Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14024129  

ชุมชนคนสร้างสื่อ

  

บทเรียนโปรแกรม (Programmed Instruction)

 
ความหมายของ Programmed Instruction
 
     Programmed Instruction มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปหลายชื่อเป็นต้นว่า Programmed Learning, Auto – Instruction, Automated Instruction, Auto – Instruction Programming, Self–Teaching, Self Instruction Program และIndividual Tutoring เป็นต้น ไม่ว่า Programmed Instruction (บทเรียนโปรแกรม) จะมีชื่อเรียกอย่างไรก็ตาม แต่ลักษณะทั่ว ๆ ไปก็คล้ายคลึงกัน (กรองกาญจน์ อรุณรัตน์. 2536 : 1 และ (ร่วมศักดิ์ แก้วปลั่ง 2522:2)

     Programmed Instruction คือ เครื่องมือทางการศึกษาชนิดหนึ่ง ที่สามารถทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่จัดวางไว้เป็นลำดับขั้นตอน เป็นการจัดระบบการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนไปตามความสามารถของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ในProgrammed Instructionนั้นจะเป็นการเรียนตามลำดับจากง่ายไปหายาก โดยจะประกอบด้วย เนื้อหา แบบฝึกหัด คำสั่ง คำเฉลย ตลอดจนการให้แรงจูงใจผู้เรียน สำหรับความหมายของคำว่า “Programmed Instruction” นั้น ได้มีนักเทคโนโลยีทางการศึกษาหลายท่านให้คำจำกัดความ ไว้ดังนี้

     กรองกาญจน์ อรุณรัตน์ (2536 : 1 – 2 ) กล่าวว่าProgrammed Instruction เป็นสิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยตนเอง โดยแบ่งเนื้อหาและบทเรียนออกเป็นส่วนย่อยๆ สั้นๆ ซึ่งเรียกว่า กรอบ (Frame) แต่ละกรอบจะบรรจุคำอธิบายและคำถามที่ต่อเนื่องกันไป เริ่มจากระดับที่ง่ายมากแล้วยากขึ้นตามลำดับ หากเราต้องการที่จะเรียกอะไรว่าเป็น Programmed Instruction นั้น จะต้องพิจารณาว่าสิ่งดังกล่าว มีลักษณะที่สอดคล้องกับความหมายของคำว่า “Programmed” หรือไม่ ซึ่งคำว่า “Programmed” แท้จริงแล้วมีความหมาย 2 ประการ คือ

1. การวางแผนและการเตรียมวัสดุการเรียนการสอน (เนื้อหา) จะต้องเป็นระบบ

2. จะต้องมีการจัดวัสดุการเรียนการสอน (เนื้อหา) อย่างรอบคอบ

     กิดานันท์ มลิทอง (2535:70) กล่าวว่าการสอนแบบ Programmed Instruction มีพื้นฐานจากการนำหลักการเบื้องต้นทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบซึ่งอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning Behavior) ทฤษฎีการเสริมแรง(Reinforcement Theory) และทฤษฎีการวางเงื่อนไขเชิงปฏิบัติ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งถือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาศัยการสอนที่วางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองโดยได้รับผลย้อนกลับทันที และให้ผู้เรียนได้เรียนไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของตน

     เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต (2528:276) กล่าวว่า Programmed Instruction เป็นบทเรียนที่สำเร็จรูปในตัวเอง จัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนตามลำดับเป็นขั้นตอนหรือเป็นกรอบๆ (Frame) ตามลำดับ ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเองและสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามลำดับขั้นด้วยตนเอง ในเนื้อหาแต่ละกรอบจะมีคำถามเพื่อตรวจเช็คความเข้าใจในเนื้อหานั้น และมีคำตอบเฉลยไว้ให้ ถ้าผู้เรียนตอบผิดจะต้องอ่านเนื้อหาในกรอบนั้นใหม่ แล้วตอบคำถามอีกครั้งหนึ่ง เมื่อตอบถูกจึงจะเรียนกรอบต่อไปได้

     เปรื่อง กุมุท (2527 : 2) กล่าวว่า Programmed Instruction เป็นการลำดับประสบการณ์ที่จัดวางไว้สำหรับนำผู้เรียนไปสู่ขีดความสามารถ โดยอาศัยหลักความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนองซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ

     ชม ภาคภูมิ (2524:116) กล่าว่า Programmed Instruction คือ ลักษณะหนึ่งของการเรียนการสอนรายบุคคลเหมือนกับเรียนกับครูที่ดีตัวต่อตัวอย่างหนึ่ง บทเรียนจะเสนอความรู้เป็นตอนๆ ทีละน้อย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตอบสนองตลอดเวลา และมีการเสริมแรงให้ผู้เรียนอยากเรียนต่อไปด้วยการเฉลยคำตอบให้ทราบทุกครั้ง

     สนม ครุฑเมือง (2524:10-11) กล่าวว่า Programmed Instruction คือ บทเรียนที่สร้างขึ้นเพื่อให้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการแบ่งเนื้อหาเป็นขั้นตอนและมีแบบฝึกหัด ผู้เรียนสามารถรู้ผลการเรียนด้วยตนเอง

     สันทัด ภิบาลสุข (2522: 51–52) สรุปว่า Programmed Instruction เป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่งซึ่งได้จัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ไว้อย่างมีระเบียบและเป็นไปตามลำดับขั้น ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง และเรียนได้เร็วช้าตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลารอคอยกัน ในการเรียนรู้จาก Programmed Instruction นั้นผู้เรียนต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของบทเรียนอย่างเคร่งครัด และด้วยความซื่อสัตย์

     วิททิช และคนอื่นๆ (Wittich and others.1962 อ้างอิงจาก สันทัด ภิบาลสุข 2522 : 51) กล่าวว่าProgrammed Instruction เป็นระบบการเสนอบทเรียนอย่างมีระเบียบทีละเล็กทีละน้อย บทเรียนแต่ละตอนจะมีเรื่องที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ และจะมีปัญหาถามเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยตรงเพื่อให้ผู้เรียนตอบปัญหานั้น จากนั้นก็จะเฉลยคำตอบที่ถูกต้องProgrammed Instruction แต่ละตอนประกอบด้วยเนื้อหาที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า กรอบ (Frame) ซึ่งกรอบในลำดับต้นๆ จะเชื่อมโยงชักนำไปสู่กรอบต่อไปเสมอ

     กูด ( Good.1973 : 306 ) กล่าวว่า Programmed Instruction หมายถึง บทเรียนที่นำมาใช้ในรูปแบบของสมุดแบบฝึกหัด ตำราเรียนเครื่องกล หรือเครื่องประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้บรรลุระดับการกระทำที่ระบุไว้ ดังนี้

1. เนื้อหาของบทเรียน ถูกจัดแบ่งออกเป็นขั้นตอนเล็ก ๆ

2. ในแต่ละระดับขั้นของบทเรียนจะมีคำถามอยู่หนึ่งคำถามหรือมากกว่าหนึ่งและ

จะกระทำให้ผู้เรียนได้รู้ผลทันทีทันใด แม้จะตอบคำถามถูกหรือผิดก็ตาม

3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนก้าวหน้าไปตามความสามารถของตนเอง ไม่ว่าจะเรียนแบบเอกัตบุคคล หรือเรียนเป็นกลุ่ม

     จากความหมายของProgrammed Instruction ที่กล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า “Programmed Instruction” หมายถึง เทคนิคการให้การเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาบทเรียนด้วยตนเองตามความสามารถของตนเองโดยการนำเอาหลักการทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเสริมแรง และทฤษฎีการวางเงื่อนไข เข้ามาร่วมใช้ประกอบกันในบทเรียน ดังนั้นเนื้อหาของบทเรียนจึงต้องแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ และเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไปตามลำดับขั้นตอน มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันที เมื่อผู้เรียนตอบถูกหรือผิดก็มีการเสริมแรงและให้กำลังใจแก่ผู้เรียน ผู้เรียนสามารถรู้ผลการเรียนของตนเอง ทั้งนี้ ผู้เรียนต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในบทเรียนอย่างเคร่งครัดและซื่อสัตย์

 
 


หน้าที่ :: 1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved