Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
13991558  

ชุมชนคนสร้างสื่อ

คุณค่าและข้อจำกัดของProgrammed Instruction

แม้ว่า Programmed Instruction จะมีคุณค่าทางการเรียนรู้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แต่

Programmed Instruction ก็ยังมีข้อจำกัดที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ซึ่งมีนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวไว้ ดังนี้

ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์ ( 2528 : 342 – 343 ) กล่าวถึงคุณค่าและข้อจำกัดของ Programmed Instruction ไว้ดังนี้

คุณค่าของ Programmed Instruction

1. การสร้าง Programmed Instruction มีกระบวนการที่น่าเชื่อถือ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้

อย่างอิสระและสามารถดำเนินการตามความสามารถและจังหวะเวลา

2. ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในการเรียน โดยการแสดงปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือคำถาม
 
และได้ทราบคำตอบว่าถูกหรือผิดอย่างทันที เป็นการให้รางวัลที่ดี กระตุ้นให้ผู้เรียนต้องการที่จะเรียนรู้
 
ข้อจำกัดของ Programmed Instruction

1. Programmed Instruction มักจะเน้นหนักในเรื่องเนื้อหา ทำให้ขาดในด้านความรู้สึก หรือ

อารมณ์ และความคิดเห็นส่วนตัว

2. Programmed Instruction แบบเส้นตรงไม่เหมาะสมกับผู้เรียนที่เรียนเก่ง เพราะผู้ที่เรียน

เก่งเมื่อทำกิจกรรมได้เสร็จก่อนและไม่มีอะไรทำอีก อาจจะทำให้เบื่อหน่ายจะต้องมีงานเพิ่มเติมให้บ่อยๆ

3. ไม่อาจใช้แทนผู้สอนได้ทุกอย่าง เพราะบางบทเรียนต้องให้คำแนะนำอยู่บ้าง

4. ในการจัดทำต้องการผู้มีความรู้ความสามารถ และต้องการเวลาในการเขียน

โปรแกรมและการทดลองภาคสนาม และไม่อาจใช้ได้บางภูมิภาคหรือบางท้องถิ่นเพราะขาดบุคลากรในการอำนวยความสะดวก

ประหยัด จิระวรพงษ์ (2522 : 228) ได้กล่าวถึงคุณค่าและข้อจำกัดของ Programmed Instructionไว้ดังนี้คือ

คุณค่าของ Programmed Instruction

1. สามารถส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี

2. ช่วยประหยัดเวลาในการสอน

3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง

 

ข้อจำกัดของ Programmed Instruction

1. Programmed Instruction อาจไม่ตอบสนองจุดหมายได้ทุกประการ

2. ผู้เรียนอาจเบื่อหน่ายจากการปฏิบัติซ้ำมาก ๆ

3. ผู้เรียนไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ เพราะถูกจำกัดการตอบสนอง

 

เปรื่อง กุมุท (2527 : 6) กล่าวว่า Programmed Instruction สร้างขึ้นจากรากฐานจิตวิทยา

การเรียนรู้ทำให้เกิดระบบวิธีเรียนแบบเอกัตบุคคล ( Individual Difference)
 
หรือตัวต่อ ย่อมให้คุณค่าทางการเรียนรู้หลายประการ คือ

1. ทำให้เรียนรู้ได้ดี และเรียนได้ด้วยตนเอง

2. ทำให้แต่ละคนเรียนได้เร็ว-ช้าตามความสามารถของตนเอง

3. จะเรียนที่ไหน เมื่อไรก็ได้ตามที่ต้องการ คือ มีความสะดวก มีคุณค่าในด้านความเสมอภาค

4. ยกระดับมาตรฐานการเรียน ให้ทัดเทียมกันอย่างทั่วถึง

5. มีการจัดลำดับเนื้อหาและผู้เรียนได้รับการตอบสนองขณะที่เรียน

 

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 177–178) กล่าวถึง คุณค่าและข้อจำกัดของ Programmed Instruction ดังนี้

คุณค่าของProgrammed Instruction

1. ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเอง และดำเนินไปตามความสามารถของตน

2. กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้

3. สนองตอบในเรื่องความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล

4. เป็นการประหยัดเวลาในการสอนบทเรียนหนึ่ง ๆ เพราะจากผลการวิจัยพบว่า

Programmed Instruction สามารถสอนเนื้อหาได้มากเท่าวิธีสอนอื่นๆ โดยใช้เวลาน้อยลง

5. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดนิสัยมีความรับผิดชอบในตัวเองได้เป็นอย่างดี

ข้อจำกัดของ Programmed Instruction

1. ไม่อาจทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ทั้งหมด เพราะบางเรื่องผู้เรียนยังต้องการคำแนะนำจากผู้สอน

2. ไม่สามารถใช้กับเนื้อหาบางวิชาได้ เช่น วิชาที่ต้องการการสนองตอบในแง่ของความคิด

3. ผู้เรียนที่เรียนเก่งอาจทำบทเรียนได้เสร็จก่อน ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย

     จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า Programmed Instruction ถูกพัฒนาขึ้นมาตามหลักการพื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการที่อาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ จึงทำให้Programmed Instruction เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในทางการศึกษา ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ดีขึ้นแต่อย่างไรก็ตามProgrammed Instruction ก็ยังมีข้อจำกัดที่ต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อจะได้นำมาเป็นแนวทางในการจัดทำและนำ Programmed Instruction ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด การศึกษาวิจัยผลการใช้นวัตกรรม Programmed Instruction จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาและข้อจำกัดดังกล่าว

การสร้าง Programmed Instruction

การสร้าง Programmed Instruction มีขั้นตอนทั้งการสร้างและการหาคุณภาพ ดังต่อไปนี้

ประหยัด จิระวรพงศ์ (2522 : 227–228) กล่าวว่าการสร้างProgrammed Instruction แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 วางแผนทางวิชาการ (Planning Stage)

1.1 การเลือกเนื้อหาระดับผู้เรียนและแบบ Programmed Instruction ที่จะใช้

1.2 การตั้งจุดมุ่งหมายการเรียน

1.3 การวิเคราะห์เนื้อหาแยกเป็นตอนย่อย ๆ และจัดลำดับ

1.4 การสร้างแบบทดสอบ

ขั้นที่ 2 การดำเนินการเขียนบทเรียน (Development Stage)

2.1 การเขียนกรอบสอน (Teaching Frame)

2.2 การเขียนกรอบฝึกสอน (Practice Frame)

2.3 การเขียนกรอบสรุป (Criterion Frame)

ขั้นที่ 3 การทดลองบทเรียน (Tryout Stage)

3.1 การทดลองเป็นรายบุคคลเพื่อแก้ไขปรับปรุง

3.2 การทดลองเป็นกลุ่มย่อยเพื่อแก้ไขปรับปรุง

3.3 การทดลองเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อแก้ไขปรับปรุง

ขั้นที่ 4 การนำไปใช้ (Implementation Stage)

     ก่อนที่จะนำบทเรียนไปใช้จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงจากการทดลองเป็นกลุ่มใหญ่แล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือได้ โดยทั่วไปแล้วใช้เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนด้วยบทเรียนนี้สามารถตอบสนองถูกทั้งหมดร้อยละ 90 และร้อยละ 90 ตอบสนองแต่ละตอนได้อย่างถูกต้อง

เปรื่อง กุมุท (2519 : 139) กล่าวว่า การสร้าง Programmed Instruction จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. ศึกษาหลักสูตร เพื่อให้ทราบว่าบทเรียนจะตอบสนองอะไร มีเนื้อหาอย่างไร ผู้เรียนระดับไหน การจัดทำแผนการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งจำเป็นในอันที่จะช่วยให้ทราบถึงลำดับการจัดการเรียนรู้ และช่วยกำหนดขอบข่ายของเนื้อหาได้ นอกจากนี้ผู้สร้างบทเรียนควรศึกษาเอกสาร ตำรา หรือต้องสัมภาษณ์จากผู้รู้ด้วย

2. ตั้งจุดมุ่งหมาย การสร้างบทเรียนโปแกรมต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน ผู้สร้าง Programmed Instruction ต้องพยายามแจกแจงจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม ซึ่งจะต้องสังเกตและวัดได้

3. วางขอบเขตของงาน การวางขอบเขตของงานหรือวางเค้าโครงเรื่อง มีประโยชน์ในการสร้างบทเรียนมากเพราะช่วยในการลำดับเรื่องราวก่อนหลัง และป้องกันการหลงลืมเรื่องราวบางตอน

4. เขียน Programmed Instruction

ชม ภูมิภาค ( 2524 : 120 – 121 ) ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้าง Programmed Instruction  ไว้ดังนี้ ในการสร้าง Programmed Instruction มีอยู่ 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นการเขียน Programmed Instruction ขั้นทดลอง และขั้นปรับปรุงแก้ไข

1. ขั้นเตรียม แบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ

1.1 เลือกชื่อเรื่องโดยเลือกในเนื้อหาวิชาที่ผู้เขียนมีความรู้ในเรื่องนั้นดี

1.2 เตรียมเค้าโครงของเนื้อหา โดยให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่จะสอน ผู้สร้างโปรแกรมต้องสามารถรวมความรู้ในเนื้อหาวิชาเข้ากับความรู้ในวิธีการสอนด้วยโปรแกรมได้เป็นอย่างดี

1.3 กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1.4 สร้างแบบทดสอบสำหรับวัดพฤติกรรมเบื้องต้นซึ่งคะแนนของแบบทดสอบ

จะบอกให้รู้ว่าควรจะเริ่มพฤติกรรมที่ใด แบบทดสอบนี้ควรมีหลาย ๆ คำถาม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนไม่สามารถเดาคำตอบได้

1.5 สร้างแบบทดสอบสำหรับวัดพฤติกรรมขั้นสุดท้าย เพื่อจะได้ทราบว่าผู้เรียน

ได้รับความรู้จาก Programmed Instruction แล้ว

2. ขั้นการเขียน Programmed Instruction

หลังจากได้โครงร่างของเนื้อหาและวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเบื้องต้น รวมทั้งกำหนดพฤติกรรมขั้นสุดท้ายแล้ว ก็จะได้แนวทางพื้นฐานที่จะนำมาใช้เป็นProgrammed Instruction โดยแยกออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

2.1 เสนอเนื้อหาในรูปกรอบต่าง ๆ โดยกรอบหนึ่งๆ ก็คือเนื้อหาวิชาย่อยๆ ซึ่งจะให้ผู้เรียนสนองตอบสิ่งเร้าในขั้นต่างๆ ที่ผู้เขียน Programmed Instruction สร้างขึ้น เพื่อนำผู้เรียนไปถึงพฤติกรรมขั้นสุดท้าย โดยอาศัยหลักความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (S-R)

2.2 ให้ผู้เรียนตอบสนองอย่างแข็งขัน โดยถือหลักว่าผู้เรียนจะยอมรับในเนื้อหาที่ตอบถูกเท่านั้น ทำให้มีแบบการตอบสนองต่างๆ

2.3 มีการยืนยันหรือตรวจแก้การตอบสนองของผู้เรียน Programmed Instruction จะมีการเปรียบเทียบค่าคำตอบที่ถูกกับคำตอบที่ผิด เมื่อผู้เรียนพบว่าการตอบสนองนั้นถูกจะได้รับการยืนยัน แต่ถ้าการตอบสนองผิดก็จะได้รับคำตอบที่ถูกต้อง

2.4 มีการใช้วิธีการปูพื้นเพื่อเป็นแนวทางในการสนองตอบของผู้เรียน ซึ่งการปูพื้นนี้เป็นเครื่องชี้ในกรอบต่าง ๆ ของโปรแกรมเพื่อนำผู้เรียนไปสู่การตอบสนองที่ถูกต้อง

2.5 จัดลำดับขั้นของกรอบต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง ซึ่งขึ้นอยู่กับ 2 องค์ประกอบคือ
 
1) คำจำกัดความ และการวิเคราะห์พฤติกรรมที่โปรแกรมต้องการสอน และ 2) ภาวะการเรียนรู้ที่จำเป็น ได้แก่ การแยกแยะ การสรุป การเกิดขึ้นพร้อมกันระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และการเสริมแรง

3. ขั้นการทดลองแก้ไข แบ่งย่อยอีกได้ 3 ขั้นตอน คือ

3.1 ขั้นการทำฉบับร่างจากต้นฉบับ (Write the Original Draft) ซึ่งอาจทำเป็น

แผ่นๆ เพื่อให้ผู้เรียนอ่านด้านหน้า และตอบสนองด้านหลัง ในขั้นนี้เป็นการนำโปรแกรมไปทดลองกับผู้เรียนคนเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง แล้วนำมาปรับปรุง เพื่อนำไปทดลองกับผู้เรียนคนถัดไป

3.2 แก้ไขฉบับร่าง เป็นการนำฉบับร่างจากต้นฉบับมาปรับปรุงแก้ไขในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ดีออกมา

3.3 ทดลองฉบับร่างที่แก้ไขแล้ว และพิจารณาแก้ไขอีกครั้ง แล้ว นำไปทดสอบกับผู้เรียนจำนวน 15-40 หรือมากกว่า แล้วนำมาปรับปรุงอีกครั้ง โดยถือเกณฑ์มาตรฐานให้มีอัตราความผิดพลาดเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ จึงสามารถนำไปใช้ได้

ดังนั้น การสร้าง Programmed Instruction ให้มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนการจัดทำแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจนและรัดกุม เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ผู้เรียน

การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม การศึกษารูปแบบการเขียนProgrammed Instructionให้เข้าใจ และก่อนที่จะมีการนำเอา Programmed Instructionไปใช้จริงนั้น จะต้องผ่านกระบวนการหาประสิทธิภาพของบทเรียนให้ได้เกณฑ์มาตรฐานก่อน เพื่อให้ได้บทเรียนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

ผู้วิจัยได้นำนวัตกรรม Programmed Instruction มาใช้ในการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยกำหนดขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียม

เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการโดยผู้วิจัย เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หลักสูตร จุดประสงค์การเรียนรู้ ขอบข่ายเนื้อหาสาระ จากนั้นจึงวางแผนสร้าง Programmed Instruction ซึ่งประกอบด้วยการเลือกเนื้อหาของบทเรียน กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้หรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม วิเคราะห์เนื้อหาแยกเป็นตอน ๆ เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก แล้วสร้างแบบทดสอบให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ เสร็จสิ้นจากการวางแผนแล้วจึงเริ่มเขียนProgrammed Instruction โดยเขียนกรอบสอน (Teaching frame) กรอบฝึกสอน (Practice frame) และกรอบสรุป (Criterion frame) สุดท้าย คือ การทดลองบทเรียน ได้แก่ การทดลองเป็นรายบุคคล ทดลองเป็นกลุ่มย่อย และทดลองเป็นกลุ่มใหญ่

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการเรียนรู้

2.1 ทดสอบครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา (Pretest)

2.2 ผู้วิจัยแนะนำวิธีการเรียนรู้โดยใช้ Programmed Instruction เพื่อให้ครู

ทุกคนเข้าใจและปฏิบัติตามกติกาอย่างถูกต้อง เคร่งครัด และซื่อสัตย์

2.3 แจก Programmed Instruction ให้ครูเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระโดยไม่จำกัดเวลาและไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากครูที่มีความสามารถต่างกันอาจใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยแตกต่างกันได้

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นทดสอบและสรุปผลการเรียนรู้

3.1 หลังจากที่ครูเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้บทเรียนโปรแกรมแล้ว ผู้วิจัยให้ทำแบบทดสอบหลังการเรียน (Posttest)

3.2 ครูและผู้วิจัยช่วยกันสรุปผลการเรียนรู้

ขั้นตอนการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม Programmed Instruction แสดงให้เห็นในแผนภูมิต่อไปนี้
 
 
 
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียม: วางแผนวิชาการ สร้าง Programmed Instruction
ทดลองใช้ Programmed Instruction
 
 
 
 
 
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการเรียนรู้: ทดสอบก่อนการพัฒนาโดยใช้นวัตกรรม Programmed Instruction
 
 
 
 
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นทดสอบและสรุปผลการพัฒนาฯ
 
 
 
แผนภูมิที่ 2
 
ขั้นตอนการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ นวัตกรรม Programmed Instruction
 
 
 
 
 


หน้าที่ :: 5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved