Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14213212  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

สปศ.

ตั้งกระทู้เมื่อ
16 มิ.ย. 2557
  ทางสายใหม่เพื่อชาวนาไทยยั่งยืน
       

          วิกฤติปัญหาชาวนาในช่วงปีที่ผ่านมา ถูกกะเทาะเปลือกปัญหาชาวนาออกมามากมายครบวงจรการผลิต ตั้งแต่ปัญหาด้านที่ดิน ปัญหาต้นทุนการผลิตตั้งแต่พันธุ์ข้าว ปุ๋ย ยา ปัญหาด้านแรงงาน ปัญหาด้านการดูแลนาข้าว การเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขายข้าวเปลือก หรือผลผลิต ซึ่งการแก้ไขที่ผ่านมาของภาครัฐและรัฐบาลมักจะดูแลช่วยเหลือพยุงราคา ประกันราคา ตลอดจนจำนำข้าว อันเป็นการช่วยเหลือเฉพาะในส่วนของผลผลิต
          หากแท้จริงแล้วการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องจะต้องวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ซึ่งค้นพบในทุกเส้นทางของการทำนาตลอดฤดูการผลิต ที่ชาวนาต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคนานาประการ เกิดคำถาม ว่า ทำอย่างไร จึงมีแนวทางในการนำความรู้มาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งแน่นอนหากจะต้องการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต้องปรับเปลี่ยนทั้งระบบ หากไปแก้ไขที่เยาวชนที่จะเข้าสู่แรงงานในภาคเกษตรก็จะเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมต่ออนาคตของเกษตรกรไทย
          น.ส.พรพิรัตน์ คันธธาศิริ หัวหน้าหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (การประกอบการภูมินิเวศน์วัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ จะเริ่มเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรภูมินิเวศน์วัฒนธรรม ที่มาของหลักสูตรเป็นการปฏิรูปการศึกษาแบบใหม่ไม่ใช่แค่วิชาการอย่างเดียว ตามแนวคิดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
          เน้นการนำเอาปัญหามาเป็นแบบเรียนเน้นปฏิบัติจริง ประกอบกับประเทศไทยมีเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก หลักสูตรนี้จึงมุ่งหมายที่จะให้เกิดเกษตรกรที่เป็นผู้ประกอบการได้บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เกษตร ข้าว พืชไร่ พืชสวน ปศุสัตว์ และประมง ส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนในบ้านเกิด ในอาชีพเกษตรที่เป็นอาชีพส่วนใหญ่ของไทย ไม่เกิดสมองไหลไปทำงานในภาคอุตสาหกรรม
          น.ส.พรพิรัตน์ ชี้แจงว่า หลักสูตรดังกล่าวเป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้วัฒนธรรมร่วมกับการสร้างสรรค์ สอนทักษะในการประยุกต์ใช้เหตุและผลในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยการสอนในเรื่ององค์ความรู้และรู้รอบ โดยเน้นการปฏิบัติจริงตั้งแต่ปี 2 ที่ต้องออกไปเรียนรู้กับเกษตรกรจริง ในด้านวิทยาศาสตร์เกษตร ประกอบกับการเรียนในด้านบริหารจัดการเกษตร ซึ่งจะเรียนลึกมากขึ้นในแต่ละระดับชั้น นักศึกษาที่จบออกมาจะเป็นผู้ประกอบการเชิงเกษตรที่มีความคิดสร้างสรรค์ทำเกษตรแบบไม่จน เรียนรู้กระบวนการทำการเกษตร สอนให้เรียนรู้ว่ากระบวนการแต่ละขั้นตอนของเกษตรนั้นๆ อย่างละเอียด ส่วนที่แตกต่างกับหลักสูตรอื่นที่สำคัญ คือ บทบาทของอาจารย์จะเป็นโค้ชชิ่ง ทดแทนรูปแบบเดิมๆ ในลักษณะบรรยาย หรือเลคเชอร์ ที่พิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          นักศึกษาจะต้องเรียนรู้ให้ผลิตได้ และแปรรูปเป็น จึงเป็นได้ทั้งเกษตรกร และผู้ประกอบการเกษตร สร้างมุมมองว่าอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่สร้าง รายได้ให้เขาได้ เรียนรู้ด้านวัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ให้รู้ว่าการกินการอยู่ที่เป็นภูมิวัฒนธรรมเป็นรากฐานการเกษตร ชี้ให้เห็นคุณค่าของสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ แล้วหาแนวทางที่เหมาะสมในการประยุกต์ใช้กับการทำเกษตรได้
          นอกจากนี้นักศึกษายังต้องเรียนรู้วัฒนธรรมเพื่อให้เห็นถึงอดีตแล้วนำสิ่งที่ดีในอดีตมาประยุกต์ใช้ ในรายวิชาการประกอบการสร้างสรรค์จะใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือที่เรียกว่า ครีเอทีฟ อีโคโนมี ให้เห็นคุณค่าสิ่งที่มีอยู่แล้วสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
          การจัดตั้งหลักสูตรภูมินิเวศน์วัฒนธรรม ในมหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระหว่างกระบวนการเตรียมจัดตั้ง คาดว่าจะสามารถรับนักศึกษาได้ในปีการศึกษา 2558 ผู้ที่จะเข้ารับการศึกษาจะมาจากนักเรียนมัธยมสายสามัญ และวิทยาลัยเกษตรในรูปแบบรับตรง ซึ่งในปัจจุบันได้ติดต่อกับวิทยาลัยเกษตรที่อยู่ใน จ.นครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง
          วิทยาเขตนครสวรรค์ต้องการตอบสนองความต้องการแก้ไขปัญหาพื้นที่ในภูมิภาคเหนือตอนล่าง พื้นที่ 7 จังหวัด คือ ตาก อุทัย พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ชัยนาท และนครสวรรค์ มีสินค้าเกษตรสำคัญคือ ข้าว และอ้อย เป็นที่มาของรายได้กว่า 70% ของพื้นที่ นโยบายของวิทยาเขตมองว่า นครสวรรค์เป็นฮับของพื้นที่ของข้าว เป็นที่ตั้งของท่าข้าว และต้นน้ำเจ้าพระยา นครสวรรค์จึงต้องสร้างทั้งคนทั้งอาชีพให้รองรับการประกอบธุรกิจเกษตร ทั้งนี้จากการเรียนการสอนที่ต้องใช้การฝึกปฏิบัติจริงให้เรียนรู้การแก้ไขปัญหา
          "ด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ และเกษตรปลอดภัย และแนวคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียง จะทำให้เกิดเด็กรุ่นใหม่ที่จะก้าวเข้าสู่อาชีพเกษตรกร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ จึงมีแนวคิดจะปฏิรูปและพลิกฟื้นให้เปลี่ยนจากวิถีเกษตรไม่ยากจน เป็นเกษตรที่ร่ำรวย ให้เลี้ยงตัวเองรอดได้อย่างยั่งยืน หาวิธีเพิ่มมูลค่าผลผลิต รองรับยุทธศาสตร์ครัวของโลก การสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่การสร้างความรู้อย่างแท้จริงให้แก่เยาวชนเพื่อช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเป็นไปได้อย่างถูกต้อง" น.ส.พรพิรัตน์ กล่าว
          พบกับการพูดคุยและการหาแนวทางร่วมกันจากภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้ชาวนาไทยมีทางออกแบบยั่งยืนได้ใน "เวทีเสวนาสัญจร" หัวข้อ "ชาวนายั่งยืน ชาติไทยยั่งยืน" ในวันที่ 23 มิถุนายน ที่ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
 
'มหิดล'คลอดหลักสูตรชาวนาอาชีพสร้างเยาวชนเป็นนักเกษตรธุรกิจ 
 


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
16 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 1
 
นักศึกษาที่จบออกมาจะเป็นผู้ประกอบการเชิงเกษตรที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดแล้วมีความสุขจริงเลย




Zabver

ตอบกระทู้เมื่อ
16 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 2
วิถีชนไทยในอุดมคติ 
ขอให้มีเด็กรุ่นใหม่มาลงทะเบียนเรียนกันเยอะๆ เด็กในพื้นที่นะ
แล้วท่าจะต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรระบบการตลาด
ไม่อย่างนั้น ผลผลิตราคาตกต่ำ ก็ต้องอุ้มกันไปตลอดชาติ


เจได

ตอบกระทู้เมื่อ
16 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 3
แรงงานต่างประเทศจ่อเข้าไทยเพียบเลย เด็กไทยหนีไปเรียนช่างสร้างชาติหมดแล้ว ถ้าจะให้ได้ผลเลิศต้องให้เจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาลงทะเบียนเรียน จัดเป็นหลักสูตรอบรม 200 ชั่วโมงเพื่อปฏิบัติหน้าที่จริงในพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกรที่มีอยู่ ให้เด็กรุ่นใหม่มองเห็นว่าทำได้ผลจริง


คันนา

ตอบกระทู้เมื่อ
16 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 4

เด็กส่วนใหญ่ที่มุ่งมาเรียนทางด้านนี้ส่วนใหญ่จะมีเป้าหมายของตัวเองอยู่แล้ว มีพื้นที่สร้างผลผลิต มีพื้นฐานทางครอบครัวสนับสนุน นับว่าเป็นแนวคิดที่ดีมากๆ มองอนาคตในเชิงรุก ห่วงแต่ว่าบางคนกว่าจะเรียนจบมา ที่นาก็หมดไปแล้ว (ขายนาส่งควาย)  เฮ้อ



ObOb

ตอบกระทู้เมื่อ
16 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 5
พอมองเห็นอนาคตเชิงรุกได้ลางลางของหลักสูตรเพื่อผลผลิตที่ดีกว่า
แต่กลไกการตลาดเพื่อเกษตรกรบ้านนี้เมืองนี้ยังอ่อนแอ
วงจรความร่ำรวยบนความยากจนยังอยู่ ชาวนาไทยก็ยังลำบากครือเก่า


Jaew

ตอบกระทู้เมื่อ
16 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 6
 
ย้อนไปอ่านแล้วมีความสุข อยากเห็นบรรยากาศเมืองเกษตรกรรม
 
“...คนไทยเก่งสามารถปลูกพืชผักได้ตลอด รู้ว่าช่วงไหนปลูกอะไร ถ้าดินแห้งก็รู้จักปรับปรุง ดูแลให้ต้นไม้อยู่ได้ ออกผลผลิต ไม่เหมือนที่ติมอร์ฯ พอดินแห้งก็ปล่อยให้ต้นไม้ตาย ไม่แก้ปัญหา 2 อาทิตย์ที่อยู่เมืองไทยทำให้รู้ว่ากลับมาแล้วต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้คนที่นี่พึ่งตัวเองได้ มีผลผลิตเก็บไว้กิน แล้วยังมีเหลือไว้ขาย..

นายเปา เซเกรา หัวหน้าหมู่บ้านเฮรา ชานกรุงดิลี ผู้ได้รับเลือกให้มาดูการทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงที่เชียงใหม่ กล่าวระหว่างนำคณะ นายธวัชชัย คูภิรมย์ เอกอัครราชทูตประจำกรุงดิลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์เลสเต นายธนัติพงษ์ สมิตะพินทุ ที่ปรึกษาฯ และผู้สื่อข่าวติดตามความคืบหน้า โครงการศึกษาดูงานด้านเกษตรผสมผสานและเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประเทศติมอร์ฯ

นายเปา บอกว่า...หลังไปดูงานที่เมืองไทย กลับมาแล้วอยากสอนคนในหมู่บ้านทำปุ๋ยหมัก แต่คนติมอร์ฯไม่ชอบสกปรก เรื่องเหม็นๆจะไม่ค่อยทำกัน ไม่ชอบเก็บขี้วัว ขี้หมูมาทำปุ๋ย...เอาสะดวก ไว้ก่อน และมีนิสัยชอบเอาเงินไปซื้อ ยิ่งเวลานี้หลายคนเริ่มหันไปใช้ปุ๋ยเคมีกันมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่เหมือนคนไทยที่เอาขยะมาทำประโยชน์ หมักทำปุ๋ย โดยไม่สนใจว่าจะเหม็นแค่ไหน แต่มันกลับทำให้มีเงินเข้ากระเป๋าตลอด ทุกพื้นที่จะใช้ประโยชน์ปลูกผัก บางจุดที่ดินไม่ดีพื้นที่น้อยปลูกไม่ได้ ก็เอาถุงพลาสติกมาใส่ปุ๋ยหมัก ใส่ดินปลูกพืชให้เลื้อยขึ้นไปบนหลังคาบ้าน คนไทยขยันจริงๆ แนวคิดแบบนี้จะเอามาทำที่เฮราบ้าง เพื่อให้ชาวบ้านที่นี่เห็นแล้วทำตาม จะได้มีเงินใช้กัน มีชีวิตที่ดีขึ้นเหมือนคนไทย
ตอนนี้ไปทางไหนเห็นขี้วัว ขี้หมู จะเก็บเอามาทำปุ๋ยหมัก พอได้ที่จะเอาไปผสมกับดินดำ แกลบเผา หมักใส่ถุงดำไว้ สำหรับปลูกแตงกวา ให้ชาวบ้านที่นี่ดูแล้วทำตาม เพราะถ้าจะมาพูดเล่าให้ฟังคงไม่ได้ผล เพราะคนที่นี่ไม่ชอบทำงาน...แม้แต่ผักบุ้งในนาก็ยังซื้อกินส่วนพื้นที่นาที่เคยรกไปด้วยวัชพืช ก็หวดหญ้าถางนา ปล่อยให้ต้นวัชพืชเน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ย ส่วนที่ดินอีกแปลงจะทำนาสาธิตเปรียบเทียบ เอาเชือกมาขึง ปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว มีระเบียบ วิธีนี้กำจัดวัชพืชง่าย กอข้าวแตกกอได้ดีต้นใหญ่ ช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าว เปรียบเทียบให้ชาวบ้านเห็น เพราะคนติมอร์ฯยังจะปักดำกล้าไม่เป็นระเบียบ เอาแค่ปลูกให้เต็มพื้นที่เข้าไว้เท่านั้น

นอกจากนั้น ยังทำกรงเลี้ยงไก่...ต่างจากเมื่อก่อน ที่คนติมอร์ฯจะเลี้ยงแบบผูกขาไก่ล่ามไว้กับเสา จึงเลี้ยงได้แค่ตัวสองตัวเท่านั้นและยังขุดบ่อเลี้ยงปลานิล ซึ่งเป็นเรื่องใหม่เพราะคนที่นี่นิยมกินปลาทะเล แต่หลังเปิดประเทศทำให้มีชาวต่างชาติเข้ามาอยู่กันมาก การกินการอยู่จึงเปลี่ยนไปปลานิลในบ่อที่เลี้ยงไว้วันนี้เริ่มมีพ่อค้าเข้ามาดูหลายราย ราคาขายอยู่ที่ กก.ละ 180-250บาท นับว่าดีทีเดียว...แพงกว่าเมืองไทย 2-3 เท่าตัว.
 
ขอบคุณที่มา : เพ็ญพิชญา เตียว


kanokwan

ตอบกระทู้เมื่อ
17 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 7

ดร.ชาญเวช บุญประเดิม ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาตนได้ไปร่วมพิธีปิดและมอบวุฒิบัตรให้แก่นักศึกษา ปวส.ที่ผ่านการฝึกปฏิบัติด้านการเกษตรระยะเวลา 10เดือน ณ ศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรนานาชาติเขตอราวา ประเทศอิสราเอล รุ่นที่14 ทำให้ได้ข้อมูลว่าอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กไทย คือ ปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ทั้งกับอาจารย์ที่ปรึกษา เกษตรกรชาวอิสราเอล รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนนักศึกษาชาติอื่นๆ แม้จะมีครูพี่เลี้ยงที่เป็นรุ่นพี่ช่วยเป็นล่ามให้ แต่ก็มีจำนวนไม่มาก ในขณะที่มีนักศึกษานับร้อยคน ทำให้อาจได้รับความรู้ไม่ครบสมบูรณ์ ดังนั้น ในการเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษารุ่นต่อๆไป จะเพิ่มความเข้มข้นด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นอีก อย่างน้อยต้องสื่อสารพื้นฐานในชีวิตประจำวันและภาษาอังกฤษด้านการเกษตรให้ ได้ก่อน และเมื่อเดินทางไปที่อิสราเอลแล้ว ก็ต้องฝึกภาษาอย่างต่อเนื่องอีกไม่ต่ำกว่าวันละ 1-2 ชั่วโมง บวกกับการอยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษก็เชื่อว่าจะทำให้มีความ มั่นใจ กล้าพูดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการฝึกปฏิบัติมากขึ้นด้วย

ดร.ชาญเวช กล่าวต่อไปว่า หลังจากนี้นักศึกษาจะต้องนำความรู้ไปต่อยอดประยุกต์ใช้กับประเทศไทย ซึ่งความรู้การเกษตรของอิสราเอลมีความก้าวหน้ามาก ทั้งที่ถูกจำกัดทั้งเรื่องน้ำ ภูมิอากาศ และพื้นที่แต่กลับสร้างผลผลิตระดับโลกได้ ในขณะที่ไทยมีความพร้อมมากกว่าทุกด้านก็น่าจะทำได้ดีกว่า โดยหัวใจสำคัญอยู่ที่การทำวิจัยเล็กๆมีการสังเกตุเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้ เพื่อปรับปรุงวิธีการผลิตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำแต่วิธีเดิมๆที่สืบต่อกันมาจากรุ่นพ่อรุ่นปู่ โดยไม่ปรับปรุงพัฒนา ต้องคิดนอกกรอบ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญของเกษตรกรไทยคือเรื่องตลาด ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่เป็นผลดี ต่อเกษตรกรให้ได้

" เด็กที่ผ่านการฝึกจากอิสราเอลจะเห็นได้ชัดเจนเรื่องความอดทน มีความคิดสร้างสรรค์และมีผลงานที่ผ่านการวิจัยแล้วว่าใช้งานได้จริง ถือว่าเป็นแบบอย่างพื้นฐานของเยาวชนไทยในอนาคต ผมอยากเห็นเด็กเหล่านี้เป็นเจ้าของกิจการของตนเอง ซึ่งสอศ.สามารถส่งเสริมได้จากกองทุนตั้งตัวได้ รวมทั้งความร่วมมือจากธนาคาร โดย สอศ.จะสอนการเขียนแผนธุรกิจที่เป็นไปได้ เชื่อว่าเด็กเหล่านี้จะมีโอกาสได้รับการสนับสนุนอย่างมาก"ดร.ชาญเวช กล่าว.

http://www.dailynews.co.th



obob

ตอบกระทู้เมื่อ
17 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 8

เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน หรือโลโคลแอค  เปิดเผยผลการศึกษา ภาวะหนี้สินที่ส่งผลต่อการสูญเสียที่ดินของชาวนาภาคกลาง โดยพบว่า ในพื้นที่ภาคกลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดเพชรบุรี ชาวนาอายุเฉลี่ยสูงขึ้นถึง 65 ปี  ในชุมชนมีภาวะสุ่มเสี่ยงขาดการสืบทอดอาชีพชาวนา  ระบบเกษตรกรรมกำลังเผชิญกับความถดถอยที่ลูกหลานเกษตรกรปรับเข้าสู่ระบบแรงงานรับจ้างมากกว่าสร้างการผลิตของตนเอง

สำหรับปัจจัยหลักที่ทำให้ชาวนามีหนี้สินมากขึ้น พบว่า เกิดจากแรงกดดันจากการถือครองที่ดิน ปัญหาหนี้สินชาวนากลายมาเป็นนโยบายหาเสียงของรัฐบาล แต่จากการศึกษาพบว่า ชาวนามีข้อสรุปว่า โครงการช่วยเหลือของรัฐไม่สามารถนำสู่การแก้ไขปัญหาได้ โดยเฉพาะปัญหาจากสถาบันการเงิน แหล่งเงินกู้ของเกษตรกร

นางสาวพงษ์ทิพย์ สำราญจิตต์ ผอ.กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน กล่าวถึงปัจจัยสำคัญของภาวะหนี้สินคือแรงกดดันจากการถือครองที่ดินของเกษตรกรและต้นทุนการผลิตที่สูง  เพราะเกษตรกร 45-85 % ต้องเช่าพื้นที่ทำนาและต้องจ่ายค่าเช่าสูงถึงไร่ละ 1,500-2,500 บาทต่อไร่ต่อรอบการผลิต คิดเป็นสัดส่วนถึง  20-25% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด

ในขณะที่ต้นทุนการผลิตรวมทั้งเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี มีสัดส่วนรวมกันถึง 30-45% ของต้นทุนการผลิต รวมไปถึงการกว้านซื้อที่ดินแปลงใหญ่ของนายทุนในพื้นที่ภาคกลาง ที่ทำให้เกิดการกระจุกตัวของที่ดินและมีชาวนาไร้ที่ดินเพิ่มมากขึ้น

จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี2554 พบว่า มีเกษตรกรที่เช่าที่ดินผู้อื่น 19.6% ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด 149.25 ล้านไร่ ซึ่งพบในภาคกลางสูงที่สุดประมาณ 36-40% ของพื้นที่ และพบสูงที่สุดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีการเช่าที่ดินมากถึง 72% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน ที่พบว่า มีเกษตรกรนาเช่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปี 2555 สูงถึง 85 %

นอกจากปัญหาการสูญเสียที่ดินแล้ว นางสาวพงษ์ทิพย์  กล่าวอีกว่า ชาวนาส่วนใหญ่ยังมีสัดส่วนหนี้สินเพิ่มสูงขึ้น รายได้จากการทำนาไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต  โดยสถานะหนี้สินชาวนาปัจจุบันจากข้อมูลตัวเลขหนี้สินของเกษตรกร (รวมถึงชาวนา) ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2554/55 ชี้ให้เห็นว่า ครัวเรือนภาคการเกษตรทั้งหมดมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจาก 204,117 ล้านบาท ในปี 2542 เป็น 456,339 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับงานศึกษาของกลุ่มโลโคลแอค ที่พบว่า ชาวนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีหนี้สินเฉลี่ยถึง 401,679 บาทต่อครอบครัว และชาวนาในจังหวัดเพชรบุรี มีหนี้สินเฉลี่ยถึง 371,091 บาทต่อครอบครัว

ทางด้าน นางบุญชู มณีวงษ์ ชาวนาวัย 56 ปี จากอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเป็นหนี้  เนื่องจากตัดสินใจกู้เงินจากธนาคารกสิกรไทย 600,000 บาทเมื่อปี 2539 เพื่อนำเงินมาลงทุนทำนา ส่งลูกเรียนและทำอู่ซ่อมรถ ถูกธนาคารยื่นฟ้องให้ชดใช้หนี้เมื่อปี 2545 ก่อนหน้านั้นได้แบ่งขายที่นาไป 5 ไร่ ได้เงินมา 500,000 บาท เอาไปโปะหนี้ให้ธนาคาร แต่พบว่าเป็นเงินต้นแค่ 100,000 กว่าบาท ที่เหลือเป็นดอกเบี้ยทั้งหมด อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.5 เป็นร้อยละ 18 ไม่นับรวมค่าปรับ สุดท้ายต้องขายที่นาส่วนที่เหลืออีก 5 ไร่ แล้วก็ต้องเช่าที่นาตัวเองทำนาแทน

"สาเหตุที่ทำให้สูญเสียที่นา เพราะภาระหนี้ที่แบกรับไม่ไหว รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่สูง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายการศึกษาของลูก และเงินลงทุนทำนา"

ด้านนายทรงชัย  วิสุทธิวินิกานนท์  กลุ่มฟื้นฟูเกษตรกรเมืองเพชรบุรี สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย(สค.ปท.) กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรว่า ต้องแก้ที่ต้นเหตุคือลดต้นทุนการผลิต  ด้วยการสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตเอง การควบคุมโรคและแมลงด้วยวิธีธรรมชาติ หรือการเข้าถึงแหล่งปุ๋ยอินทรีย์ การทำนาแบบลดต้นทุนการผลิตควรอยู่บนพื้นฐานการพึ่งตนเอง และเพิ่มความหลากหลายของพืชและอาหารในแปลงนาเป็นสำคัญ

สำหรับนโยบายประกันราคาผลผลิต นายทรงชัย กล่าวด้วยว่า เป็นสิ่งที่เกษตรกรต้องการ เพราะรัฐก็ยังสามารถขายข้าวได้ตามกลไกราคาตลาด ส่วนปีใด หากเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ เกษตรกรยังได้รับการคุ้มครองผลกระทบภัยพิบัติจากราคาประกัน

"กรณีผู้ที่ประสบปัญหาไม่มีที่ดินทำกิน ต้องมีกองทุนซื้อที่ดินในราคาที่เป็นธรรมและให้เกษตรกรทำสัญญาเช่า-ซื้อระยะยาวผ่อนชำระได้ตามความสามารถโดยที่ดินนี้ต้องไม่ให้ขายแต่สืบทอดในการทำกินได้"

 http://www.isranews.org



kanok

ตอบกระทู้เมื่อ
18 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 9
 ดร.ชาญเวช บุญประเดิม ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) เปิดเผยว่า จากการไปตรวจเยี่ยมนักศึกษาปวส.ของไทยที่ผ่านการฝึกปฏิบัติการเกษตรจากศูนย์ ฝึกอบรมการเกษตรนานาชาติเขตอราวา ประเทศอิสราเอล เมื่อเร็วๆนี้ ทำให้ได้ข้อคิดว่าการทำเกษตรยุคใหม่จะขาดการทำวิจัยไม่ได้เลย โดยอาจเป็นเพียงการวิจัยเล็กๆ ก็ได้ ที่เป็นการสังเกตุเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้จากหลากหลายวิธีการผลิต รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาวิธีการผลิตอยู่เสมอ ไม่ใช่ทำด้วยวิธีเดิมๆ โดยไม่พัฒนาอะไรเลย ดังนั้นผู้เรียนเกษตรจึงต้องเป็นทั้งนักปฏิบัติควบคู่กับการเป็นนักวิชาการ

    ดร.ชาญเวช กล่าวต่อไปว่า ตนจะเสนอให้มีการปรับหลักสูตรของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี(วษท.)ซึ่งของ เดิมก็ดีอยู่แล้ว แต่ควรเพิ่มการฝึกปฏิบัติและการวิจัยให้มากขึ้นเป็น1ปี โดยการวิจัยสามารถทำได้2แนวทาง คือ การนำงานวิจัยที่มีอยู่แล้วมาวิจัยต่อยอด และการที่นักศึกษาคิดทำงานวิจัยใหม่ขึ้นมาเองที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการ เกษตรในอนาคต โดยจะใช้พื้นที่ที่สถาบันจัดให้หรือพื้นที่ส่วนตัวของครอบครัวก็ได้

    " โลกในอนาคตจะต้องการอาหารมากขึ้น การเกษตรจึงมีความสำคัญมากจะละทิ้งไม่ได้ แต่ต้องมีการวิจัยพัฒนาให้มีคุณภาพมาตรฐานอย่างยั่งยืน ทั้งนี้งานวิจัยที่นักศึกษาทำอาจนำไปสู่การสร้างธุรกิจ ซึ่งนักศึกษาสามารถทำควบคู่กับการเรียนได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เรียนจบก่อน หากใครทำได้ก็ให้ถือเป็นการฝึกงานตามหลักสูตรได้เลย ไม่ต้องไปวิ่งหาที่ฝึกงานให้เหนื่อย"ดร.ชาญเวช กล่าว.
 


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
20 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 10
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูพงษ์ พงษ์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยถึงการจัดนิทรรศการประติมากรรม ‘ความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทย’ ว่า   มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน ร่วมกับภาควิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จัด ขึ้น เพื่อให้คนทั่วไปตระหนักในคุณค่าแห่งผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ของเมืองไทย ด้วยความรัก ความภาคภูมิใจ และความหวงแหนในมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของไทย  โดยเป็นการจัดแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ของนางสุธิดา มาอ่อน ในรูปแบบประติมากรรมลอยตัวและศิลปะจัดวางเชิงความคิดรูปวงเวียนทางช้างเผือก ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับข้าว ความอุดมสมบูรณ์และพิธีกรรม สื่อความหมายแทนกิจกรรม วิถีชีวิตของชาวนาในแต่ละเดือน ด้วยเทคนิคไฟเบอร์กลาสเรซิน, ดินเผาที่มีส่วนผสมของดินเหนียวจากท้องนา ทรายและผงธูป, ข้าวเปลือก, ไม้ไผ่ และการทำสี  กำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2557  ณ หอศิลป์ฯ อาคารวิสุทธิกษัตริย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 


เจ_เจ

ตอบกระทู้เมื่อ
20 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 11
ชาวนาเฮ! คสช. จัดแพจเกจใหญ่ช่วย หลังผู้ผลิตปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช และปัจจัยการเกษตร ยอมลดราคาเพื่อลดต้นทุนเพาะปลูกข้าว เตรียมเสนอ นบข.พิจารณาเร็วๆ นี้ พร้อมยันมีแผนดูแลราคาข้าวเปลือก ป้องกันราคาตกต่ำ
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ไปหารือร่วมกับผู้ประกอกการปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช และสินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิตทางการเกษตรต่างๆ เพื่อหาทางลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกร ซึ่งผลการหารือ ผู้ประกอบการยินดีให้ความร่วมมือในการปรับลดราคาลงมาตามที่ คสช.ได้ขอความร่วมมือ โดยจะปรับลดราคาเป็นแพกเกจใหญ่ในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำนาทั้งหมด และจะมีการนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้า คสช. พิจารณาเร็วๆ นี้
      
       ทั้งนี้ ในการปรับลดราคา ผู้ผลิตปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นสัดส่วนต้นทุนที่สำคัญที่สุดในการทำนา ได้ยอมที่จะปรับลดราคาปุ๋ยเคมีที่ใช้สำหรับปลูกข้าว เบื้องต้นน่าจะอยู่ในกรอบกระสอบละ 40-50 บาท ส่วนยาปราบศัตรูพืช และปัจจัยการเกษตรอื่นๆ ก็จะปรับลดราคาแตกต่างกันไป เพื่อเป็นการลดราคาเพื่อช่วยเหลือชาวนาในการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2557/58 นี้
      
       ส่วนการชดเชยปัจจัยการผลิตอื่นๆ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะช่วยเหลือด้านเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ โดยจะลดดอกเบี้ยลง 3% จากอัตราดอกเบี้ยปกติ เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยมีทางเลือกที่จะเสนอให้พิจารณา 2 แนวทาง คือ ให้กู้ได้รายละ 5 หมื่นบาท หรือรายละ 1 แสนบาท
      
       สำหรับแผนการดูแลราคาข้าวเปลือกฤดูการผลิตปี 2557/58 คสช.ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำแผนและมาตรการในการดูแล แต่จะต้องไม่ใช้โครงการรับจำนำ และโครงการประกันรายได้ โดยแนวทางในการดำเนินการ ให้เน้นการดูแลราคาข้าวเปลือกให้ชาวนาขายได้คุ้มกับต้นทุนการผลิตและมีกำไรพออยู่ได้ ซึ่งจะมีการเสนอมาตรการดำเนินการหลายๆ แนวทางให้ นบข.พิจารณา ทั้งการจัดตลาดนัดข้าวเปลือก การตั้งโต๊ะรับซื้อ การซื้อในราคานำตลาด โดยวิธีการดำเนินการจะต้องมาพิจารณาร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าข้าว ที่มี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. เป็นประธาน ไม่ได้มีการตำหนิการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ เพียงแต่ต้องการทราบแนวทางการทำงานว่าจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ชาวนาได้อย่างไร และการทำงานมีความคืบหน้ามากน้อยแค่ไหน
      
       ส่วนกรณีการชดเชยปัจจัยการผลิต ได้มีการพิจารณาหลายแนวทาง ทั้งข้อเสนอของชาวนาที่ต้องการให้ชดเชยไร่ละ 3,000 บาท ข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เสนอไร่ละ 1,700-2,400 บาท แต่สุดท้ายที่ประชุมได้ขอให้ใช้แนวทางที่เป็นไปได้ ก็คือ การลดต้นทุนการเพาะปลูก และการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ชาวนา


na_na

ตอบกระทู้เมื่อ
22 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 12
ได้เวลาปลูกข้าวแล้ว มองหาภาพลงแขกไม่เจอเลย
ทุ่งนาหายไปไหนหมด!!!!!!! 
ลงเขมร ลงพม่า ก็ไม่ได้แล้ว ชาวนาไทยทำไงดี
55555++++++
 
ღ(。◕‿◠。)ღ
 
 


สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved