Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14021989  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

สปศ.

ตั้งกระทู้เมื่อ
10 ก.ค. 2557
  นักวิชาการแนะยุบสมศ.ลดภาระงาน เสนอให้ทุกภาคส่วนร่วมกันปฎิรูปการศึกษา
   นักวิชาการเสนอคสช.ยุบสมศ.ชี้สร้างภาระกลุ่มนักวิชาการ นักการศึกษา ภาคประชาสังคม ธุรกิจเอกชน และ ศธ.รวมพลังคิดแนวทางปฏิบัติการศึกษา เสนอ คสช.ชี้ต้องปรับปรุงหรือยุบ สมศ.ย้ำตั้งสภาปฏิรูปการศึกษาให้ทุกภาคส่วนเข้าร่วมอย่างเต็มที่ ด้าน ศธ.นัดฟังเสียงทุกฝ่าย วันที่ 19 ก.ค.นี้

   เมื่อวันที่ 9 ก.ค.2557 ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ประสานมิตร กลุ่มนักวิชาการ นักการศึกษา ภาคประชาสังคม ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และภาคธุรกิจเอกชน จัดประชุมหารือแนวทางข้อเสนอปฏิบัติการศึกษา(ระยะสั้นและระยะยาว) เพื่อส่งมอบต่อหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ โดย ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมศว.กล่าวว่า ตนขอเสนอให้คสช.ทำเรื่องที่ทำได้ยากในภาวะปกติ คือ การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ เพื่อวางระบบและโครงสร้าง ให้การดำเนินงานต่างๆเดินหน้าต่อไปได้หลังจากที่มีการเลือกตั้ง หรือ มีรัฐบาลชุดปกติแล้ว เช่น จัดตั้งสภาหรือคณะกรรมการปฎิรูปการศึกษา จัดตั้งหน่วยงานหรือสถาบันวิจัยระบบการศึกษาจัดตั้งกองทุนที่ออกพันธบัตรเพื่อสังคมหรือการศึกษา ปรับปรุงระเบียบให้มีการทำงานรับใช้สังคมในชนบท ผลักดันพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่จะออกไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และที่สำคัญควรพิจารณาปรับปรุงหรือยกเลิกสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา(สมศ.)เพราะจากการหารือในกลุ่มที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ต่างเห็นตรงกันว่าการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. เป็นการเพิ่มภาระงานให้แก่สถาบันการศึกษาเป็นอุปสรรค และภาระในการจัดการศึกษาอย่างมาก

   ศ.ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ระบบการศึกษาของไทยสนใจแต่เรื่องวุฒิการศึกษาไม่ได้ดูว่าจะเอาความรู้อะไรไปทำงาน ใช้เวลายาวนานในระบบการศึกษาถึง16 ปี ก็ยังได้คนไม่มีคุณภาพ ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของปฎิรูปการศึกษาครั้งนี้ คือ จะทำอย่างไรให้คน เก่ง มีคุณภาพ ซึ่งทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรเพื่อเตรียมคนออกไปสู่ตลาดแรงงานและยกระดับคนในวัยทำงานให้มีคุณภาพดีขึ้น รวมถึงควรจะมีการพัฒนากลุ่มคนผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้ฝึกอาชีพและทำงานได้

   ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. กล่าวว่า ศธ.จะรวบรวมข้อเสนอที่ได้จากการประชุมสรุปรวมกับแผนโรดแม็พของ ศธ. ก่อนนำเสนอ คสช.ทั้งนี้ ศธ.อยากให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา จึงจะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในวันที่19 กรกฎาคมนี้ เพื่อให้ได้แนวทางที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมในการดำเนินการขับเคลื่อนปฎิรูปการศึกษาต่อไป

   ด้าน รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ กล่าวว่า แนวทางในการปฎิรูปการศึกษานั้น ศธ. และกลุ่มต่างๆ ควรนำเสนอการปฏิรูปไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเท่าที่รวบรวมทิศทางหลักๆของการปฏิรูปการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นเรื่องเร่งด่วน คือ การตั้งสภาปฎิรูปการศึกษา เพื่อให้การดำเนินการปฎิรูปการศึกษาในระยะยาวเป็นไปตามแผนที่วางไว้ นอกจากนี้การปฏิรูปการศึกษาต้องให้โรงเรียน ผู้บริหาร ครูเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ มิฉะนั้นต่อให้มีแผนมากมาย แต่ครู ผู้บริหาร ยังดูไม่ออกว่าจะปฏิรูปอย่างไร การปฎิรูปการศึกษาก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
 


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 1
ขนาดมีสมศ.ออกประเมิน คุณภาพการศึกษายังปวกเปียกแล้วถ้าไม่มีมันจะเป็นยังไงเนี่ย เห้อ..ปากเปียกปากแฉะต่างกับโรคปากเท้าเปื่อย แต่มาพร้อมกับฤดูฝนเหมือนกัน รักษาสุขภาพกันนะคะ เงินเดือนก็จะได้ปรับอีกแล้วเย้ เย้
 



Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 2
เห็นด้วยว่าโจทย์ใหญ่ของการปฎิรูปการศึกษาคือ จะทำอย่างไรให้คน เก่ง มีคุณภาพ นัยเดียวกันนี้ต้องทำให้ระบบประเมินมีคุณภาพก่อนจึงจะสามารถชี้ชัดความมีคุณภาพได้อย่างเที่ยงตรง
เจดีเปิดเพลงอาลัยสมศ.หรือว่าหยิบผิด? ผ่านการประเมินในระดับดีเยี่ยมมาสามรอบรู้สึกดีใช่มั้ย


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 3
อาลัยคนจะเกษียณตุลานี้แหล่ะ น่าจะต่ออายุให้มาปั่นงานรอรับสมศ.กันอีกสักรอบ 555+++++ ข้างนอกฝนตกน่ะ ..
...หยาดฝนโปรยปรายฉันไม่ได้หมายให้เธอกลับคืน.... ฮุฮุ
วันที่ 19 มาฟังข่าวดีกันค่ะ


ครูพันธุ์แท้

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 4

ระยะสองสามปีมานี้มีแต่ข่าวซ้ำๆจากศธ. มันแปลว่างานเดิมๆเหล่านี้มันล้มเหลวมาตลอดใช่หรือไม่ วัฒนธรรมเปลี่ยนคนเปลี่ยนโยบาย แล้วเมื่อเปลี่ยนคนบ่อยๆอย่างนี้เมื่อไหร่มันจะพ้นสภาพปั้นผีลุกปลุกผีนั่งสักที เรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สักเรื่องมีคนดำริมาก่อน แต่ไม่มีคนลงมือทำจริงจังสีกที



na_na

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 5
"การปฏิรูปการศึกษาต้องให้โรงเรียน ผู้บริหาร ครูเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ มิฉะนั้นต่อให้มีแผนมากมาย แต่ครู ผู้บริหาร ยังดูไม่ออกว่าจะปฏิรูปอย่างไร การปฎิรูปการศึกษาก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้" เอ่อ... ปฎิรูปการศึกษาฉบับล่าสุดจริงๆหน้าตาเป็นยังไงแล้ว ทำเรื่องง่ายๆในภาวะปกติกันไปพลางๆก่อนแล้วกัน


ผ่านมา

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 6
 
?แห่ร้องเรียนพระทำไม่เหมาะสม?


kobkun

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 7
เงิบบบบ
ใครผ่านมาเนี๊ยะ  สมศ. บริษัทไหน 555
ทำไปด้ายยย


Jadai

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 8
ขอบคุณที่ผ่านมาใบ้ปริศนาธรรม บ้านเมืองจะสะอาดได้ต้องผู้มีศิลเท่านั้น เพราะพวกใช้วิชามารมากเกินกว่าจะปราบได้ด้วยวิชาภาคพื้นดิน ฮุฮุ


kanok

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 9
ท่ามกลางวิกฤติมีโอกาสเสมอ ในยุค คสช.อะไรที่ทำได้ยากในสภาวะปกติ หากเป็นเรื่องที่ดีแล้วก็เชื่อว่าจะผลักดันได้ไม่ยาก ถ้าคนในวงการศึกษากล้าลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเอง.-เข็มทิศ


เจ_เจ

ตอบกระทู้เมื่อ
11 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 10
บ้านเมืองจะสะอาดได้ไม้กวาดต้องสะอาด อุปกรณ์สะอาด เมื่อสะอาดแล้วคนในชาติต้องมีวินับเพื่อไม่ให้สกปรกอีก วินัยในตัวเองสำคัญที่สุด ในขณะที่เรายังหวังให้คนในชาติมีวินัย ยังหวังเห็นคนในชาติเข้าคิวรอ แต่ปฏิเสธการเข้าแถวเคารพธงชาติ ไม่ยอมรับกรอบประเพณี ก็ยากจะเดินหน้าแนวคิดการปฏิรูป เพราะคนแตกแถวมันเยอะ มีสิทธิมนุษยชนเป็นกระดองให้อยู่เฉยๆได้เป็นร้อยปี เรื่องการสร้างพื้นฐานที่ดีเป็นหน้าที่ของใคร การสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันหลักอย่างครอบครัวเป็นหน้าที่ของใคร ทำอย่างไรจึงจะปลูกฝังให้คนในชาติมีจิตสำนึก เป็นโจทย์ใหญ่ที่คิดแล้วต้องทำอย่างเร่งด่วน ไทยเฉยต่างหากคืออุปสรรค!!


K.Chang

ตอบกระทู้เมื่อ
11 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 11
หลักการให้มีองค์กรกลางประเมินผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษาเป็นแนวคิดที่ดีเหมือนการสอบวัดผลด้วยข้อสอบกลางเพื่อความเป็นมาตรฐานแต่ต้องจัดระบบและวิธีการให้มีคุณภาพเป็นไม้กวาดสะอาดอย่างที่ว่าและที่สำคัญกว่าคือคนในวงการศึกษาต้องกล้าลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเอง


Tanaew

ตอบกระทู้เมื่อ
11 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 12
"ถ้าเราไม่สามารถเจียดเงินมาเพื่อการศึกษา ก็ไม่น่าจะเจียดเงินไปสำหรับเรื่องอื่น เพราะปัญหาอื่นๆ เช่น ภัยคอมมิวนิสต์ อันธพาลอาชญากรรม วัยรุ่น การปกครองประชาธิปไตย หรือแม้แต่เศรษฐกิจ และการผลิตต่ำ ปัญหาเหล่านี้จะแก้ไขไม่ได้ ถ้าเราไม่ยอมลงทุนในสิ่งที่ประเสริฐที่สุด คือ คน" ป๋วย อึ๊งภากรณ์
 
    ทุกความคิดดี เห็นชอบทุกอย่าง จะทำอะไรก็รีบๆทำแล้วอย่าลืมติดตามการดำเนินงาน สรุบ ประเมินผลและหาวิถีทางพัฒนาให้เติบโตด้วย อย่าให้น้ำท่วมทุ่ง โรคปากเท้าเปื่อยที่K.Tanoi ถามหาจะระบาด


K.Chang

ตอบกระทู้เมื่อ
15 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 13

รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการเสนอให้ปรับปรุง หรือยกเลิกสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ว่า ตนไม่ได้ฟังธงว่าต้องยกเลิก หรือยุบสมศ. แต่เห็นว่า สมศ.ต้องปรับปรุงวิธีคิด หรือกระบวนการประเมิน เพราะการประเมินของสมศ.ขณะนี้ เป็นการสร้างภาระ และไม่ตรงกับเป้าหมายในการประเมิน ซึ่งการประเมินของ สมศ.มีรูปแบบเดียว ทั้งที่สถานศึกษาการศึกษามีความหลากหลาย และมีบริบทแตกต่างกัน อีกทั้งการประเมินก็ไม่ได้ประเมินในสิ่งที่สถานศึกษาทำด้วย จึงเป็นการประเมินที่ไม่ได้บอกถึงคุณภาพของสถานศึกษาอย่างแท้จริง

“การประเมินตรวจสอบคุณภาพการศึกษา เป็นสิ่งที่ดีและมีความจำเป็น แต่เกณฑ์ และตัวชี้วัดที่ สมศ.ดำเนินการอยู่ ไม่สอดคล้องกับการพัฒนา เช่น การดูปริมาณจำนวนตีพิมพ์บทความทางวิชาการ และงานวิจัย จะนำไปใช้ประเมินทุกมหาวิทยาลัยไม่ได้ เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีบริบทต่างกัน” รศ.ดร.ประวิต กล่าวและว่า ถึงเวลาแล้วที่ สมศ.ต้องกลับมาทบทวนการทำงานของตนเอง ควรรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่ถูกประเมิน เพราะขณะนี้ไม่ใช่เสียงจากมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่อยากให้สมศ.ปรับปรุง หรือยกเลิก แต่เสียงจากหลายๆ เวทีก็อยากให้เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน.

http://www.dailynews.co.th/Content/education



บัวบก

ตอบกระทู้เมื่อ
15 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 14
ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ อดีตกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา(สมศ.)กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการเสนอให้ปรับปรุงหรือยุบเลิก สมศ.ว่า คนที่เสนอแนวคิดนี้ก็ต้องตอบสังคมให้ได้ว่า ถ้ายุบแล้วจะนำระบบใดมาแทนการตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษาที่ สมศ.ทำอยู่ เพราะขณะนี้คุณภาพการศึกษาเป็นปัญหาใหญ่ มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตีที่อยากเห็นการปฎิรูประบบประเมิน ก็ต้องยอมรับความจริงว่า มหาวิทยาลัยมีปัญหาเรื่องคุณภาพอย่างมาก ทั้งการขายปริญญาบัตร การรับนักศึกษาเฟ้อ โดยไม่คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของตลาดแรงงาน ตลอดจนการผลิตบัณฑิตที่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้นจึงอยากให้มีการรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียให้รอบด้านก่อน เช่น ผู้ปกครองที่ต้องจ่ายเงินแพง แต่ไม่รู้ว่าการศึกษาได้คุณภาพหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่า คนกลุ่มนี้ก็คงอยากเห็นกลไกที่จะมาตรวจสอบเรื่องนี้


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
19 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 15
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่อาคารพญาไทพลาซ่า สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) นายชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงาน สมศ. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหาร สมศ. ว่าที่ประชุมได้หารือกรณีที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ. )ที่ ทปอ.มหาวิทยาลัยราชภัฎ และ ทปอ.มหาวิทยาลัยราชมงคล เสนอให้มีการยุบหรือปรับปรุง สมศ.นั้น
ได้ข้อสรุปว่า การดำเนินงานของ สมศ.เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่ต้องการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย ความรู้ คุณธรรมจริยธรรม และกำหนดให้มี สมศ.เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา เพื่อตรวจสอบคุณภาพในการจัดการศึกษา และในปัจจุบันมีการกระจายอำนาจไปอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสามารถเปิดสาขาวิชา ภาควิชา จัดการศึกษานอกที่ตั้ง ดังนั้นจำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางกำกับตรวจสอบอย่างเข้มข้นอย่าง สมศ.ที่มีบทบาทสะท้อนความจริงสะท้อนผลการศึกษาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคว่าสถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพมีอาจารย์ที่มีคุณภาพจริงหรือไม่ทั้งนี้ผอ.สมศ.กล่าวว่าสาเหตุที่มีการเสนอให้ยุบ สมศ.นั้น มองว่าการตรวจสอบคุณภาพการศึกษามีความจำเป็น หากไม่มี สมศ.จะให้หน่วยงานใดมาตรวจสอบแทน ส่วนข้อเสนอที่จะให้มีการปรับปรุงทบทวนบทบาทการทำงานของ สมศ.นั้น สมศ.ก็พร้อมปรับปรุง แต่ทุกหน่วยงานก็ต้องปรับปรุงตัวเองด้วย อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยที่ออกมาต่อต้านการประเมิน แสดงว่าเป็นกลุ่มที่ไม่พร้อมรับการประเมิน รู้สึกเป็นภาระ ถ้ามหาวิทยาลัยดำเนินงานเก็บสะสมข้อมูลดีอยู่แล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร



ครูพันธุ์แท้

ตอบกระทู้เมื่อ
20 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 16
รศ.ดร.สุชาดา บวรกิติวงศ์  อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา  คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวถึงกรณีนักวิชาการเสนอพิจารณาปรับปรุงหรือยกเลิกสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( สมศ.) ว่า ส่วนตัวเห็นว่าหากประเทศไทยไม่มีสมศ . สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือโรงเรียนจำนวนหนึ่งที่บริหารไม่เอาไหนจะไม่มีคนคุมซึ่งจะทำให้ระบบการทำงานในโรงเรียนกลับไปเหมือนเดิมที่ทำงานกันแบบเช้าชามเย็นชาม โรงเรียนจะเดินแบบสะเปะสะปะไร้กระบวนท่า แต่การมี สมศ.มาสิบกว่าปีทำให้เกิดวัฒนธรรมการถูกประเมิน มีระบบฐานข้อมูลเป็นสังคมแห่งฐานข้อมูลเริ่มตัดสินใจบนฐานข้อมูลมีคนมาเฝ้าติดตามการทำงานของโรงเรียน ที่สำคัญ สมศ.จะเป็นกระจกสะท้อนการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เห็นข้อดีข้อด้อย ของสถานศึกษาด้วย  และตนเชื่อว่าขณะนี้สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจและคุ้นชินกับระบบการประเมินของสมศ. แล้ว


สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved