Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14052896  

เรื่องราวรอบรู้

บทที่ 1 หลักการเบื้องต้น สำหรับการฝึกทักษะเด็กสมาธิสั้น



การช่วยเหลือเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้น นอกจากแพทย์จะให้ยากินเพื่อให้มีสมาธิในการเรียนแล้ว พ่อแม่และครูมีส่วนช่วยอย่างมาก ในการฝึกทักษะหลายประการที่เด็กสมาธิสั้นยังขาดอยู่ ซึ่งการขาดทักษะเหล่านั้น แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่างๆที่ทำให้หนักใจ เช่น ดื้อ ซน พูดไม่ฟัง ไม่มีระเบียบวินัย ไม่คิดก่อนทำ ไม่รอบคอบ ประมาทเลินเล่อ เอาแต่ใจตัวเอง การแก้ไขพฤติกรรมต่างๆนั้น ส่วนใหญ่จะยากลำบาก การฝึกทักษะที่ดีให้เกิดขึ้นก่อนจึงมีความสำคัญมาก เพื่อป้องกันเด็กสมาธิสั้นมีพฤติกรรมไม่ดีจนติดเป็นนิสัยไปจนโต การฝึกทักษะมักต้องใช้เวลานาน เป็นเดือนหรือเป็นปี ต้องอาศัยความอดทน ความเอาจริงเอาจัง ความสม่ำเสมอและร่วมมือของพ่อแม่อย่างมาก เด็กปกติทั่วๆไปนั้นมักฝึกพฤติกรรมได้เร็ว แต่เด็กสมาธิสั้นจะฝึกยาก ฝึกแล้วลืมง่าย ในระยะแรกๆพ่อแม่จึงไม่ควรคาดหวังผลเร็ว ไม่ควรเปรียบเทียบผลของการฝึกพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นกับเด็กทั่วๆไป การฝึกควรจะเริ่มตั้งแต่เด็กอายุน้อยไปสิ้นสุดเมื่อเด็กโตเป็นวัยรุ่นตอนปลายเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ถ้าต้องการประเมินผลการฝึก ควรเปรียบเทียบผลที่เกิดกับตัวเด็กเองโดยติดตามระยะยาว จะเห็นความสำเร็จชัดเจนขึ้นทีละน้อย โดยจะพบว่าเด็กมีพฤติกรรมที่ดีมากขึ้น และบ่อยขึ้นจนในที่สุดกลายเป็นนิสัยที่ดี และกลายเป็นบุคลิกภาพที่ดีติดตัวอย่างถาวรเมื่อพ้นจากวัยรุ่นเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ หลังจากนั้นการพัฒนาทักษะที่ดีเพิ่มเติมขึ้นอีก จะเกิดขึ้นได้ แต่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาจากภายในตัวเอง ในระหว่างวัยเด็กนี้ พ่อแม่และครูจึงเป็นผู้ช่วยสำคัญ ที่จะ ฝึกฝนส่งเสริมให้เด็กสมาธิสั้นมีทักษะเบื้องต้น เพื่อเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาตนเองในระยะยาวต่อไป

ก่อนเริ่มต้น เตรียมใจ ตามขั้นตอน ดังนี้

ขั้นแรก เข้าใจอาการต่างๆของเด็กสมาธิสั้น ช่วยให้ทำใจยอมรับพฤติกรรมหลายประการที่อาจแตกต่างจากเด็กอื่นอย่างมาก

ขั้นต่อมา ทำใจยอมรับว่า การฝึกต่อไปนี้ต้องใช้ความพยายาม ความอดทนอย่างสูงในการฝึก และเวลานานพอสมควรกว่าจะเห็นผลชัดเจน

ขั้นที่สาม ตั้งใจฝึกอย่างสม่ำเสมอ ความสำเร็จอยู่ที่การเอาจริง



ทำไมถึงต้องฝึกทักษะ


อาการของโรคสมาธิสั้นนั้นเริ่มแสดงให้เห็นตั้งแต่เด็กอายุน้อย แต่จะเริ่มวินิจฉัยได้ในวัยอนุบาล หรือเมื่อเริ่มเข้าวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 (6-7 ขวบ) อาการของโรคจะเห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ และดำเนินต่อไปจนเมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น อาการซน อยู่ไม่นิ่งจะน้อยลง เมื่ออายุมากขึ้น แต่อาการสมาธิสั้นจะยังคงมีอยู่ เด็กบางคนสามารถปรับตัวได้กับอาการขาดสมาธินี้ ด้วยการทำอะไรหลายๆอย่างในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อลดความเบื่อหน่าย แต่ในที่สุดงานก็เสร็จเหมือนกัน การพยายามปรับตัวบางอย่างได้ผลจะช่วยให้เขาปรับตัวได้ แต่อาการหลายๆอย่างของเด็กสมาธิสั้น แสดงออกเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น วู่วาม หุนหันพลันแล่น เวลาโกรธแล้วก้าวร้าวรุนแรงขาดการยั้งคิด ไม่มีระเบียบวินัย นึกอยากจะทำอะไรก็ทำโดยไม่ยั้งคิด ขาดการวางแผน พฤติกรรมเหล่านี้ต้องแก้ไขก่อนจะติดเป็นนิสัย การฝึกทักษะหลายอย่างที่เด็กสมาธิสั้นขาดอยู่ จะช่วยให้เขามีพฤติกรรมเหมาะสม ปรับตัวได้ดี พฤติกรรมดี นิสัยดี เรียนได้ดีเต็มความสามารถที่แท้จริง เป็นที่รักของพ่อแม่ญาติพี่น้อง เป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ และป้องกันปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ

เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น การตอบสนองของยาอาจลดลง แพทย์มักจะลดยาและหยุดยาได้ในช่วงวัยรุ่นนี้ การปรับตัวในวัยรุ่นจะดีหรือไม่ ขึ้นกับการฝึกทักษะต่างๆที่ผ่านมา ถ้าฝึกได้ดี วัยรุ่นจะควบคุมตัวเองได้โดยไม่ต้องใช้ยา การฝึกทักษะต่างๆตั้งแต่เด็กอายุน้อยจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปรับตัวในวัยต่อมา และช่วยให้ดำเนินชีวิตได้ดีในวัยผู้ใหญ่

ควรฝึกทักษะที่จำเป็นตั้งแต่เล็ก เพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมตอนโต




ปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น


ปัญหาพฤติกรรมหลัก


เด็กสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาพฤติกรรมมากกว่าเด็กทั่วๆไป ซึ่งเป็นปัญหาจากอาการหลักของโรคสมาธิสั้น 3 ประการ คือ

1. ซน อยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา ติดเล่น ไม่ใส่ใจการเรียน

2. ขาดสมาธิ จะไม่สามารถจดจ่ออยู่กับการทำงานได้นาน ทำงานไม่สำเร็จ เบื่อง่าย ขาดความตั้งใจที่จะทำ ไม่รับผิดชอบการทำงาน ขี้ลืม

3. ขาดการยับยั้งใจตนเอง ทำตามใจตนเอง หุนหันพลันแล่น ขาดการยั้งคิด ทำไปด้วยอารมณ์ สับเพร่า ประมาท เลินเล่อ ทำงานบกพร่องผิดพลาด ดื้อ ก้าวร้าวเกเร มีพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น

ปัญหาพฤติกรรมที่พบร่วม


เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นมีอาการที่รบกวนผู้อื่น ยากแก่การเลี้ยงดู ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางลบจากพ่อแม่และครูมาก ทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมตามมา เช่น การเอาใจตามใจหรือช่วยเหลือเด็กมากเกินไป การดุด่าว่ากล่าวลงโทษรุนแรง หรือการไม่เอาจริงปล่อยเด็กเกินไป ในที่สุดกลายเป็นปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • . การตามใจเด็กมากเกินไป ทำให้เด็กขาดการควบคุมตนเอง ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ไม่คิด ไม่วางแผนการให้เป็นระบบ เอาแต่ใจตัว ทำตามอารมณ์ตนเอง ไม่ฟังใคร เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง

  • . การช่วยเหลือเด็กมากเกินไป ทำให้เด็กช่วยตัวเองไม่เป็น บริหารเวลาไม่เป็น ทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ ขาดความมั่นใจตนเอง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในทางที่ดี ไม่แก้ปัญหาเอง พึ่งพาผู้อื่น หลบเลี่ยงปัญหา ขาดทักษะพื้นฐานในการปรับตัว

  • . การดุด่า ตำหนิ ประณาม ประจาน ลงโทษมากเกินไป ทำให้อารมณ์ไม่มั่นคง หงุดหงิดง่าย มองตนเองไม่ดี มองโลกในแง่ร้าย ขาดความภูมิใจตนเอง ขาดความกล้าคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์ เก็บกดความโกรธความก้าวร้าว และอาจแสดงออกเป็นความก้าวร้าวต่อผู้อื่น อาจกลายเป็นพฤติกรรมเกเรเมื่อโตขึ้น

  • . การปล่อยเด็กเป็นอิสระเกินไป ทำให้เด็กขาดระเบียบวินัย ขาดการควบคุมตนเอง ขาดทักษะส่วนตัว ขาดทักษะสังคม เอาแต่ใจตนเอง ตัดสินใจแบบขาดการยั้งคิด ตัดสินใจด้วยอารมณ์ ไม่ปรับตัวเข้าหาผู้อื่น ไม่อยู่ในกรอบกติกาของสังคม


ปัญหาพฤติกรรมเด็กเหล่านี้ ถ้าไม่แก้ไขต่อไปจะกลายเป็นปัญหาบุคลิกภาพที่ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

เด็กสมาธิสั้นมีปัญหาพฤติกรรมมาก ต้องการการฝึกอย่างต่อเนื่องระยะยาว




ปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ช่วยการฝึก


ปัจจัยที่ช่วยให้การฝึกทักษะต่างๆได้ผลดีนั้น มีดังนี้
  • . สุขภาพจิตที่ดีของพ่อแม่ การควบคุมอารมณ์ตนเอง ความสม่ำเสมอ การวางแผนและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน

  • . ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่กับเด็ก มีความรักอบอุ่นใกล้ชิดกัน

  • . พ่อและแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน มีความเห็นที่สอดคล้องกันหรือประนีประนอมกันได้ สามารถตกลงทำงานร่วมกันได้ดีแม้ว่าจะมีความเห็นแตกต่างกัน มีการประสานงานและช่วยเหลือแบ่งหน้าที่กัน มีเวลาและแรงจูงใจที่จะช่วยกันฝึก

  • . ความสามารถในการสื่อสารระหว่างกันในครอบครัว สามารถบอกความคิดความรู้สึก ความต้องการของกัน ยอมรับฟัง และตอบสนอง ประนีประนอมยอมรับกันด้วยเหตุผลและหลักการที่ดี

  • . ความเข้าใจปัญหาเด็กสมาธิสั้น รู้ว่าอาการของเด็กสมาธิสั้นนั้นเกิดจากอะไร ไม่หงุดหงิดต่ออาการต่างๆของเด็ก ยอมรับความแตกต่างของเด็กสมาธิสั้นกับเด็กปกติ มีความหวังต่อการช่วยฝึกทักษะ มองหาข้อดีของเด็กสมาธิสั้นเสมอ

  • . ความอดทน อดกลั้น ของพ่อแม่ที่มีต่อพฤติกรรมบางอย่างของเด็กสมาธิสั้น เช่น การเคลื่อนไหวมาก ยุกยิกอยู่ไม่นิ่ง การไม่ค่อยยั้งคิด ใจเร็วใจร้อนของเด็ก สามารถวางเฉยได้ในขณะที่กำลังฝึกให้เด็กดีขึ้น

  • . ความสามารถของเด็กในการช่วยเหลือตัวเอง เด็กได้รับการฝึกให้สามารถทำอะไรได้ตามวัยปกติของเขา เช่น การช่วยเหลือตนเองในการกิน การขับถ่าย การแต่งตัว การบอกความต้องการของตน การควบคุมตนเอง การรู้จักรอคอย เป็นต้น

  • . พื้นอารมณ์ของเด็ก ถ้ามีพื้นอารมณ์ดี การตอบสนองต่อการฝึกจะดี ฝึกง่าย เรียนรู้เร็ว ปรับตัวเร็ว

  • . เด็กรับทราบว่าตนเองมีเรื่องที่ต้องฝึก มีส่วนร่วมในการฝึก

  • . พ่อแม่และครูร่วมมือกัน ฝึกในทิศทางเดียวกัน ช่วยส่งเสริมกัน


พ่อแม่และครูต้องร่วมมือกันให้ถูกทิศทาง จึงจะฝึกเด็กสมาธิสั้นได้ผล




ประเภทของทักษะที่ควรฝึก


ทักษะที่จำเป็นต้องฝึกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ทักษะส่วนตัว เช่น ทักษะในการช่วยเหลือตัวเอง ทักษะในการควบคุมตนเอง ทักษะในการคิด การวางแผน การทำให้ได้ตามแผน การรอคอย ทักษะในการรู้และจัดการกับอารมณ์โกรธ

2. ทักษะสังคม เช่น ทักษะในการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน ทักษะในการเข้าสังคมทางบวก การให้การรับ การช่วยเหลือผู้อื่น การทำตัวให้เป็นประโยชน์ การควบคุมตนเองให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของสังคม การรู้ผิดชอบชั่วดี และควบคุมตนเองให้ประพฤติดี ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

ฝึกทักษะสังคมและส่วนตัวไปพร้อมกัน




การวางแผนการฝึก


ทักษะต่างๆที่พ่อแม่ควรฝึกให้แก่ลูกสมาธิสั้น มีหลายประการ ควรเลือกฝึกตามปัญหาจริง ก่อนการฝึก พ่อแม่ควรสังเกตว่าลูกมีปัญหาในทักษะข้อใด ทั้งนี้เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นบางคนมีปัญหาพฤติกรรมหลายอย่าง ทักษะบางอย่างจะเป็นพื้นฐานของทักษะอื่น การฝึกในระยะแรก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนก่อน แพทย์จะช่วยวิเคราะห์ได้ว่าเด็กมีทักษะใดที่ดีอยู่แล้ว ควรฝึกทักษะใดอีกบ้าง และควรเลือกฝึกข้อใดก่อน การเลือกวิธีฝึกและขั้นตอนในการฝึกที่ดี จะช่วยให้ฝึกได้ง่าย
  • . พ่อแม่ร่วมมือกันวางแผนการฝึก ให้ได้วิธีที่ตกลงร่วมกัน

  • . ก่อนการฝึก มีการพูดคุยตกลงกันล่วงหน้ากับลูก ว่าจะทำอะไร ทำไปทำไม เริ่มเมื่อใด ลองปฏิบัติถึงเมื่อใดแล้วจึงจะประเมินผล

  • . ให้ลูกมีส่วนร่วมในการวางแผน แต่อยู่ในกรอบกติกาที่เหมาะสม ในวัยรุ่นอาจมีรับฟังความคิดเห็นมากขึ้นกว่าเด็ก อาจมีการประนีประนอมมากขึ้น ให้เขามีส่วนร่วมในการวางแผนและตั้งข้อกำหนดกติกาต่างๆ

  • . ชมเมื่อเริ่มทำด้วยตัวเอง ชมความพยายาม ความตั้งใจ ไม่ควรชมสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
  • . พยายามจูงใจให้ทำมากกว่าการบังคับให้ทำ

  • . ในกรณีที่ไม่สามารถทำตามที่วางแผนไว้ได้ ให้วิเคราะห์สาเหตุทันที พยายามแก้ไขและทำให้ได้ตามที่วางแผนจนถึงเวลาที่กำหนดไว้

  • . เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ มีการประเมินผล อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนการในช่วงเวลาต่อไป สรุปชมข้อดีของเด็ก วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคหรือโอกาสพัฒนา เพื่อวางแผนขั้นตอนต่อไป

  • . พ่อแม่ประสานงานกับครู ฝึกเด็กให้สอดคล้องและส่งเสริมกัน


เลือกแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาบางพฤติกรรมก่อน แก้ทีละปัญหา


บทต่อไปจะเป็นการฝึกทักษะต่างๆที่พบในเด็กสมาธิสั้น สามารถนำไปฝึกในเด็กทั่วไปได้ ครูนำไปใช้ฝึกเด็กในโรงเรียนได้เช่นกัน


หน้าที่ :: 17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved