Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14041631  

เคล็ดลับครูมืออาชีพ

กรอบความคิดในการพัฒนา คุณภาพการศึกษา
โดย ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์


@ สภาพปัญหาที่น่าสนใจ

เราพบว่าในขณะนี้ผลการประเมินจากหลายๆ แหล่ง ยืนยันว่าคุณภาพของเด็กไทยตกต่ำลงเรื่อยๆ และเมื่อไปเทียบกับประเทศอื่นๆ คุณภาพก็ต่ำกว่ามาก เช่น ผลการสอบ NT ได้ร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็มในวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ, ผลการประเมินของ สมศ. คุณภาพระดับผ่านมีจำนวนลดลง แต่คุณภาพระดับการคิด และการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับพอใช้ แต่คุณภาพโดยรวมลดลง และผลการประเมินของ OECD (Oganization for Economic Co-operation and Development) จัดประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 44-46 ในจำนวน 57 ประเทศ ในปี ค.ศ.2006

ในด้านคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวังจะให้เกิดขึ้นในสังคมไทย อยากเห็นเยาวชนไทยมีความรู้ ความสามารถในด้านการคิด ทักษะในการทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ตัดสินใจเพื่อสังคมส่วนรวมและประเทศชาติ และอยากเห็นเยาวชนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ เจริญงอกงามครบสมบูรณ์ทุกด้าน เติบโตเป็นทั้งคนดีและคนเก่งของสังคม แต่สังคมไทยในปัจจุบันกลับมีการแสดงออกในทิศทางที่ตรงกันข้าม เช่น ผู้คนมักแสดงออกตามกระแสนิยม ความคิดไม่เข้มแข็งพอ ส่งผลให้สภาพสังคมอยู่ในสภาวะแตกแยก ทักษะและค่านิยมในการทำงานต่ำ จึงไม่มุ่งทำงานเพื่อให้เกิดคุณภาพของงาน และผลงานที่นำประโยชน์สู่สังคมโดยรวม

@ จากการวิเคราะห์

ผลเหล่านี้ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนไปจนสั่งสมเป็นวัฒนธรรมแบบไม่เอื้ออาทรต่อกัน และละเลยกฎเกณฑ์ทางสังคม จนกระทั่งก้าวเลยไปถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนในสังคมโดยรวม

สำหรับในด้านการศึกษา ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเร่งรัดในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม แต่ก็ยังไม่ได้เน้นย้ำให้ชัดเจน เช่น รัฐบาลยังไม่ได้คัดเลือกบุคคลที่ควรได้รับการยกย่องเป็นคนดีในสังคม ซึ่งในสังคมไทยก็มีไม่น้อย เพื่อมาเป็นตัวอย่างให้เยาวชนยึดเป็นแบบอย่างให้ชัดเจน เพราะแบบอย่างที่ดีจะเกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเป็นไปตามประสบการณ์ และสังคมแวดล้อมสำคัญในการจัดการศึกษา

การจัดการศึกษาให้ได้ผลดีและเกิดผลคุณภาพในเกณฑ์ระดับสูงได้นั้น ควรเพิ่มหลักการสำคัญในการพัฒนา 3 ประการ ดังนี้

ประการแรก ควรกำหนดให้ชัดเจนว่า ผู้เรียนควรมีมาตรฐานอะไรบ้าง และกำหนดมิติคุณภาพในแต่ละมิติ เช่น มิติคุณภาพด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านเจตคติ แล้วจัดเป็นระดับคุณภาพในแต่ละมิติจากขั้นต่ำไปสู่ขั้นสูง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นการฉายคุณภาพแบบภาพรวมของนักเรียนทุกคน แล้วนำมายึดเป็นธงหรือคุณภาพเป้าหมายให้เหมือนๆ กัน เป็นหลักการที่ทุกคนนำไปใช้พัฒนาได้จริง ดังนั้น ธงหรือคุณภาพเป้าหมายทางการศึกษาจึงไม่ควรเปลี่ยนแปลงไปตามวาระของระบบการเมืองไปเรื่อยๆ จนทำให้การบริหารและการพัฒนาขาดความต่อเนื่อง และไร้เป้าหมาย

ประการที่สอง ควรดำเนินการติดตามตรวจสอบ ต้องใช้ระบบการประเมินที่สอดคล้องกับความเป็นเหตุเป็นผลกันของวิธีการกับผลที่ต้องการ รวมทั้งต้องพัฒนาหาวิธีการประเมินที่ใช้งบประมาณสิ้นเปลืองน้อย แต่ได้ผลและเกิดผลดีอย่างถาวร เพื่อนำไปใช้เป็นหลักการในการขยายผล และไม่ควรใช้วิธีแบบเน้นผลงานแบบเร่งด่วน ผิวเผินแต่ขาดหลักการพัฒนา จึงได้แต่ผลแบบที่มีคุณภาพต่ำ สิ้นเปลืองและไม่คุ้มค่า

ประการที่สาม การนำเสนอผลงานหรือระบบการรายงานผล ต้องเน้นให้เป็นลักษณะการนำเสนอในรูปแบบการแสดงออกจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นผลงานจากการคิด ผลงานจากการปฏิบัติ จึงต้องเน้นย้ำผลคุณภาพที่ประกอบไปด้วยการปฏิบัติจริง คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และความชื่นชม ซึ่งต้องการวัดและการประเมินด้วยผลงานจริง จากการลงมือทำจริง

@ ยุทธศาสตร์สำคัญ

การดำเนินงานจึงต้องพิจารณาแนวทางที่นำไปสู่ผลได้จริง เพื่อให้เป็นหลักการสำคัญของการที่มุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยตรง

เริ่มต้นจาก ผู้บริหารระดับสูงหรือระดับนโยบายกำหนดว่า คุณภาพเป้าหมายของผู้เรียนที่ชาติต้องการ เป็นคุณภาพเป้าหมายแบบใด ต้องกำหนดคุณลักษณะภาพของคนไทยที่เป็นแบบอย่างและเป็นสัญลักษณ์ของคนไทย มาประกาศให้เป็นตัวอย่างภาพรวมของชาติ เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการได้นำไปกำหนดในหลักสูตร เพื่อกำหนดให้ผู้เรียนต้องมีความคิดที่เข้มแข็ง มีความสามารถในการผลิตผลงาน ร่วมพัฒนาสังคม และมีจิตใจงดงามแบบไทย

เมื่อเราได้ภาพบุคคลคนไทยในอุดมคติแล้ว กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต้องนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้รางวัลตามผลแห่งคุณภาพ ทำให้โรงเรียนเห็นภาพฉายของบุคคลแห่งคุณภาพได้ชัดเจน และนำไปใช้สอนในโรงเรียนได้ และนำไปใช้เป็นเกณฑ์ตรวจสอบคุณภาพในการจัดการศึกษาของแต่ละสถานศึกษา จึงจะเห็นผลคุณภาพที่เป็นจริง ซึ่งต่างจากการเน้นสอบเพียงอย่างเดียว เพราะมีสถานศึกษาจำนวนมากที่ไม่สามารถอธิบายถึงความหมายของคะแนนที่นักเรียนสอบได้ เช่น นักเรียนสอบได้ร้อยละ 90 แต่ผู้บริหารหรือครูผู้สอนไม่สามารถอธิบายได้ว่านักเรียนคนนั้นคิดอะไร ทำอะไร แก้ปัญหาอะไรเป็นบ้าง ผลของการคิด การทำ การแก้ปัญหา ก็ไม่มีร่องรอยให้เห็น ดังนั้น การสอบจึงเป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่งของการวัดผลประเมินผลเชิงคุณภาพเท่านั้น แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

ดังนั้น องค์กรทางการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจึงต้องทำงานอย่างมีหลักการเชิงระบบ เพื่อให้เกิดคุณภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริง คือกำหนดเป้าหมายงานให้ชัดเจน เป็นจริง เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้ แล้วประเมินได้ด้วยผลงานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริง, หาแนวทาง วิธี ขั้นตอนปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งเมื่อลงมือทำแล้วเกิดความสำเร็จได้จริง และมีการตรวจสอบที่สอดคล้องกับความเป็นเหตุเป็นผลกันของวิธีการกับผลที่ต้องการ และการรายงานผล ต้องมีงานที่ผู้เรียนทำได้จริง มีคุณภาพตามเกณฑ์มาเสนอประกอบงานด้วย มิใช่รายงานเฉพาะผลจากการสอบด้วยข้อสอบแบบเลือกตอบเท่านั้น

เมื่อกำหนดกรอบความคิดชัดเจนแล้ว จึงดำเนินการสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน อาจโดยการจัดประชุม อบรมให้กับครูอาจารย์เพื่อนำไปปฏิบัติจริง

แนวทางดังกล่าวจะช่วยเสริมให้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการเพิ่มคุณภาพผู้เรียน ด้วยการเพิ่มคุณภาพวิธีจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู และวิธีเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้เน้นการจัดการความรู้หรือการออกแบบการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดผลย้อนกลับไปให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุปความคิดรวบยอด หลักการ เป็นความรู้ของตนเอง (Backward Design) โดยใช้วิธีเรียนตามขั้นตอนการเรียนรู้ GPAS ให้สำเร็จได้โดยง่าย

(G=Gathering ขั้นเลือกข้อมูล, P=Process ขั้นจัดข้อมูล คิดวิเคราะห์ วิจารณ์, A=Applying ขั้นนำไปใช้ โดยกำหนดขั้นตอน และลงมือปฏิบัติ, S=Self-Regulating ขั้นเรียนรู้เอง รู้จักประเมินเพื่อเพิ่มคุณธรรมจนเป็นนิสัย กลายเป็นตัวตนของผู้เรียน)



ที่มา - มติชนรายวัน หน้า 7 - วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11208


หน้าที่ :: 32   33   34   35   36   37   38   39  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved