Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14021778  

ชุมชนคนสร้างสื่อ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Programmed Instruction

งานวิจัยในประเทศ

ศักดิ์ณรงค์ แสงพิทักษ์ (2528 : 46) ได้ผลิตรายการโทรทัศน์ประกอบการสอนแบบ Programmed Instruction เรื่องน้ำเสีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบกับการสอนปกติ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่เรียนจากการสอนโดยโปรแกรมวิดีทัศน์ มีผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียนรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนรู้จากการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ปริญญา ปัญญามี ( 2531 : 90 ) ได้ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความคงทนในการจำของนักเรียนที่เรียนจาก Programmed Instruction ธรรมดา และProgrammed Instruction เทปโทรทัศน์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 60 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองเรียนจาก Programmed Instruction เทปโทรทัศน์ ส่วนกลุ่มควบคุมเรียนจากProgrammed Instruction ธรรมดา จากนั้นอีก 2 สัปดาห์ ให้นักเรียนทั้งสองกลุ่มทำแบบทดสอบฉบับเดิมอีกครั้ง ผลการวิจัยพบว่า ผลการเรียนรู้และความคงทนในการจำของนักเรียนที่เรียนจากProgrammed Instruction เทปโทรทัศน์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนจากโปรแกรมธรรมดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ณรงค์ เดิมสันเทียะ (2535 : 37) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 โดยใช้ Programmed Instructionเรียนเป็นคณะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความอดทนในการเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงกว่านักเรียนที่เรียนจากการสอนตามคู่มือครูของ สสวท.

สมบัติ เทียบอุดม ( 2538 : 63 ) ได้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนที่เรียนจากวิดีทัศน์การสอนแบบโปรแกรม กับการเรียนวิดีทัศน์การสอนปกติ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 จำนวน 60 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งนักเรียนเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเรียนรู้จากวิดีทัศน์การสอนแบบโปรแกรม กลุ่มที่สองเรียนจากวิดีทัศน์การสอนแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้วิดีทัศน์การสอนแบบ Programmed Instruction ให้ผลการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนจากวิดีทัศน์การสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

พงศ์พันธ์ อันตริกานนท์ (2539: 69) ได้ทำการพัฒนาบทเรียนวิดีทัศน์แบบโปรแกรมสำหรับการฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุข ในการเขียนบทวิดีทัศน์เบื้องต้น ผลปรากฏว่าการใช้บทเรียนวิดีทัศน์ด้วยตนเองส่งผลให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ คะแนนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

อัมพร น้อยสุวรรณ (2540 : บทคัดย่อ) ศึกษาผลการใช้วิดีทัศน์แบบโปรแกรม กิจกรรม

นาฏศิลป์กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ผลการศึกษาพบว่า รายการวิดีทัศน์แบบโปรแกรมมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของนักเรียนจากรายการวิดีทัศน์แบบโปรแกรม สูงกว่านักเรียนที่เรียนจาการสอนปกติ อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01

พรพิชิต สุวรรณศิริ (2543:บทคัดย่อ) ได้พัฒนาบทเรียนวิดีทัศน์แบบโปรแกรมวิชาพยาบาลพื้นฐาน 2 สำหรับนักเรียนพยาบาลระดับต้นปีที่ 1 โรงเรียนพยาบาล กรมแพทย์ทหารเรือ พบว่าการใช้บทเรียนวิดีทัศน์แบบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 91.64/90.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 90/90 และผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

งานวิจัยในต่างประเทศ

อีสเตอร์เดย์ (Easterday. 1963: 307) ได้ทดลองสอนวิชาพีชคณิตโดยใช้ Programmed Instructionกับการสอนปกติกับนักเรียนเกรด 9 พบว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนจาก Programmed Instruction มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนตามปกติ

ดัทตัน (Dutton. 1963: 2882-A) ได้ศึกษาเปรียบเทียบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์กับนักเรียนเกรด 4 เรื่อง แสง เสียง และความร้อน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 111 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองสอนด้วยProgrammed Instruction และกลุ่มควบคุมสอนตามปกติ ใช้เวลา 5 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

แบงฮาร์ท และคนอื่น ๆ (Bankhart and others. 1963: 199-204) ได้เปรียบเทียบการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนเกรด 4 จำนวน 159 คน ให้นักเรียนกลุ่มทดลองเรียนโดย Programmed Instruction ส่วนกลุ่มควบคุมเรียนโดยแบบเรียนมาตรฐาน ผลปรากฎว่านักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม

ฟิชเชลล์ (Fishell. 1964: 2881-A) เปรียบเทียบการสอนโดยใช้ Programmed Instruction กับการสอนแบบปกติในวิชาคณิศาสตร์และสังคมวิทยา ผลพบว่าการสอนแบบ Programmed Instruction ให้ผลสัมฤทธิ์สูงกว่าการสอนแบบปกติ

บราวน์ (Brown. 1964: 26) ได้เปรียบเทียบการสอนโดยใช้ Programmed Instruction กับการสอนตามปกติสำหรับนักเรียนเกรด 8 และ 9 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียน 7 แห่ง ผลการวิจัยพบว่านักเรียนกลุ่มที่สอนโดยใช้ Programmed Instruction มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่านักเรียนที่เรียนตามปกติ

โมเสส (Moses. 1965 : 5739 – A ) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาพืชคณิตระดับอุดมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ Programmed Instruction กับการสอนปกติ ปรากฏว่ากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่านักเรียนที่เรียนอ่อนไม่สามารถเรียนโดยใช้ Programmed Instructionได้ดี

ริกส์ (Riggs. 1967: 2748-A) ทดลองสอนเรื่องกราฟกับนักเรียนเกรด 5 โดยใช้Programmed Instruction กับการสอนปกติ ปรากฏว่ากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ฟรานซิส (Francis. 1967: 338-A) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง กฎของโอห์มและกำลังไฟฟ้าของวงจรกระแสตรง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน กลุ่มทดลองสอนโดยใช้Programmed Instruction กลุ่มควบคุมสอนโดยการบรรยายประกอบการสาธิต ผลการวิจัยไม่พบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ของวิธีสอนทั้งสองวิธี

คอลลาแกน . (Collagan. 1969: 1070-A) สร้างProgrammed Instructionวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับสอนนักศึกษาระดับวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 เปรียบเทียบกับการสอนตามปกติ ปรากฏว่ากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

มอริเบอร์ . (Moriber. 1969: 214-216) เปรียบเทียบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีอะตอมและพันธเคมี โดยใช้Programmed Instructionและสอนตามปกติ พบว่านักศึกษาที่เรียนโดยProgrammed Instructionซึ่งเป็นกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนตามปกติซึ่งเป็นกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ไวท์ . (White. 1970: 3373-A) สร้างProgrammed Instructionวิชาพีชคณิตเพื่อใช้กับนักศึกษากลุ่มทดลอง ส่วนนักศึกษากลุ่มควบคุมสอนตามปกติ พบว่ากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เพียช ( Pierce. 1970 : 4692 – A ) ได้เปรียบเทียบการสอน 3 แบบ คือการสอนแบบปกติ การสอนแบบโปรแกรม และการสอนแบบที่ใช้โปรแกรมโสตทัศน์วัสดุ ในการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่เรียนอ่อน พบว่า นักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านสูงมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านต่ำ ไม่ว่าจะสอนด้วยวิธีการใดใน 3 วิธี ส่วนนักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ จะมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้สูงเมื่อสอนโดยใช้Programmed Instructionโสตทัศนวัสดุ วิธีสอนแบบปกติช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนระยะแรกๆ ดีที่สุด

เทย์เลอร์ (Taylor. 1970: 3843-A) ทำการวิจัยผลการสอนโดยใช้ Programmed Instruction ใช้สื่อสำเร็จรูปแบบผสม และใช้การบรรยาย ผลการวิจัยพบว่าการสอนโดยใช้สื่อสำเร็จรูปแบบผสมให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนได้ดีกว่าวิธีอื่น

เบค (Beck. 1971: 6270-A) เปรียบเทียบผลการสอนพีชคณิตระดับวิทยาลัยโดยวิธีสอน 3 แบบ คือ การสอนตามปกติ การสอนโดยใช้ Programmed Instruction และการสอนโดยใช้สื่อสำเร็จรูปผสม ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่เรียนจากการสอนแบบปกติและจากการสอนแบบสื่อสำเร็จรูปผสมไม่แตกต่างกัน แต่สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มที่เรียนโดยใช้ Programmed Instruction

วิลเลี่ยมส์ (Williams. 1972: 2700-A) ได้ทดลองเปรียบเทียบวิธีสอน 3 วิธี คือ วิธีสอนแบบปกติ แบบโปรแกรม และแบบสื่อสำเร็จรูปสไลด์ ในวิชาคณิตศาสตร์ธุรกิจ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบโปรแกรม และแบบสื่อสำเร็จรูปสไลด์สูงกว่าการสอนแบบปกติ

เกอร์เบอร์ (Gerber. 1974: 1908 – A) ได้ทำวิจัยผลการสอน เรื่องการวินิจฉัยทางตรรกศาสตร์ที่มีความสามารถในการเรียนพิสูจน์ของนักเรียนระดับวิทยาลัย โดยใช้ Programmed Instruction กับการสอนปกติ พบว่านักศึกษาที่เรียนจาก Programmed Instruction ไม่ว่าจะมีความสามารถสูงหรือต่ำสามารถเขียนพิสูจน์ได้ดีขึ้นกว่าเดิม และดีกว่านักศึกษาที่เรียนตามปกติ

กล่าวได้ว่า Programmed Instruction เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดในการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมProgrammed Instruction มาทดลองใช้สำหรับการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยคาดหวังว่าผลการศึกษาทดลองจะนำไปใช้พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
 
 
 


หน้าที่ :: 6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved