Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14032417  

เคล็ดลับครูมืออาชีพ

องค์ประกอบสำคัญใน "การเรียนรู้"

การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นแต่ละครั้ง จะต้องประกอบด้วยกระบวนการของส่วนประกอบ 4 อย่าง คือ
1. สิ่งเร้า เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิริยาโต้ตอบออกมา
2. แรงขับ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
3. การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาเมื่อได้รับการ กระตุ้นจากสิ่งเร้า
4. สิ่งเสริมแรง เป็นสิ่งมาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้มีแรงขับเพิ่มขึ้น

ขั้นตอนการเรียนรู้จึงอาจสรุปเป็นลำดับขั้นได้ดังนี้
- ขั้นการสนใจปัญหา (Motivation)
- ขันศึกษาข้อมูล (Information)
- ขั้นนำข้อมูลมาใช้ (Application)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ( Classical Conditioning ) ของ ไอวาน พาร์พลอฟ ( Ivan Pavlop )

พฤติกรรมที่จะเกิดการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคได้มักเป็นพฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดจากปฏิกริยาสะท้อน อันมีพื้นฐานมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การทำงานของต่อมต่าง ๆในร่างกาย การทำงานของระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ พฤติกรรมการตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่า พฤติกรรมตอบสนอง หรือพฤติกรรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ
พาร์พลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข (conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือสถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข (เพราะโดยปกติเสียงกระดิ่งมิได้ทำให้สุนัขน้ำลายไหล แต่คนต้องการให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง) พาร์พลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus) และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (conditioned response)

การนำความรู้จากทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคไปใช้ในการเรียนการสอน
ในการนำทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคไปใช้ในการเรียนการสอน ทำได้ดังนี้
- ครูสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน อันเป็นการวางเงื่อนไขที่ดี
- ครูวางตัวให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา เพื่อผู้เรียนจะได้รักวิชาที่ครูสอนด้วย
- ครูจัดบทเรียนให้น่าสนใจและเกิดความสนุกสนาน ได้ทั้งความรู้ และความสนุกสนาน
- สร้างความเป็นกันเองกับผู้เรียนและให้ความอบอุ่นกับผู้เรียน
- ครูจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาดี เพื่อให้ผู้เรียนรักสถานศึกษา
- ครูจัดหาและใช้สื่อการสอนที่ดี เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การนำความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่องหรือเชื่อมโยงไปใช้ในการเรียนการสอน
ในการนำความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่องหรือเชื่อมโยงไปใช้ในการเรียนการสอนนั้น ครูควรจะปฏิบัติ ดังนี้
1. ก่อนที่จะดำเนินการสอน ครูจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมและกระตุ้นผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเสียก่อน
2. ควรมอบหมายงาน แบบฝึกหัด หรือการบ้านให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดกระทำเพื่อให้บรรลุตามหลักสูตรที่ว่าให้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น
3. ใช้หลักการให้รางวัลและลงโทษ เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"

พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากสภาพการณ์ ( Operant Conditioning )

เป็นการแสดงพฤติกรรมตอบสนองโดยจัดสภาพแวดล้อมของผู้เรียน โดยส่วนรวมให้เป็นสิ่งเร้าต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ และใช้แรงเสริม ( Reinforcement ) ช่วยส่งเสริมให้แสดงพฤติกรรมตามต้องการ แนวคิดนี้เป็นของ เบอร์รัส สกินเนอร์ ( Burrhus Skinner )

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขการกระทำ

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขการกระทำ พัฒนาขึ้นโดย บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F. Skinner, 1904-1990) มีแนวความคิดพื้นฐานว่า พฤติกรรมของมนุษย์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเงื่อนไขการเสริมแรงและลงโทษ

การเสริมแรงมี 2 ประเภท คือ
1.การเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement)
2. การเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcement)

การเสริมแรงทางบวก เป็นการกระทำชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจกับผู้เรียนและความพึงพอใจนั้นทำให้เกิดการตอบสนองที่ต้องการมากครั้งขึ้นหรือตอบสนองอย่างเข้มข้นขึ้น เช่น การให้อาหาร คำชมเชย ของขวัญ ฯลฯ
การเสริมแรงทางลบ เป็นการพยายามทำให้เกิดการตอบสนองเพิ่มขึ้น หรือเข้มข้นขึ้น โดยการกำจัดสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์ออกไป เช่น การกำจัดเสียงดัง การลดการลงโทษ การลดการดุด่า เป็นต้น

การลงโทษ (Punishment)
การลงโทษจะให้ผลตรงกันข้ามกับการเสริมแรง กล่าวคือ การเสริมแรงเป็นการทำให้การตอบสนองเพิ่มมากขึ้น แต่การลงโทษเป็นการทำให้การตอบสนองลดน้อยลง การลงโทษทำโดยการให้สิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์หรือสิ่งเร้าที่เป็นภัย ในทันทีทันใดหลังจากการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือไม่ต้องการออกมา

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำนั้น พฤติกรรมหรือการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเสริมแรงเป็นสำคัญ


การเสริมแรง พฤติกรรมดำเนินไปอย่างซ้ำ ๆ สม่ำเสมอ
พฤติกรรมการทำโทษ พฤติกรรมจะค่อย ๆ ลดลง

การนำความรู้ที่ได้จากทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำไปใช้ในการเรียนการสอน
การนำความรู้ที่ได้จากทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำไปใช้ในการเรียนการสอน นั้น ทำได้โดยการ
1. สร้างนิสัยที่ดีให้แก่เด็ก เพื่อการสร้างคุณภาพแห่งชีวิต
2. ลบนิสัยที่ไม่ดีออกจากตัวเด็ก โดยวิธีการปรับพฤติกรรม ( Shaping Behavior )
3.ปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานให้แก่เด็ก
4.ให้คำยกย่องชมเชยแก่เด็กที่กระทำความดี
5.จัดประกวด เด็กดีเด่นในด้านต่าง ๆ และให้รางวัลตามความเหมาะสม
6.นำมาใช้สร้างบทเรียนสำเร็จรูป

การเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ ( Insight )

เป็นแนวคิดของ โคท์เลอร์ ( Kohler ) ซึ่งการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้นี้เป็นการอธิบายถึง กระบวนการรู้คิด ( Cognitive Processes ) ที่เกิดในระหว่างการเรียนรู้ โดยมีการเน้นความสำคัญของผู้เรียนว่าจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือเป็นผู้ที่ริเริ่มและกระตือรือร้น

การนำความรู้ทฤษฎีการหยั่งเห็นไปใช้ในการเรียนการสอน

การนำความรู้ทฤษฎีการหยั่งเห็นไปใช้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมีแนวทางในการนำไปใช้ ดังนี้

1.ลักษณะของประสบการณ์การเรียนรู้ (สถานการณ์) ที่เหมาะสม โดยจัดกิจกรรมหลายรูปแบบ ให้ประสบการณ์ที่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียนมีความรู้สะสม มีความชำนาญในการพิจารณาสถานการณ์ และปัญหา ครั้นเมื่อผู้เรียนพบปัญหาใหม่ก็จะเกิดการใคร่ครวญและจัดประสบการณ์เหล่านั้น หาคำตอบหรือวิธีการแก้ปัญหา อันจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้โดยการหยั่งเห็นได้ คือการค้นพบวิธีการ หรือคำตอบได้ในทันทีทันใด
2.ความแตกต่างทางสติปัญญาของผู้เรียน การเรียนรู้โดยการหยั่งเห็นเป็นการใช้ประสบการณ์และความสามารถทางสติปัญญาประกอบกัน ฉะนั้นผู้มีสติปัญญาสูงย่อมมีโอกาสที่จะเกิดการหยั่งเห็นได้ดีกว่าผู้มีสติปัญญาต่ำ
3.แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้แบบการเรียนรู้ได้หลายแบบ เพราะบางแบบเหมาะกับบางคน เมื่อผู้เรียนได้พบแบบการเรียนรู้ที่เหมาะกับตน อาจเลือกไว้เป็นแบบเฉพาะเพื่อการนำไปใช้ ผู้เรียนบางคนอาจเหมาะสมกับการเรียนรู้โดยการหยั่งเห็น บางคนอาจเหมาะสมกับการเรียนรู้โดยการกระทำ หรือบางคนอาจเหมาะกับการเรียนรู้ทางปัญญา (จากการสังเกต)
4.การรู้จักผู้เรียนอย่างแท้จริง ถ้าผู้สอนรู้จักผู้เรียนอย่างแท้จริงย่อมสามารถเลือก และจัดบทเรียน ได้เหมาะสมกับสภาพและความสามารถทางการเรียนของผู้เรียน ย่อมจะรู้ดีว่าผู้เรียนคนใดมีความสามารถทางการเรียนสูง มีความสามารถทางการเรียนต่ำ หรือผู้เรียนคนใดเหมาะสมกับสถานการณ์การเรียนรู้แบบใด เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้สอนสามารถที่จะส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนแต่ละคนให้เกิดขึ้นได้ และย่อมเข้าใจในผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ

เป็นแนวคิดของ บรูเนอร์ ( Brunner ) เขาเชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้รับข้อมูลข่าวสารจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสำรวจสิ่งแวดล้อม โดยผู้เรียนได้เลือกหรือใส่ใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในบรรดาข้อมูลหรือข่าวสารนั้น ๆ ก็จะเกิดการค้นพบ ซึ่งก็คือ ข้อความรู้นั่นเอง
บรูเนอร์เชื่อว่า การรับรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่เลือกหรือสิ่งรับรู้ที่ขึ้นกับความสนใจของผู้เรียนที่มีต่อสิ่งนั้น ๆ การเรียนรู้จะเกิดจากการค้นพบ เนื่องจากผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมสำรวจสภาพแวดล้อมและเกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบขึ้น

อัลเบิร์ต บันดูรา ( Albert Bandura ) ซึ่งเชื่อว่า สิ่งแวดล้อมและผู้เรียนมีความสำคัญเท่า ๆ กัน พฤติกรรมของคนเราส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต ( Observational Learning ) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ ( Modeling ) และตัวแบบก็ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่มีชีวิตเสมอไปด้วย อาจเป็นสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ ภาพการ์ตูน หนังสือ หรือคำบอกเล่า เป็นต้น

มาสโลว์ (Maslow)
ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนในลักษณะที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกที่จะเรียนรู้โดยอิสระ ซึ่งผู้เรียนควรจะสามารถเลือกในสิ่งที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของตนเองได้



หน้าที่ :: 24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved