



Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 6

เงื้อง้ามานานแล้วทำให้เห็นเป็นจริงจังสักทีเถอะ คนทำงานจริงไม่เดือดร้อนหรอก แต่กลุ่มปลาตายในข้องน่ะคัดออกไปเสียที คนว่างงานพร้อมรอทำงานมีเยอะแยะ พยานดิดิจิตอล โซเชียลมีเดียต้องใช้ให้เป็นประโยชน์จริง ใครมีพฤติกรรมอ้าขาผวาปีกปกป้องคนผิดคือรับซื้อของโจร ล้างบางกันให้เห็นเป็นรูปธรรม นิ้วไหนร้ายจะเอาไว้ให้ลุกลามทำไม ตำแหน่งไหนไม่มีคนทำงานก็ตัดลดเสียบ้างแผ่นดินจะสูงขึ้น ว่าแต่ปฎิบัติได้จริงไหม?



kobkaew

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 7
หากทำได้จริง ยาแรงที่ว่าก็เป็นยาสารพัดนึกเลยแหล่ะ แต่ปัญหาใหญ่เลยนะ กลุ่มนี้ไม่เหมือนกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่จะตบเท้ากันออกง่ายๆเพราะพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เหมือนกัน หนี้เน่าจะยิ่งกว่าปลาตายในข้องอีก แล้วขอบอกว่าเงินที่สะพัดอยู่ตอนนี้น่ะขรก.กลุ่มไม่ผ่านซะ80% !!! องค์กรใหญ่ๆไม่รู้สึก องค์กรเล็กๆสั่นคลอนก็ประเมินกันมันทั้งปีจนคุณภาพการศึกษาเกิดผลอย่างที่เห็น เหนื่อยแทนคนคิดจริง ทำจริง


UK

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 8

เห็นด้วยมากในหลักการ อย่างที่รู้ๆกันงบประมาณด้านการศึกษามหาศาลแต่คุณภาพตกต่ำ ก็ซัดกันเป็นทอดๆมาอย่างนี้นานชั่วอายุคนหลายคน นักการศึกษาเก่งๆก็ล้มหายตายจากกันไปมากแล้ว บุคคลากรทางการศึกษาสำคัญต่อการสร้างชาติ แต่กลับปล่อยปละละเลยเหมือนกลัวความเจริญยังไงยังงั้น มองดูพฤติกรรมการปฎิบัติงานบางหน่วยงานแล้ว ยังคิดอยู่ว่าน่าจะได้ล้างข้องกันจริงจัง ปลาตายก็เอาไปหมักทำประโยชน์อย่างอื่นไม่อย่างนั้นเชื้อโรคลุกลาม ถึงวันนั้นปล่อยลงน้ำก็แพร่ระบาด มันเป็นภัยเงียบที่มองไม่เห็นแต่อันตรายที่สุดกระทบระบบอื่นๆเป็นลูกโซ่ เพราะการศึกษาเท่านั้นที่ทำให้คนเป็นคน การศึกษาล้มเหลวก็ลากระบบอื่นพังแบบโดมิโน จะทำอะไรก็รีบๆทำ แต่ต้องรัดกุมไม่ใช่สุกเอาเผากินพอให้ผ่านตามวาระ



witjung

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 9
มันสำคัญอยู่ตรงนี้
 
"ผู้ทำหน้าที่ประเมินควรเป็นผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในพื้นที่ของผู้รับการประเมิน และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษา"
 
จบข่าว


K.Pim

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 10
เอาง่ายๆ โครงการปลอดการไม่รู้หนังสือ รายงานกันมา เด็กอ่านออกเขียนได้ร้อยเปอร์เซนต์กับผลที่ตามมาเป็ยงัย ชัดมั้ย? มันเพราะอะไร คิด คิด คิด


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
05 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 11
 
รู้สึกแป้กๆยังไงอยู่ อ่านบทความน่าสนใจนี้ดีกว่าครับ


คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
05 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 12
ตาม K.Juy  ไปอ่าน
"ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้งานครูหนักมาก แล้วเรายังจะไปเพิ่มภาระให้พวกเขาอีกเพื่ออะไรกัน ไหนจะมีงานที่ไม่ใช่การสอนอีก เช่นงานธุรการ ประเมินวิชาชีพ เลื่อนวิทยฐานะ อาจารย์ในเครือข่ายที่ผมรู้จักไม่มีใครเลยที่ทำหน้าที่สอนหนังสือเพียงอย่างเดียว สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้อาจารย์ไม่มีสมาธิกับการสอนแล้ว มันยังเป็นการพรากอาจารย์ออกจากนักเรียน ผมเชื่อว่าคนที่เลือกมาเป็นครูเขาไม่ได้สนใจเรื่องเงิน แต่เพราะเขามีความสุขที่ได้อยู่กับเด็ก ระบบการทำงานที่ดึงให้ครูมาจมอยู่กับกองเอกสารแบบนี้จึงเป็นการทำลายเป้าหมายของวิชาชีพครูเลย"-อรรถพล


kanok

ตอบกระทู้เมื่อ
05 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 13

เขาก็จัดกรอบไว้แล้วว่า การประเมินจะต้องไม่เพิ่มภาระงาน และเป็นการประเมินในงานปกติ ทำตัวชี้วัดที่ชัดเจนสะท้อนถึงความรู้ความสามารถของวิทยฐานะนั้นๆ และเป็นการประเมินการปฏิบัติงานในอดีต 3 ปีที่ผ่านมา คิดว่าถ้าทำได้จริงมันน่าจะดีกว่าทิ้งไว้ให้เน่าอย่างความเห็นที่ 8



บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
05 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 14
หลายๆโรงเรียนคงเข้าใจบรรยากาศนี้ครับ
ประชาไท
ปัญหาของการศึกษาของไทยที่ควรเร่งแก้ไขคืออะไร
อรรถพล: จริงๆ แล้วปัญหามันมีเยอะมาก ถ้าจะให้พูดคงไม่หมด แต่ผมว่าเรื่องที่สำคัญที่สุดคือโรงเรียนต้องเลิกเลือกปฏิบัติต่อเด็ก ทุกวันนี้เรามีห้อง Gifted มีห้องเรียน Smart classroom เด็กที่พ่อแม่มีเงินสามารนั่งเรียนในห้องแอร์ มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวใช้ แบบนี้เราจะสอนความเป็นธรรมทางสังคมให้กับเด็กได้อย่างไร เรากำลังจะผลิตเด็กที่เชื่อว่าเงินซื้อได้ทุกอย่างแม้กระทั่งการศึกษาซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองทุกคน เราลงทุนไปกับการศึกษาเยอะมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราให้เงินเดือนครูเพิ่มมากขึ้นเป็น 15,000 บาทเทียบเท่าปริญญาตรีแต่โรงเรียนให้เขาทำงานหนักกว่างานทั่วไปที่ได้ค่าจ้างเท่ากันครูต้องทำงานธุรการทั้งๆ ที่เขาอยากอยู่กับเด็ก แบบนี้ก็ไม่มีใครอยากเป็นครู ระบบการผลิตครูของไทยก็มีปัญหาเช่นกัน เรามีราชภัฏเต็มไปหมด เราผลิตครูทั้งประเทศ 50,000 คนต่อปี แต่สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กลับรับบรรจุครูเพียงปีละ 9,000 คน เป็นอย่างมาก บางปีอาจน้อยถึง 900 คน นั่นหมายความว่าเราผลิตครูมาตกงานปีละหลายหมื่นคน ราชภัฏบางแห่งมีอาจารย์ควบคุมหลักสูตรน้อยมากไม่สามารถดูแลนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง ไม่สามารถการันตีคุณภาพของการฝึกสอนได้ สุดท้ายนักศึกษาฝึกสอนก็ถูกโยนงานมาให้สอนเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำใดๆ จากครูที่ปรึกษาเลย


หนอนไซเบอร์

ตอบกระทู้เมื่อ
05 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 15
ไม่มีอะไรน่า เขาทำไปตามบล็อค เดี๋ยวเปลี่ยนคนก็ก็เปลี่ยนนโยบาย  เราฟังเรื่องนี้มากันนาน  กระทรวงนี้อาภัพพอๆกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาตินั่นแหล่ะ" เรามักจะคิดว่าการแก้ปัญหาที่การศึกษาคือแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่มันจะเพียงพอได้อย่างไรในเมื่อปัญหามันบานปลาย" เวรกรรมของอนาคตไทยจริงจริง หรือว่าไม่ต้องแก้แล้วปล่อยมันเลยตามเลย? ปี 2558 หากเปิดโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดเพื่อปรับอัตรากำลัง ก็จะมีคนดีคนเก่งตบเท้าออกอีก คนที่เห็นกับตาว่าห่วยแตก ปฏิบัติราชการโดยไม่มีประสิทธิภาพ  ก็จะยังคงเดินตามเจ้านายหากินฟรีไปวันๆลอยหน้ารับเงินเดือนเกินวิทยฐานะโดยไม่รู้สึกรู้สาเหมือนเดิม


na_na

ตอบกระทู้เมื่อ
05 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 16
"วันนี้แม้ผมจะมอบหมายงานต่างๆ ไปบ้างแล้ว แต่ผมไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้ ต้องทำงาน ดูแลให้ขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดีที่สุด รวมถึงการให้รางวัลคนดี ทำโทษคนไม่ดี ใช้พระเดชพระคุณควบคู่กันไป ซึ่งระบบการบริหารราชการ ระหว่างฝ่ายการเมืองกับข้าราชการจำเป็นต้องปรับปรุง ซึ่งคนดีย่อมมีมากกว่าคนไม่ดี เราต้องใช้คนดีทำงาน หากทำไม่ได้ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปจนกว่าจะได้คนดี ซื่อสัตย์สุจริตจริงๆ ซึ่งการปรับย้ายข้าราชการระดับ 10-11 เพื่อความเหมาะสม คสช.ไม่ได้มุ่งหวังสืบทอดอำนาจหรือเปลี่ยนกลุ่มผลประโยชน์ แต่พยายามแก้ไขเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การทุจริตคอร์รัปชั่น ยืนยันว่า คสช.จะพยายามสร้างระบบ สร้างข้าราชการ สร้างคนให้แข็งแรง เป็นข้าราชการที่ดี" หัวหน้าคสช.


ครูทะเล

ตอบกระทู้เมื่อ
05 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 17
คนดีคนเก่งตามความเห็นหนอนไซเบอร์คงไม่ได้ ตั้งใจร้องเพลง get out-Ebola เพียงเพราะสารพัดการประเมินหรอกมังครับ จากอ่านจับใจความสามบรรทัดเสร็จสรรพจับมากระเดียด ขานอกความเห็นที่ 13 สรุปว่าความเห็นที่แปดเน่า(คิดว่าถ้าทำได้จริงมันน่าจะดีกว่าทิ้งไว้ให้เน่าอย่างความเห็นที่ 8) ถกกันคอจะแตกก็เหมือนเดิมเก้าอี้ข้าใครอย่าแตะ หุหุ
 
 


ครูพันธุ์แท้

ตอบกระทู้เมื่อ
05 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 18
"โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่มีพรมแดน การกระจายข่าวสารรวดเร็วมาก หากมีการโพสต์ข้อความ หรือเสนอข่าวใดที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ก็มีแต่ข้อมูลสร้างความเกลียดชัง เป็นการประจานประเทศไทยในสายตาของต่างชาติ รวมทั้งสร้างผลกระทบต่อประเทศเราเอง ความขัดแย้งก็จะไม่มีวันจบสิ้น บางทีอาจสร้างผลกระทบกับความคิดความอ่านของเยาวชนไทยที่เป็นอนาคตของเราด้วย หากปล่อยเป็นเช่นเดิม ความแตกแยกจะมากขึ้น เด็กไม่เคารพผู้ใหญ่ ต่างฝ่ายต่างใช้คำพูดที่หยาบคายใส่กัน สังคมก็จะเกิดการขาดความเชื่อมั่น ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกันในทุกระดับ ความสงบสุขก็จะเกิดขึ้นได้ยาก ฉะนั้นคนดีๆ ก็อาจจะถูกให้ร้าย ก็ทำให้เขาหมดกำลังใจในการทำงาน" หัวหน้าคสช.


KTC

ตอบกระทู้เมื่อ
05 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 19
มันสำคัญอยู่ตรงนี้
 
"ผู้ทำหน้าที่ประเมินควรเป็นผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในพื้นที่ของผู้รับการประเมิน และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษา"
 
จบข่าว
แป้กก!


บัวบก

ตอบกระทู้เมื่อ
06 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 20

ตุลานี้ก็ถึงเวลาเกษียณ เอกสารเต็มไปหมดทั้งที่บ้านและที่ทำงานจะมอบให้ห้องสมุดหรือก็เปลี่ยนเป็นห้องสมุดระบบอิเล็คทรอนิคเสียแล้ว ต้องเจียดอีกหนึ่งมุมบ้านเป็นห้องสมุดเอาไว้ให้รุ่นลูกหลานใช้ประโยชน์ ก็ไม่รู้ว่าใช้ได้อีกไหมความรู้ในโลกอธิวัฒน์นี่ก็มีโอกาศหมดอายุได้เหมือนกัน  มองไปข้างหน้าว่าพรบ.นี้มันควรจะเป็นผลงานรูปธรรมเพราะจากนี้ไปคนกลุ่มเก่าๆจะหายไปเยอะและเพิ่มขึ้นทุกปี คนรุ่นใหม่เข้ามาแทนที่น่าจะมีแรงผลักดันให้ความเป็นไปได้สูง เริ่มต้นสะสมผลงานกันให้เป็นระบบก็สร้างคนให้แข็งแรงเป็นข้าราชการที่ดีได้อย่างเจตนารมณ์หน.คสช.



Zabver

ตอบกระทู้เมื่อ
07 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 21
 
 
เวรกรรมออนไลน์ 
ไม้เรียวดิจิตอล
สูญญากาศ
 
เปล่าเปลือง
 


สปศ.

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 22
แบ่งปัน
 
ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านการศึกษาสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คว้าตำแหน่งหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศมาตลอด ในปีงบประมาณ 2557 ที่กำลังจะผ่านพ้นไป ศธ.ได้รับอนุมัติงบประมาณมากถึง 460,411.6 ล้านบาท และวางแผนเสนอของบประมาณรายจ่าย ปี 2558 จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวงเงิน 703,276.4 ล้านบาท แน่นอนว่าวงเงินที่เสนอขอไปจะถูกปรับลดลง แต่จะไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยสำนักงบประมาณได้ประเมินไว้คร่าว ๆ ว่า งบฯ ด้านการศึกษาของไทยปีนี้ จะไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านบาท
เงินก้อนโตที่ทุ่มเทลงไปดูเหมือนเป็นการลงทุนสูง สวนทางกับคุณภาพการศึกษาของประเทศที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ผลการทดสอบทางการศึกษาของเด็กไทยในภาพรวมมักจะครองตำแหน่ง “บ๊วย” หรือ “เกือบรั้งท้าย” ทั้งในเวทีอาเซียน และเวทีนานาชาติ
เมื่อเจาะลึกลงในภาพรวม พบว่า วงเงินก้อนโตที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปีนั้น เม็ดเงินส่วนใหญ่กว่า 54 % เป็นงบฯ บุคลากร ที่ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าจ้างประจำ ให้แก่ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา รองลงมา 32% เป็นเงินอุดหนุนรายหัวการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาสามารถนำไปใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กได้ ไม่ว่าจะเป็นการจ้างครูสอน หรือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีเงินที่ตกถึงมือเด็ก คือ ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ส่วนที่เหลือ 7% เป็นงบฯ ดำเนินงาน 5% เป็นงบฯ ลงทุน และอีกไม่ถึง 2% เป็นงบฯ รายจ่ายอื่น ๆ
ลึกลงไปอีก งบฯ ของ ศธ. ที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี เป็นการเพิ่มในส่วนของเงินเดือนครู แต่งบฯ อุดหนุน ที่ถือเป็นเงินพัฒนาเด็กกลับถูกแช่แข็งไม่ขยับมานาน จนหลายคนเคยพูดว่า เมื่อเม็ดเงินส่วนใหญ่ไปกองอยู่ที่การจ่ายค่าตอบ แทนให้แก่บุคลากร หนทางในแก้ไขปัญหาก็ควรลดคนทำงานลง แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้ เพราะครู คือหัวใจสำคัญของระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ และทุกวันนี้บรรดาหน่วยงานใน ศธ.ต่างก็ประกาศว่า ทั้งกระทรวงยังขาดครูผู้สอน รวมกว่า 30,000 อัตรา เมื่อลดบุคลากรลงไม่ได้ ก็ต้องทำให้คนที่มีอยู่ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ และคุ้มค่ากับเม็ดเงิน
ที่สำคัญการจัดสรรงบฯ แบบแยกหมวดบุคลากร กับ เงินอุดหนุนออกจากกัน และให้เงินอุดหนุนสถานศึกษาตามรายหัวของนักเรียนในโรงเรียนอย่างปัจจุบันนี้ ยังส่งผลให้เกิดช่องว่างทางการศึกษาระหว่าง เด็กในเมืองกับชนบทมากขึ้น แม้ที่ผ่านมาจะมีการเพิ่มเงินให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กบ้างแล้วก็ตาม
ถึงเวลาแล้วที่ต้องลุกขึ้นมารื้อระบบการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาของไทยกันใหม่ โดยนำงบฯ เงินเดือนบุคลากร มารวมกับเงินอุดหนุนรายหัว แล้วบวกด้วยตัวแปรต่าง ๆ อาทิ พื้นที่ตั้ง ขนาดโรงเรียน หรือ รายได้ประชากรในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เด็กด้อยโอกาส โรงเรียนชนบทห่างไกลได้รับเงินอุดหนุนมากขึ้น และนำหลักการกระจายอำนาจมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ คือ มอบเงินงบฯสำหรับสถานศึกษา
นั้น ๆ ทั้งก้อน ให้สถานศึกษาไปบริหารจัดการเองว่า จะนำไปจ่ายเป็นเงินเดือนเท่าไหร่ จะจ้างครูเพิ่มหรือไม่ จะมีกลยุทธ์ใดดึงดูดให้ครูสร้างคุณภาพผู้เรียน จะมีการจัดกิจกรรมอะไรให้แก่เด็ก จะขยับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้ถึงระดับใด โดยมีการทำข้อตกลงที่ชัดเจน หากได้ผลงานตามเป้าหมายที่วางไว้ แล้วมีเงินเหลือ ก็ถือว่าเป็นเงินของสถานศึกษา ที่สามารถนำไปใช้ต่อได้ แต่ถ้าไม่พอก็ต้องรับผิดชอบในผลงานที่เกิดขึ้นเช่นกัน
สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือ ส่วนกลางต้องมีงบฯ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงทั้งแผ่นดินด้วย
ท่ามกลางวิกฤติมีโอกาสเสมอ ในยุค คสช.อะไรที่ทำได้ยากในสภาวะปกติ หากเป็นเรื่องที่ดีแล้วก็เชื่อว่าจะผลักดันได้ไม่ยาก ถ้าคนในวงการศึกษากล้าลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเอง.

ถึงเวลาแล้วที่ต้องรื้อระบบการจัดสรรงบประมาณการศึกษาของไทยกันใหม่ โดยนำงบฯเงินเดือนบุคลากร มารวมกับเงินอุดหนุนรายหัว แล้วบวกด้วยตัวแปรต่างๆ และนำหลักการกระจายอำนาจมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ
เข็มทิศ : http://www.dailynews.co.th


ผ่านมา

ตอบกระทู้เมื่อ
02 ก.ค. 2558
  ความคิดเห็นที่ 23


สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved