Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
13991302  

ชุมชนคนสร้างสื่อ

 
CAI ย่อมาจาก Computer-Assisted Instruction ภาษาไทยเรียกว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน" CAI เป็นซอฟแวร์ทางการศึกษาชนิดหนึ่ง ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการสอน CAI มีลักษณะเด่นสามประการคือ ประหยัด ได้ผล และฉลาด นักวิชาการชาวไทยหลายท่าน ได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้แตกต่างกัน ดังนี้:
  • ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน: การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย
  • รศ.ยืน ภู่วรวรรณ: โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้นำเนื้อหาวิชาและลำดับวิธีการสอนมาบันทึกเก็บไว้ คอมพิวเตอร์จะช่วยนำบทเรียนที่เตรียมไว้อย่างเป็นระบบ มาเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนแต่ละคน
  • รศ.ดร.ฉลอง ทับศรี: บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองเป็นหลัก
  • ดร.สุกรี รอดโพธิ์ทอง: โปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายๆรูปแบบ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการรับรู้ของผู้เรียน
  • สารานุกรมศัพท์การศึกษาและจิตวิทยา สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ม.สุโขทัยธรรมาธิราช: การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบการเรียนการสอนวิชาต่างๆ เช่น วิชาสังคม ศิลป วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ รวมทั้งวิชาคอมพิวเตอร์ โดยถือว่า คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในระบบการเรียนการสอนที่สามารถให้ผู้เรียนรู้ผลการตอบสนองได้รวดเร็วกว่าสื่อประเภทอื่น ยกเว้นสื่อบุคคล

เราจะเข้าใจ CAI ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาถึงชนิดต่างๆของมัน ซึ่งมีดังนี้:

  • ฝึกทบทวน (Drill and Practice) ถือว่าทักษะต่างๆที่ได้ถูกนำเสนอมา และการฝึกฝนปฏิบัติต่อไปให้มากขึ้น เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ เยี่ยมชมไซท์ the Scholastic Studyguide™ for SAT® Success เป็นตัวอย่างเพิ่มเติม
  • สอนเนื้อหาใหม่ (Tutorial) กิจกรรมการสอนเนื้อหาใหม่นี้รวมทั้งการนำเสนอข้อมูลและเพิ่มเติมเป็นงานในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการฝึกทบทวน (drill and practice) เกมส์ (games) และการจำลองสถานการณ์ (simulation) ดูคำบรรยายของ the Math Trek 1,2,3 เพื่อเป็นตัวอย่างเพิ่มเติม
  • แก้ปัญหา (Problem Solving) ซอฟแวร์การแก้ปัญหาสอนทักษะและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่อง ดู The Manor House Mystery เป็นตัวอย่าง
  • จำลองสถานการณ์ (Simulation) ซอฟแวร์จำลองสถานการณ์สามารถจัดเตรียมสภาพที่คล้ายคลึงกับความเป็นจริง ซึ่งการจำลองไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตจริง หรือไม่เสี่ยงอันตราย ดู คำบรรยายของ Frog Dissection หรือ SimCity หรือ เว็บไซท์ สำหรับตัวอย่าง
  • เกมการศึกษา (Educational Game) ซอฟแวร์เกมส์สร้างการแข่งขันเพื่อให้ได้รับคะแนนสูงสุดและเอาชนะคู่แข่งหรือเอาชนะคอมพิวเตอร์ หรือทั้งสองอย่าง ดูคำบรรยายของ the Logical Journey of the Zoombinis เพื่อเป็นตัวอย่าง
  • ค้นพบ (Discovery) ซอฟแวร์การค้นพบจัดเตรียมฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เฉพาะเจาะจงไปยังแนวความคิดหนึ่งๆ หรือขอบเขตเนื้อหาหนึ่ง และท้าทายผู้เรียนให้วิเคราะห์ เปรียบเทียบ วินิจฉัย และหาค่า โดยยึดการสำรวจข้อมูลของเขาเป็นหลัก ดูคำบรรยายของ Geodynamics Multimedia Database หรือ เว็บไซท์ของพวกเขา เป็นตัวอย่าง

     มีคำหลายคำที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด (concept) ของ CAI เช่น Computer-Aided Instruction (CAI), Computer-Based Instruction (CBI), Computer-Aided Learning (CAL), Computer-Based Training (CBT), Computer-Based Education (CBE), Integrated Learning Systems (ILS) และคำอื่นๆ เช่น Intelligent Computer-Assisted Instruction (ICAI), Interactive Knowledge Retrieval systems (ITR) เป็นต้น

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา CAI แบ่งออกเป็นสี่กลุ่มคือ:

  1. ภาษาโปรแกรมระดับสูง (high-level languages) เช่น BASIC, Pascal, Logo และ C
  2. ภาษานิพนธ์บทเรียน (authoring languages) เช่น Coursewriter, Pilot และ Tutor
  3. ระบบนิพนธ์บทเรียน (authoring systems) เช่น PHOENIX, DECAL, Icon-Author, InfoWindow, LS1, SOCRATIC และ Authorware
  4. เครื่องช่วยนิพนธ์บทเรียน (authoring utilities) ซึ่งแบ่งออกได้อีกหลายชนิด เช่น lesson shell (ตัวอย่างโปรแกรม: Apple Shell Games), code generator (ตัวอย่างโปรแกรม: Screen Sculptor) และ library routines

     สำหรับระบบนิพนธ์บทเรียนของคนไทยที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ โปรแกรมจุฬา C.A.I. ของ นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ซึ่งได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527

     การตัดสินเลือกใช้เครื่องมือชนิดใด หรือการพิจารณาว่าเครื่องมือใดเหมาะกับคุณ ขอให้เริ่มคิดเสียก่อนว่า แท้ที่จริงแล้ว มีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องสร้างบทเรียนนั้น บางที บทเรียนที่คุณต้องการ อาจมีวางจำหน่ายอยู่แล้ว และหากว่าไม่มี ก็ขอให้คิดถึงการสร้างบทเรียนด้วยระบบนิพนธ์บทเรียน เนื่องจากใช้งานง่ายและช่วยประหยัดเวลาได้มากในการพัฒนาบทเรียน ทั้งนี้ ให้เข้าใจว่า บทเรียน CAI โดยทั่วไปที่ใช้สอนได้เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงนั้น ต้องการเวลาในการพัฒนากว่า 200 ชั่วโมงทีเดียว
 
 
 


หน้าที่ :: 9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved