Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14052760  

เรื่องราวรอบรู้

 

บทที่ 14 ความช่วยเหลือโดยคุณครู


การช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น จำเป็นต้องได้รับจากคุณครูด้วยเสมอ เนื่องจากเด็กต้องปรับตัวกับการเรียนและสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียน ปัญหาพฤติกรรมต่างๆเกิดขึ้นที่โรงเรียนด้วย การฝึกพฤติกรรมต่างๆในบทต้นๆ สามารถนำมาใช้ที่โรงเรียนเช่นกัน

หลักสำคัญในการช่วยโดยคุณครู


  • เข้าใจเด็กสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อย เป็นเอง มิได้เกิดจากการเลี้ยงดู เด็กที่อาการไม่มากอาจมีลักษณะเหมือนเด็กปกติ บางคนไม่มีอาการมากที่โรงเรียน จนครูอาจคิดว่ามิได้เป็นโรคสมาธิสั้น แพทย์จะวินิจฉัยโดยใช้ข้อมูลพฤติกรรมทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และที่อื่นๆประกอบกัน ร่วมกับการประเมินทางจิตวิทยาและจิตเวช ถ้าครูไม่แน่ใจการวินิจฉัยโรค ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแล

  • การช่วยเหลือต้องร่วมมือกัน ระหว่างแพทย์ ครู และพ่อแม่ ไปในทิศทางเดียวกัน

  • ส่งเสริมให้เด็กกินยารักษา ยาไม่มีฤทธิ์ง่วง ไม่ซึม ไม่กดระบบประสาท ไม่ติดยา ไม่มีผลต่ออวัยวะภายในระยะยาว สามารถกินต่อเนื่องได้ แพทย์จะให้ยารักษายาวจนเข้าสู่วัยรุ่น กินทุกวันไม่จำเป็นต้องเว้นยา



บทบาทของครูในการช่วยเหลือ


การจัดสิ่งแวดล้อม

  • จำนวนเด็กสมาธิสั้นในห้องเรียน ไม่ควรมีเด็กสมาธิสั้นมากกว่า 1 คนในห้อง

  • ที่นั่ง เด็กสมาธิสั้นควรนั่งหน้าชั้น ใกล้ครู มีเด็กเรียบร้อยนั่งรอบด้าน

  • สิ่งกระตุ้นต่างๆในห้อง ควรมีน้อย ไม่มีการประดับมาก ลดสิ่งกระตุ้นทางสายตา

  • การแต่งตัวของครู ไม่ควรมีเครื่องประดับมาก ไม่ทำให้เด็กสนใจการแต่งกายของครู


การช่วยเหลือเรื่องการกินยา
เด็กสมาธิสั้นจำเป็นต้องกินยาเพื่อช่วยให้เขาควบคุมสมาธิและควบคุมตัวเองได้ ยาที่กินอาจมีมื้อกลางวัน ซึ่งเด็กมักลืม

  • เด็กเล็ก บางครั้งขอความร่วมมือคุณครูช่วยจัดยาให้ในมื้อกลางวัน

  • เด็กโต ครูช่วยเตือนเด็กให้กินยา

  • วิธีการเตือน ควรเตือนเป็นส่วนตัว ระวังเด็กอายเพื่อน


การให้เด็กรับทราบโรคที่เป็น


ครูบอกเด็กสมาธิสั้นได้ดังนี้
  • โรคสมาธิสั้นไม่ใช่โรคจิต โรคประสาท ไม่ใช่ปมด้อย สามารถทำทุกอย่างได้เหมือนเพื่อน

  • อาการของโรคสมาธิสั้นทำเรียนด้อยกว่าความสามารถที่แท้จริง อาการนี้รักษาได้ด้วยยา และการฝึก

  • ยาช่วยเพิ่มความสามารถในการตั้งใจ สมาธิ ความเข้าใจและความจำ การควบคุมตนเอง

  • การฝึกต่างๆมีความจำเป็น ครูจะช่วยฝึกร่วมกับทางบ้าน

  • อาการหุนหันพลันแล่น จำเป็นต้องฝึกควบคุม

  • เขามีข้อดีอื่นๆ ช่วยกันให้เกิดข้อดีมากขึ้น ครูมองเห็นข้อดีของเขาเช่นกัน


      ข้อควรหลีกเลี่ยง


      • หยุดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

      • ล้อเลียน ประกาศ แซว ประชดประชันอาการหรือโรคที่เด็กเป็น หรือส่งเสริมให้เพื่อนล้อเลียน

      • ทำให้เป็นจุดเด่นจากอาการของโรค

      • ลงโทษรุนแรงหรือทำให้อับอาย

      • ไม่สนใจเด็ก ไม่เอาใจใส่ หรือให้เพื่อนๆเลิกยุ่งกับเด็ก


      จะบอกเด็กอื่นๆอย่างไร


      • ควรบอกเพื่อนๆเด็กว่า โรคสมาธิสั้นไม่ใช่โรคน่าอาย ไม่ล้อเลียนกันในห้อง

      • ควรช่วยเหลือเพื่อนที่สมาธิสั้นอย่างไร เช่น ไม่ชวนคุย ชวนให้ตั้งใจเรียน ชวนให้ทำงานให้ครบ เตือนเมื่อลืม

      • ไม่ปิดบังว่าใครเป็นโรคสมาธิสั้น แต่ไม่ต้องประกาศให้เด็กอาย หรือรู้สึกว่าเป็นจุดเด่นของห้องเกินไป

      • ให้โอกาสเขาทำตัวให้เป็นประโยชน์ตามโอกาส


      บทบาทครูในห้องเรียน


      • สร้างแรงจูงใจในการเรียน ทำให้การเรียนสนุก ตื่นเต้น ท้าทาย ให้เด็กอยากติดตาม

      • จัดระบบการเรียนให้ชัดเจน และกำกับให้เด็กทำตามระบบอย่างสม่ำเสมอ

      • คอยดึงความสนใจเด็กกลับมาสู่การเรียน เมื่อวอกแวกหรือขาดสมาธิ

      • เวลาพูดกับเด็กให้แน่ใจว่าเด็กกำลังฟัง ไม่ได้สนใจสิ่งอื่นอยู่

      • แบ่งงานเป็นช่วงสั้นๆพอที่เด็กจะทำเสร็จ กำกับให้ทำจนสำเร็จทั้งหมด มีจังหวะพักเป็นระยะ

      • ชมเมื่อเด็กทำได้ ทำเสร็จหรือพยายามทำ

      • วางเฉยกับอาการที่ไม่รบกวนหน้าที่ เช่น ยุกยิก อยู่ไม่สุข ลายมือไม่สวย เจ้าอารมณ์

      • ติดตามงานอย่าให้หลุด ให้งานเสร็จ จดการบ้านเสร็จ ติดตามการบ้านสม่ำเสมอ

      • อนุญาตให้ใช้เทปบันทึกเสียง เพื่อกลับไปฟังซ้ำ

      • เพิ่มเวลาในการทดสอบ หรือการทำงานที่เด็กอาจช้ากว่าเพื่อนมาก

      • ใช้สัญญาณเตือนทุกรูปแบบ จนเด็กสามารถเตือนตนเองได้

      • ให้เด็กช่วยงานครู ใช้ความอยู่ไม่นิ่งให้เป็นประโยชน์

      • ชมเมื่อเด็กทำดี ให้เพื่อนชมเมื่อทำตัวเป็นประโยชน์ มีรางวัลเป็นครั้งคราว

      • ใช้เทคนิค “ขอเวลานอก” เมื่อเด็กละเมิดกติกา

      • ใช้การลงโทษอย่างระมัดระวัง หาวิธีหลายรูปแบบ เช่น ตัดรางวัล บำเพ็ญประโยชน์

      • ไม่ควรลงโทษกับปัญหาเหล่านี้ สะเพร่า เลินเล่อ ขาดระเบียบ ขาดความสนใจ ลายมือไม่สวย

      • อนุญาตให้พิมพ์งานส่ง ในกรณีที่มีปัญหาลายมือมากๆ หรือเขียนช้ามากๆ

      • หาทางให้เด็กระบายพลังงาน หรือความก้าวร้าว ออกเป็นกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น กีฬา ศิลปะ ดนตรี ตามความชอบ ความถนัดของเด็ก

      • พูดคุยเป็นส่วนตัวเป็นครั้งคราว รับฟังความทุกข์ใจ ปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ความรู้ คำแนะนำ การปฏิบัติตัว ชมในเรื่องที่เด็กทำได้ดี คาดหวังในทางที่ดีต่อเด็กเสมอ


      ครูช่วยพ่อแม่ได้อย่างไร


      • ช่วยฝึกทักษะต่างๆ ให้สอดคล้องกับที่บ้าน โดยการติดตามกับพ่อแม่และแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

      • ติดตามให้เด็กจดการบ้านให้ครบ

      • ติดตามการบ้าน งานที่ค้าง เมื่อเด็กลืมหรือไม่ส่งงาน ให้แจ้งทางบ้านทันที

      • สอนเสริมรายบุคคล ตรวจสอบว่าเด็กมีปัญหาการเรียนเฉพาะด้านหรือไม่ ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียน

      • ให้ความมั่นใจพ่อแม่ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง อย่าให้ขาดการไปพบแพทย์ตามนัด ถ้าไม่แน่ใจในการรักษาให้กลับไปปรึกษาแพทย์ผู้รักษา


      ครูช่วยหมอได้อย่างไร


      • ตอบแบบสอบถามพฤติกรรมที่แพทย์ส่งไปผ่านพ่อแม่ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและการรักษาต่อเนื่อง

      • สร้างทักษะที่เด็กยังขาดอยู่

      • ติดต่อแพทย์เมื่อมีข้อสงสัย

      • แจ้งแพทย์ผู้รักษาเมื่อมีปัญหาฉุกเฉิน

      • หากิจกรรมใช้ความอยู่ไม่นิ่งให้เป็นประโยชน์ เช่นบำเพ็ญประโยชน์ กีฬา ศิลปะ ดนตรี

      • ช่วยให้เด็กหาเอกลักษณ์ของตน เมื่อเข้าสู่วันรุ่น

      • เมื่อเด็กเลื่อนชั้น แจ้งให้ครูคนต่อไปทราบ และช่วยเหลือต่อไป


    • หน้าที่ :: 30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40  


      Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved